สิทธิพิเศษถอนเงิน

สิทธิพิเศษถอนเงิน (อังกฤษ: special drawing rights, ย่อ: XDR หรือ SDR) เป็นสินทรัพย์ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศเพิ่มที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) นิยามและรักษาไว้ มูลค่าของสิทธิฯ ขึ้นอยู่กับตะกร้าเงินตราระหว่างประเทศสำคัญที่ IMF ทบทวนทุกห้าปี[1] ตามการทบทวนซึ่งจัดทำเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 ตะกร้า XDR ประกอบด้วยเงินตราห้าสกุลดังนี้ ดอลลาร์สหรัฐ ($) 41.73%, ยูโร (€) 30.93%, ปอนด์สเตอร์ลิง (£) 8.09%, เยนญี่ปุ่น (¥) 8.33% และล่าสุดคือ หยวนจีน (¥) 10.92%[2][3] น้ำหนักที่ให้กับเงินตราแต่ละสกุลในตะกร้า XDR ปรับเพื่อให้คิดความโดดเด่นปัจจุบันของเงินตรานั้น ๆ ในแง่การค้าระหว่างประเทศและทุนสำรองแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศประจำชาติต่าง ๆ[2]XDR มิใช่เงินตราโดยสภาพ แต่แทนเงินตราที่ประเทศสมาชิก IMF ถือซึ่งสามารถแลกเปลี่ยนได้ เนื่องจาก XDR สามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินตราห้าสกุลข้างต้นเท่านั้น XDR แท้จริงจึงแทนการอ้างสิทธิ์โดยศักยะต่อทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศที่มิใช่ทองคำของประเทศสมาชิก IMF ซึ่งปกติถือในรูปเงินตราเหล่านี้XDR สร้างขึ้นในปี 2512 เพื่อเสริมการขาดแคลนสินทรัพย์ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศที่ต้องการ กล่าวคือ ทองคำและดอลลาร์สหรัฐ[4] สิทธิพิเศษถอนเงินแสดงด้วยรหัสเงินตรา XDR ตาม ISO 4217[5]IMF เป็นผู้จัดสรร XDR แก่ประเทศต่าง ๆ[4] ภาคเอกชนไม่ถือครองหรือใช้สิทธิฯ[6] ในเดือนสิงหาคม 2552 มี XDR อยู่ประมาณ 21,400 ล้าน ระหว่างวิกฤตการณ์การเงินโลก พ.ศ. 2552 มีการจัดสรร XDR เพิ่มอีก 182,600 ล้าน XDR เพื่อ "ให้สภาพคล่องแก่ระบบเศรษฐกิจโลกและส่งเสริมทุนสำรองอย่างเป็นทางการของประเทศสมาชิก" ในเดือนตุลาคม 2557 มี XDR อยู่ 204,000 ล้าน[7]

ใกล้เคียง

สิทธิ สิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเรียงตามประเทศหรือดินแดน สิทธิ เศวตศิลา สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย สิทธิเก็บกิน สิทธิในสุขภาพ สิทธิในอาหาร สิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย สิทธิชัย ผาบชมภู สิทธิพร นิยม