ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ ของ สิทธิมนุษยชนในกัมพูชา

สิทธิมนุษยชนในกัมพูชามีภูมิหลงมาจากการรับวัฒนธรรมอินเดียและศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักในสังคมกัมพูชา ส่วนในสังคมสมัยใหม่จะได้รับอิทธิพลจากฝรั่งเศสในสมัยที่เป็นอาณานิคม และมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมอย่างรุนแรงในการเปลี่ยนการปกครองจากระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญไปสู่ระบอบสาธารณรัฐในสมัยลน นลและคอมมิวนิสต์ในสมัยเขมรแดง ตามมาด้วยการยึดครองของเวียดนามและการปกครองของพรรคปฏิวัติประชาชนกัมพูชา จากนั้นเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านภายใต้การดูแลของสหประชาชาติหลังการลงนามในข้อตกลงสันติภาพปารีสเมื่อ พ.ศ. 2534

ในข้อตกลงปารีสได้เรียกร้องให้รัฐธรรมนูญกัมพูชารวมหลักการพื้นฐานรวมทั้งการยอมรับสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพและป้องกันไม่ให้ความผิดพลาดทางการเมืองในอดีตกลับมา ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2536 ได้บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิของพลเมืองกัมพูชาไว้ 20 มาตรา โดยเกี่ยวกับสิทธิ 17 มาตรา และหน้าที่ 3 มาตรา หลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญใน พ.ศ. 2536 สหประชาชาติได้จัดให้มีตัวแทนพิเศษของเลขาธิการทั่วไปทางด้านสิทธิมนุษยชนในกัมพูชา และคณะกรรมาธิการทางด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติได้เปิดสำนักงานในกัมพูชา และมีกลุ่มสิทธิมนุษยชนในท้องถิ่นได้จับตาและบันทึกเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนไว้

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: สิทธิมนุษยชนในกัมพูชา http://www.state.gov/r/pa/prs/ps/2006/58761.htm http://cambodia.ahrchk.net/ http://a4id.org/sites/default/files/user/Freedom_P... http://www.actup.org/forum/content/not-easy-out-ca... http://www.adhoc-cambodia.org/ http://web.amnesty.org/library/eng-khm/index http://www.cchrcambodia.org http://www.cchrcambodia.org/admin/media/press_rele... http://www.cchrcambodia.org/index_old.php?url=medi... http://www.cchrcambodia.org/index_old.php?url=proj...