การละเมิดสิทธิมนุษยชน ของ สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย

ในรายงานของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา[2] เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลไทยเป็นต้นเหตุของการละเมิดสิทธิมนุษยชนในหลายกรณี โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนใต้ ในสงครามปราบปรามยาเสพติด ในการจับและจองจำผู้ต้องหา ในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังในเรือนจำ และในการจำกัดเสรีภาพการแสดงออก ในบางครั้งเจ้าหน้าที่ที่กระทำผิดอาจถูกจับและลงโทษหรือปลดออก แต่สิทธิการได้รับยกเว้นโทษตามกฎอัยการศึก พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่ถูกลงโทษตามสมควร ส่วนการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยคนทั่วไปและอาชญากร ได้แก่ การค้ามนุษย์ การบังคับค้าบริการทางเพศ การเลือกปฏิบัติ โดยผู้ถูกละเมิด ได้แก่ ผู้ลี้ภัย แรงงานต่างชาติ แรงงานเด็ก สตรี กลุ่มชาติพันธุ์ ชนกลุ่มน้อย ผู้พิการ[ต้องการอ้างอิง]

การค้ามนุษย์

การค้ามนุษย์เป็นปัญหาสำคัญในประเทศไทย ซึ่งมีทั้งการล่อลวงและการลักพาชายจากกัมพูชาโดยนักค้ามนุษย์และขายให้แก่เรือประมงผิดกฎหมายซึ่งจับปลาในอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ ชายเหล่านี้ได้รับสัญญาว่าจะได้ทำงานที่มีรายได้ดีกว่า แต่กลับถูกบังคับให้ทำงานเป็นทาสบนเรือนานถึง 3 ปี[3] การค้าเด็กก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่สำคัญในประเทศไทยเช่นกัน โดยการบังคับให้เด็กที่ถูกลักพาซึ่งมีอาจมีอายุน้อยเพียง 4 ปีเป็นทาสเพื่อบริการทางเพศในนครใหญ่อย่างกรุงเทพมหานครและภูเก็ต กิจกรรมดังกล่าวแพร่กระจายมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบทของประเทศ[4] อย่างไรก็ตามในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2562 รัฐบาลประสบความสำเร็จในการพัฒนาสิทธิมนุษยชนด้านการประมง โดยคณะกรรมาธิการยุโรปได้ให้ใบเขียวแก่ประเทศไทย เพื่อยืนยันว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ให้ความร่วมมือในการต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม[5]

เสรีภาพสื่อและสิทธิในการชุมนุม

หลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ประชาชนถูกลิดรอนเสรีภาพในการแสดงออกและเดินทางอย่างรุนแรง มีบุคคลหนีหมายจับศาลทหารด้วยการเดินทางออกนอกประเทศกว่า 50 ราย อาทิ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ ผศ.จรัล ดิษฐาอภิชัย จักรภพ เพ็ญแข สุนัย จุลพงศธร สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ เสน่ห์ ถิ่นแสน วัฒน์ วรรลยางกูร อรรถชัย อนันตเมฆ รศ.ใจ อึ๊งภากรณ์ วิสา คัญทัพ ดารุณี กฤตบุญญาลัย จอม เพ็ชรประดับ วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นพพร ศุภพิพัฒน์ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธุ์ ชนินทร์ คล้ายคลึง จรรยา ยิ้มประเสริฐ วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ชูชีพ ชีวะสุทธิ์ ฉัตรวดี อมรพัฒน์ สุดา รังกุพันธุ์ เอกภพ เหลือรา วุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ ธันย์วุฒิ ทวีวโรตมกุล ศรัณย์ ฉุยฉาย พิษณุ พรหมสร มนัญชยา เกตุแก้ว เนติ วิเชียรแสน ชัยพฤกษ์ สมานรักษ์ องอาจ ธนกมลนันท์ ณหทัย ตัญญะ อำนวย แก้วชมภู ภิเษก สนิทธางกูร อิทธิพล สุขแป้น พิพัฒน์ พรรณสุวรรณ์ ชัยธัช รัตนจันทร์ สุชาติ พรมใหม่ คชาชาต บุญดี นิธิวัฒ วรรณศิริ ชฤต โยนกนาคพันธุ์ ชัยอนันต์ ไผ่สีทอง ไตรรงค์ สินสืบผล มนูญ (เอนก) ชัยชนะ จุติเทพ (เลอพงษ์) วิไชยคำมาตย์ ไพจิตร อักษรณรงค์ ธีร์ บริรักษ์ พันตำรวจตรี เสงี่ยม สำราญรัตน์ พ.ต.อ.ไพโรจน์ โรจนขจร พ.ต.ท.ธรรมวัฒน์ หิรัณยเลขา[6]

มีบุคคลหนีหมายเรียกตำรวจไปต่างประเทศ 1 ราย ได้แก่ ชนกนันท์ รวมทรัพย์[7] และมีผู้หนีคดีศาลทหารระหว่างประกันตัวไปต่างประเทศ 1 ราย ได้แก่ ณัฏฐิกา วรธันยวิชญ์[ต้องการอ้างอิง]

มีบุคคลหนีหมายจับศาลอาญาด้วยการเดินทางออกนอกประเทศอีก 2 ราย ได้แก่ พันเอก อภิวันท์ วิริยะชัย กริชสุดา คุณะแสน[ต้องการอ้างอิง]

กองทัพสั่งห้ามการชุมนุมทางการเมือง กิจกรรมทางการเมืองทุกประเภทถูกสั่งห้ามเช่นกัน แม้จะมีการวิพากษ์วิจารณ์ในสื่อมวลชนได้ กรณีที่น่าสนใจได้แก่ตำรวจไทยได้ฟ้องร้อง ปณีต จิตต์นุกูลศิริ โดยพฤติการณ์ตามคำร้อง ระบุว่า เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2560 ผู้ต้องหาใช้เฟซบุ๊กชื่อ “Paneet Jittnukulsiri” โพสต์ข้อความ จากเฟซบุ๊กของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการ[8] โดยใช้ถ้อยคำหมิ่นประมาทแสดงความอาฆาตมาดร้ายสถาบันเบื้องสูง ส่งผลให้ นาย ปณีต จิตต์นุกูลศิริ จำคุกในวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2560[ต้องการอ้างอิง]

พันธมิตรสื่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) หมายเหตุว่า สภาพแวดล้อมด้านสื่อของประเทศไทยก่อนเกิดรัฐประหารถือว่าเป็นสื่อที่เสรีและมีชีวิตชีวาที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชีย แต่เสื่อมลงอย่างรวดเร็วหลังการยึดอำนาจของฝ่ายทหาร พันธมิตรสื่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชี้ว่า มีการปิดสถานีวิทยุชุมชนราว 300 แห่งทั่วประเทศ การสกัดกั้นช่องข่าวเคเบิลเป็นระยะ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปรากฏข่าวเกี่ยวกับทักษิณ ชินวัตร หรือวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์) และการระงับเว็บไซต์ไทยบางเว็บที่อภิปรายถึงการเข้าแทรกแซงประชาธิปไตยไทยของกองทัพ SEAPA ยังชี้ว่า ขณะที่ดูเหมือนจะไม่มีการปราบปรามนักหนังสือพิมพ์ และผู้สื่อข่าวทั้งต่างชาติและชาวไทยเหมือนจะมีอิสระที่จะสัญจร สัมภาษณ์ และรายงานรัฐประหารตามที่เห็นสมควร แต่การเซ็นเซอร์ตัวเองยังเป็นปัญหาอยู่ในห้องข่าวของไทย สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ยังได้ออกกฎหมาย พระราชบัญญัติ การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 เพื่อควบคุมการชุมนุม ในปี พ.ศ. 2560 เอกชัย หงส์กังวาน ได้แสดงความจำนงผ่านเว็บไซด์เฟซบุ๊คว่าเขาจะใส่เสื้อสีแดง ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ซึ่งตรงกับพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ถูกควบคุมตัว[9] ในปี พ.ศ. 2561 รัฐบาลประสบความสำเร็จในการห้ามการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ประชาชนชาวไทยส่วนหนึ่งแม้ไม่เห็นด้วยต่อสถาบันกษัตริย์แต่สื่อมวลชนในประเทศไทยเลือกที่จะไม่รายงานข่าวมากกว่ารายงานข่าวที่เป็น ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์อาทิทรงประทับอยู่ที่ต่างประเทศมากกว่าอยู่ภายในประเทศ นับตั้งแต่ทรงขึ้นครองราชย์[ต้องการอ้างอิง]

การละเมิดสิทธิในจังหวัดชายแดนใต้

มีการรายงานปัญหาต่าง ๆ ในจังหวัดภาคใต้ เกี่ยวกับความไม่สงบในภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ได้รับความสนใจมาก ทนายความสิทธิมนุษยชนมุสลิม สมชาย นีละไพจิตร มีรายงานว่าถูกก่อกวน ขู่ จนหายสาบสูญโดยถูกบังคับไปในท้ายที่สุด เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2547 หลังเขากล่าวหาว่าถูกทรมานโดยกำลังความมั่นคงของรัฐ[10] ในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2547 ได้เกิดเหตุการณ์ทั่ว 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีผู้เสียชีวิตรวม 113 ศพ แบ่งเป็นประชาชนในพื้นที่หรือผู้ก่อความไม่สงบ 108 ศพ ทหารตำรวจ 5 ศพ ท่ามกลางการประกาศกฎอัยการศึกของกองทัพ แม้ว่าผู้เสียชีวิตทั้ง 108 รายเป็นผู้ก่อการไม่สงบแต่เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารได้สังหารพวกเขาในวันดังกล่าว[ต้องการอ้างอิง]

ใน พ.ศ. 2549 นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร กล่าวว่า เขาเชื่อว่า สมชาย นีละไพจิตร เสียชีวิต และกำลังความมั่นคงของรัฐดูเหมือนจะมีส่วนรับผิดชอบ[11] จนสุดท้ายมีตำรวจถูกกล่าวหาว่ามีส่วนในการเสียชีวิตของสมชาย นีละไพจิตร 5 นาย แม้ว่าการไต่สวนจะจบด้วยการพิพากษาลงโทษ 1 คน ซึ่งมีการกลับคำพิพากษาในชั้นอุทธรณ์ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554[12] คำตัดสินดังกล่าวถูกคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนเอเชียประณาม[13] และอังคณา นีละไพจิตร ภรรยาของสมชาย ประกาศเจตนาของเธอว่าจะอุทธรณ์คดีต่อไปถึงชั้นฎีกา[12] ต่อมาในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ศาลฎีกาได้พิพากษา ยกฟ้อง[14] บทสรุปจึงไม่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกลงโทษแม้แต่คนเดียว[ต้องการอ้างอิง]

การเสียชีวิตในสงครามยาเสพติด

สงครามยาเสพติดของรัฐบาลเมื่อ พ.ศ. 2546 เป็นเหตุให้มีวิสามัญฆาตกรรมกว่า 2,500 คน ที่ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ค้ายาเสพติด[15] สภาพเรือนจำและศูนย์กักกันผู้อพยพประจำจังหวัดบางแห่งมีคุณภาพไม่ดี ใน พ.ศ. 2547 กว่า 1,600 คนเสียชีวิตในเรือนจำหรือในการควบคุมตัวของตำรวจ ในจำนวนนี้ 131 คน เสียชีวิตเพราะการกระทำของตำรวจ เจ้าหน้าที่ตำรวจทหารในภาคเหนืออาทิที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย ยังทำการวิสามัญฆาตกรรม คนร้ายที่ทำการขนส่งยาเสพติดมากกว่า 30 คน[ต้องการอ้างอิง]

ใกล้เคียง

สิทธิ สิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเรียงตามประเทศหรือดินแดน สิทธิ เศวตศิลา สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย สิทธิเก็บกิน สิทธิในสุขภาพ สิทธิในอาหาร สิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย สิทธิชัย ผาบชมภู สิทธิพร นิยม

แหล่งที่มา

WikiPedia: สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย http://www.humanrights.asia/news/urgent-appeals/AH... http://rspas.anu.edu.au/pah/human_rights/papers/20... http://www.bangkokpost.com/news/local/226311/polic... http://www.economist.com/world/asia/displaystory.c... http://gallery.marihemp.com/akha http://nationmultimedia.com/breakingnews/read.php?... http://query.nytimes.com/gst/fullpage.html?res=940... http://www.nytimes.com/2004/07/07/international/as... http://www.posttoday.com/crime/407338 http://www.thailandqa.com/forum/showthread.php?t=1...