การเคลื่อนไหวในปัจจุบัน ของ สิทธิสตรี

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ในทศวรรษต่อมา สิทธิสตรีได้กลายมาเป็นประเด็นสำคัญในสังคมที่พูดภาษาอังกฤษ ในช่วงยุค 1960 (1960-69) มีการเคลื่อนไหวซึ่งเรียกว่า “สตรีนิยม (Feminism) ” หรือ “ขบวนการปลดแอกสตรี (Women's Liberation) ” นักปฏิรูปต้องการรายได้ที่เท่าเทียมกับบุรุษ สิทธิที่เท่าเทียมกันทางกฎหมาย และอิสระในการวางแผนครอบครัว หรือสิทธิในการไม่มีบุตร

ในสหราชอาณาจักร มีความเคลื่อนไหวเรื่องความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ในเรื่องความเท่าเทียมกันทางกฎหมาย ซึ่งการเคลื่อนไหวโดยบางส่วนนี้มาจากการจ้างงานสตรีอย่างกว้างขวาง ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาโดยธรรมเนียมประเพณีผู้ชายมีบทบาทในช่วงสงครามโลก ภายในช่วงยุค 1960 (1960-69) กระบวนการนิติบัญญัติ (legislative process) ติดตามรายงานคณะกรรมาธิการ (select committee) ของ วิลลี่ แฮมิลตัน ผู้เป็นสมาชิกสภา ร่างกฎหมายของ Willie ว่าด้วยค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกันสำหรับงานที่มีคุณค่าเท่ากัน (equal pay for equal work) การจัดตั้งคณะกรรมการการกีดกันทางเพศ ร่างพระราชบัญญัติของ Lady Sear ว่าด้วยการต่อต้านการกีดกันทางเพศ สมุดปกเขียวของรัฐบาล ปี ค.ศ. 1973 จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1975 พระราชบัญญัติของชาวอังกฤษว่าด้วยการกีดกันทางเพศ พระราชบัญญัติค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกัน และคณะกรรมาธิการาร้างโอกาสที่เท่าเทียม (Equal Opportunity Commission) ได้มีผลตามกฎหมาย

และในประเทศอื่นๆ แห่งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอังกฤษจึงมีความเห็นด้วยในการยกเลิกกฎหมายกีดกันทางเพศในสหรัฐอเมริกา องค์กรสตรีแห่งชาติ (เอ็นโอดับเบิลยู) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1966 มีวัตถุประสงค์ในการให้ความเท่าเทียมแก่สตรีทุกคน องค์กรสตรีแห่งชาติเป็นกลุ่มหนึ่งที่สำคัญซึ่งต่อสู้เพื่อบทแก้ไขที่ว่าด้วยสิทธิเท่าเทียมกัน (อีอาร์เอ) บทแก้ไขนี้กล่าวไว้ว่า “ความเท่าเทียมในสิทธิภายใต้กฎหมายจะไม่มีการปฏิเสธหรือลดทอนสิทธิ์โดยประเทศสหรัฐอเมริกาหรือรัฐใดๆเนื่องจากเรื่องเพศ แต่อย่างไรก็ตามมีความไม่เห็นด้วยในเรื่องความเข้าใจบทแก้ไขที่เสนอ ผู้สนับสนุนบทแก้ไขเชื่อว่าบทแก้ไขนี้จะเป็นสิ่งที่รับประกันว่าผู้หญิงได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม แต่ผู้วิจารณ์เกรงว่าผู้หญิงอาจจะไม่มีสิทธิในการได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากสามีตน บทแก้ไขนี้ได้สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1982 เนื่องไม่มีจำนวนรัฐมากพอที่ให้การสนับสนุนบทแก้ไขนี้ ERA นำมารวมอยู่ในการประชุมใหญ่ต่อมา แต่ยังมีความล้มเหลวในการอนุมัติ

ในประเทศยูเครน กลุ่มรณรงค์สิทธิสตรีฟีเมน (FEMEN) มีขึ้นในปี ค.ศ. 2008 องค์กรนี้เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติเนื่องจากการประท้วงโดยการเปลือยอกของสตรีในการต่อต้านนักท่องเที่ยวที่เน้นการมีเพศสัมพันธ์กับโสเภณี การแต่งงานระหว่างชาติ การแบ่งแยกเพศ และการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับสังคมระหว่างประเทศ การเจ็บป่วยในประเทศ การเจ็บป่วยทางสังคม กลุ่มฟีเมนมีกลุ่มผู้ให้ความสนับสนุนเห็นใจหลายกลุ่มในประเทศแถบยุโรปโดยผ่านทางสื่อสังคม


Birth control and reproductive rightsสิทธิการควบคุมกำเนิดและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ (reproductive rights) '

ในยุค 1870 (1870-79) ผู้สนับสนุนสิทธิสตรีพัฒนาแนวคิดเรื่องความเป็นมารดาโดยความสมัครใจ ให้เป็นอย่างการวิจารณ์ทางการเมืองในเรื่องความเป็นมารดาโดยไม่สมัครใจ และการแสดงความต้องการในการปลดปลอยผูหญิง (women's emancipation) ผู้สนับสนุนความเป็นมารดาโดยสมัครใจไม่เห็นด้วยกับการคุมกำเนิด แย้งว่าผู้หญิงควรจะมีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องเพศสัมพันธ์เมื่อมีความต้องการเป็นผู้ให้กำเนิดและได้ส่งเสริมการบังคับใจตนเองแบบถาวรหรือตามช่วงเวลา

ในตอนต้นศตวรรษที่ 20 การคุมกำเนิดมีความก้าวหน้าเป็นอย่างทางเลือกหนึ่ง ในการจำกัดครอบครัวและการเป็นมารดาโดยสมัครใจ คำว่า “การคุมกำเนิด” เข้ามารวมอยู่ในภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1914 มาร์กาเรต แซนเกอร์ (Margaret Sanger) ได้ทำให้คำเฉพาะนี้เป็นที่แพร่หลาย มาร์กาเรตเป็นผู้ที่มีความตื่นตัวในสหรัฐอเมริกา มาร์กาเรตมีชื่อเสียงนานาชาติภายในยุค 1930 (1930-39) Marie Stopes ซึ่งเป็นนักรณรงค์ในการคุมกำเนิดในประเทศอังกฤษ Marie ได้ทำให้การคุมกำเนิดเป็นที่ยอมรับในประเทศอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1920 โดยนำคำเฉพาะนี้มาใช้ในทางวิทยาศาสตร์ Stopes มีส่วนช่วยเหลือในความเคลื่อนไหวในการคุมกำเนิดในประเทศอาณานิคมของชาวอังกฤษ การเคลื่อนไหวในการควบคุมกำเนิดสนับสนุนการควบคุมกำเนิดและการอนุญาตให้มีความสัมพันธ์ทางเพศตามที่ต้องการโดยไม่เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ ในการเน้นเรื่องการควบคุมกำเนิด การเคลื่อนไหวในเรื่องการคุมกำเนิดได้มีข้อโต้แย้งว่าผู้หญิงควรจะมีการควบคุมการเจริญพันธุ์และการเคลื่อนไหวนี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการเคลื่อนไหวของผู้สนับสนุนสิทธิสตรี สโลแกนเช่น “ควบคุมร่างกายของเรา” วิจารณ์เรื่องการครอบงำโดยผู้ชายและต้องการให้มีการปลดแอกสตรี ในยุค 1960 และยุค 1970 การเคลื่อนไหวในการคุมกำเนิดสนับสนุนการออกกฎหมายการทำแท้งและมีการรณรงค์การศึกษาการคุมกำเนิดโดยรัฐบาล ในยุค 1980 องค์กรเกี่ยวข้องกับการควบคุมประชากรและการคุมกำเนิดได้มีส่วนร่วมในความต้องการให้มีสิทธิในการคุมกำเนิดและการทำแท้ง

การคุมกำเนิดกลายมาเป็นแนวคิดหลักในการเมืองสตรีนิยมซึ่งกล่าวว่าการเจริญพันธุ์เป็นอย่างความไร้อำนาจของสตรีในการใช้สิทธิ การได้รับการยอมรับทางสังคมในเรื่องการคุมกำเนิดจำเป็นต้องมีการแบ่งแยกเรื่องเพศออกจากการให้กำเนิด ทำให้การคุมกำเนิดเป็นประเด็นโต้แย้งในช่วงศตวรรษที่ 20 เมื่อกล่าวถึงการคุมกำเนิดในบริบทที่กว้างขึ้น การคุมกำเนิดได้กลายมาเป็นสาเหตุของความขัดแย้งระหว่างค่านิยมแบบอนุรักษนิยมและค่านิยมแบบเสรีนิยม ทำให้เกิดคำถามมากมายเกี่ยวกับครอบครัว อิสระส่วนตัว การเข้ามาแทรกแซงของรัฐ ศาสนาในการเมือง การถือพรหมจรรย์ และสวัสดิการสังคม สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ (reproductive rights) เป็นสิทธิที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (sexual reproduction) และอนามัยการเจริญพันธุ์ (Reproductive Health) สิทธิอนามัยเจริญพันธ์เป็นอย่างหัวข้อย่อยของสิทธิมนุษยชนที่นำมาอภิปรายครั้งแรกในที่ประชุมนานาชาติของสหประชาชาติในปี ค.ศ. 1968 ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ยังไม่เป็นที่ยอมรับในกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และเป็นศัพท์ครอบจักรวาลที่อาจจะนำมารวมในสิทธิบางอย่างหรือสิทธิทั้งหมด เช่น สิทธิในการทำแท้งตามกฎหมายหรือการทำแท้งที่ปลอดภัย สิทธิในการควบคุมการทำงานของระบบสืบพันธุ์ สิทธิในการได้รับการดูแลอนามัยการเจริญพันธุ์ที่มีคุณภาพ และสิทธิในการได้รับการศึกษาและการเข้าถึงข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินทางเลือกการเจริญพันธุ์ มีความอิสระจากการบีบบังคับ การแบ่งแยก และความรุนแรง

เพื่อความเข้าใจในเรื่องสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์จำเป็นต้องรวมเรื่องการศึกษาเกี่ยวกับการคุมกำเนิดและโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เรื่องความเป็นอิสระจากการทำหมันและการคุมกำเนิดเนื่องจากการบีบบังคับ การป้องกันจากการปฏิบัติต่างๆที่เน้นเพศภาวะเป็นพื้นฐาน เช่น การขลิบอวัยวะเพศสตรี (Female Genital Mutilation) และการขลิบอวัยวะเพศชาย (Male genital mutilation) สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์เป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นสิทธิสำหรับชายและหญิงแต่มักจะเป็นสิทธิสำหรับสตรีมากที่สุด

ในประเทศส่วนใหญ่ในโลก กฎหมายได้จำกัดการมีสิทธิในการทำแท้งของสตรีตามกฎหมาย เมื่อต้องได้รับอนุญาตในการทำแท้งตามกฎหมาย ผู้หญิงก็จะมีการได้รับการบริการในการทำแท้งด้วยความปลอดภัยที่จำกัด ในประเทศจำนวนน้อยได้ห้ามการทำแท้งในทุกกรณี ในประเทศส่วนใหญ่และการตัดสินคดีส่วนใหญ่ การทำแท้งได้รับอนุญาตเพื่อช่วยชีวิตของสตรีมีครรภ์หรือเมื่อมีการตั้งครรภ์เนื่องมาจากการถูกข่มขืน

จากการติดตามองค์กรเฝ้าระวังสิทธิมนุษยชน “การทำแท้งเป็นเพียงแค่เรื่องอารมณ์และเป็นสิ่งหนึ่งที่กระตุ้นความคิดเห็นต่างๆอย่างลึกซึ้ง” แต่อย่างไรก็ตาม การได้รับการบริการในการทำแท้งด้วยความปลอดภัยเป็นอันดับแรกที่สำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชน ในสถานที่ที่มี การทำแท้งที่ปลอดภัยและถูกต้องตามกฎหมาย ไม่มีใครถูกบังคับให้ทำแท้ง ในสถานที่ที่การทำแท้งผิดกฎหมายและไม่ปลอดภัย ผู้หญิงถูกบังคับให้มีการตั้งครรภ์ที่ไม่ปรารถนาทำให้ทนทุกข์ทรมานจากสุขภาพที่ไม่ดีและนำไปสู่การเสียชีวิต มีการเสียชีวิตของมารดาคิดเป็นประมาณ 13% เนื่องมาจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย มีการเสียชีวิตประมาณ 68,000 และ 78,000 รายในแต่ละปี จากการติดตามรายงานขององค์กรเฝ้าระวังสิทธิมนุษยชน “การไม่ยอมรับสิทธิของสตรีในการตัดสินใจอย่างอิสระในเรื่องการทำแท้งเป็นการละเมิดหรือก่อให้เกิดภัยคุกคามสิทธิมนุษยชนในขอบเขตที่กว้าง” แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มอื่นๆ อย่างเช่น โบสถ์คาทอลิก สิทธิของคริสตชน และชาวยิวนิกายนิกายออร์ธอดอกซ์พิจารณาว่าการทำแท้งไม่ใช่สิทธิแต่เป็น “ความชั่วร้ายทางศีลธรรม”

แหล่งที่มา

WikiPedia: สิทธิสตรี http://www.amazon.com/Inasmuch-Mary-H-Fulton/dp/11... http://www.cqvip.com/qk/83891A/200203/6479902.html http://books.google.com/?id=2bDxJW3x4f8C&dq=sparta... http://books.google.com/?id=Jug6crxEImIC&dq=Aristo... http://books.google.com/?id=WY-2MeZqoK0C&pg=PA36&d... http://books.google.com/?id=XMohyLfGDDsC&dq=women+... http://books.google.com/?id=Xfx1VaSIOgQC&printsec=... http://books.google.com/books?id=c3k2AN1GulYC&prin... http://www.hkbu.edu.hk/~libimage/theses/abstracts/... http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37253