ผลของสิทธิเหนือพื้นดิน ของ สิทธิเหนือพื้นดิน

การโอนสิทธิเหนือพื้นดิน

"ถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในนิติกรรมอันก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินไซร้ ท่านว่าสิทธินั้นอาจโอนได้และรับมรดกกันได้"
ป.พ.พ. ม.1411

สิทธิเหนือพื้นดินนั้นแตกต่างจากสิทธิอาศัย (อังกฤษ: right of habitation) สิทธิเก็บกิน (อังกฤษ: usufruct) และ ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ (อังกฤษ: charge on immovable) ที่ทั้งสามอย่างหลังเป็นสิทธิเฉพาะตัวของบุคคล โอนให้แก่ผู้อื่นไม่ได้ในทุกกรณี แต่ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์อาจโอนได้หากกำหนดไว้ในนิติกรรมอันก่อให้เกิดภาระติดพันนั้น ขณะที่สิทธิเหนือพื้นดินมิใช่สิทธิเฉพาะตัว จึงโอนหรือตกทอดเป็นมรดกได้ตราบที่ยังไม่ครบกำหนดเวลาของสิทธิ ทั้งนี้ ตาม ป.พ.พ. ม.1411[3]

ฎ.840/2492 ว่า โจทก์ขายเรือนซึ่งอยู่ในที่ของโจทก์ให้จำเลย โดยมีข้อสัญญากันว่าโจทก์ผู้ขายยอมให้จำเลยผู้ซื้ออยู่ในที่ดินมีกำหนด 3 ปี โดยไม่คิดค่าเช่านับแต่วันทำสัญญา ดังนี้ ในระยะ 3 ปีนี้จำเลยย่อมเอาเรือนหลังนี้ไปให้คนอื่นเช่าอยู่ได้ เพราะเรือนเป็นของจำเลยผู้ซื้อ จำเลยจะอยู่เองหรือจะให้ใครอยู่ก็ย่อมมีสิทธิทำได้ เป็นการใช้สิทธิตามสัญญาซื้อขาย

กำหนดเวลาของสิทธิเหนือพื้นดิน

"สิทธิเหนือพื้นดินนั้นจะก่อให้เกิดโดยมีกำหนดเวลา หรือตลอดชีวิตเจ้าของที่ดิน หรือตลอดชีวิตผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินนั้นก็ได้

ถ้าก่อให้เกิดสิทธิพื้นดินโดยมีกำหนดเวลาไซร้ ท่านให้นำบทบัญญัติมาตรา 1403 วรรค 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลม"
ป.พ.พ. ม.1412
"ถ้าให้สิทธิอาศัยโดยมีกำหนดเวลา กำหนดนั้นท่านมิให้เกินสามสิบปี ถ้ากำหนดไว้นานกว่านั้นให้ลดลงมาเป็นสามสิบปี การให้สิทธิอาศัยจะต่ออายุก็ได้ แต่ต้องกำหนดเวลาไม่เกินสามสิบปีนับแต่วันทำต่อ"
ป.พ.พ. ม.1430 ว.3

อนึ่ง สิทธิเหนือพื้นดินนั้นจะก่อให้เกิดโดยมีกำหนดเวลา หรือตลอดชีวิตเจ้าของที่ดิน หรือตลอดชีวิตผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินก็ได้ ในกรณีที่มีการกำหนดเวลากัน กฎหมายห้ามกำหนดเกินสามสิบปี ถ้ากำหนดไว้นานกว่านั้นให้ลดลงมาเป็นสามสิบปี และจะต่ออายุก็ได้แต่ต้องไม่เกินสามสิบปีนับแต่วันต่ออายุ ทั้งนี้ ตาม ป.พ.พ. ม.1412 และ ม.1403 ว.3

ฎ.667/2542 ว่า ตามข้อกำหนดพินัยกรรมระบุให้โจทก์มีสิทธิอยู่อาศัยในที่ดินได้ชั่วชีวิตของโจทก์ สิทธิอยู่อาศัยดังกล่าวเป็นสิทธิเหนือพื้นดินตาม ป.พ.พ. ม.1410 และเป็นทรัพยสิทธิซึ่งโจทก์ได้รับมาตามพินัยกรรมโดยชอบ โจทก์จึงชอบที่จะ ใช้สิทธิให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกดำเนินการจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้แก่โจทก์ เพื่อให้โจทก์มีสิทธิบริบูรณ์ตามข้อกำหนดในพินัยกรรมและตามวัตถุประสงค์ของเจ้ามรดก โดยการจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานตาม ป.พ.พ. ม.1299 ว.1 แม้ตามข้อกำหนดพินัยกรรมมิได้ระบุให้จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินต่อเจ้าพนักงานก็ตาม. โจทก์ได้ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิอาศัยได้ชั่วชีวิตโจทก์ตามข้อกำหนดพินัยกรรมอยู่ ก่อนที่นางทวีสุข สุคนธชาติ หรือสุคนธะชาติ เจ้ามรดกจะทำพินัยกรรม และก่อนที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย แม้ว่าจำเลย ในฐานะผู้จัดการมรดก ได้จัดการโอนที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิเหนือพื้นดินให้แก่ทายาทตามพินัยกรรมแล้วก็ตาม, แต่เมื่อโจทก์ยังคงอาศัยอยู่ในบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่โจทก์มีสิทธิเหนือพื้นดิน กรณีเช่นนี้จึงเปรียบได้เสมือนหนึ่งว่า โจทก์ในฐานะทายาทตามพินัยกรรมได้ครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกัน, โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้น โดยฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรมให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้แก่โจทก์ได้ แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความ 1 ปีแล้ว ตาม ป.พ.พ. ม.1748 ซึ่งเป็นข้อยกเว้นของ ป.พ.พ. ม.1754. ดังนี้ แม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่โจทก์ควรรู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรมก็ตาม, คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ. เมื่อตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ขอให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยไว้ด้วย แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้มีคำสั่งในส่วนนี้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็แก้ไขเสียให้ถูกต้องตามที่โจทก์ขอได้.

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: สิทธิเหนือพื้นดิน http://www.virtualhome.be/jur/jur_superficie.htm http://www.samuiforsale.com/Civil_Code_text_Englis... http://www.wordreference.com/fren/superficie http://bundesrecht.juris.de/englisch_bgb/index.htm... http://www.japaneselawtranslation.go.jp/law/detail... http://www.lawcommunityonline.org/ http://www.ams.cmu.ac.th/pub/law/civil/ http://www.ams.cmu.ac.th/pub/law/civil/section/sec... http://www.ams.cmu.ac.th/pub/law/civil/section/sec... http://www.ams.cmu.ac.th/pub/law/civil/section/sec...