ประวัติ ของ สิริกิติยา_เจนเซน

ชีวิตตอนต้นและการศึกษา

ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน หรือ สิริกิตติยา เจนเสน มีนามเดิมว่า ใหม่ เจนเซน เกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2528 เมืองแซนดีเอโก ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นพระธิดาคนเล็กในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี กับปีเตอร์ แลดด์ เจนเซน มารดาเป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ท่านผู้หญิงสิริกิติยามีพี่สาวและพี่ชาย คือท่านผู้หญิงพลอยไพลินและคุณพุ่ม เจนเซน[5][6][7]

ท่านผู้หญิงสิริกิติยาเกิดและเติบโตในแซนดีเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกาได้ศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนมัธยมศึกษาเอิร์ลวอร์เรนจูเนียร์ (Earl Warren Junior High School) และโรงเรียนมัธยมศึกษาทอร์เรย์ไพนส์ (Torrey Pines High School)[8] ในช่วงปี พ.ศ. 2541 บิดาและพระมารดาได้หย่าร้างกัน ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีเสด็จนิวัตประเทศไทยพร้อมด้วยคุณพุ่ม พี่ชาย ส่วนท่านผู้หญิงสิริกิติยายังคงพำนักอยู่ในแซนดีเอโกร่วมกับบิดา จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2543 ต่อมาท่านผู้หญิงพลอยไพลินพี่สาวได้ย้ายที่อยู่ไปยังเมืองแซนดีเอโกและเข้าศึกษาที่มหาวิทยาแคลิฟอร์เนียแซนดีเอโกจนสำเร็จการศึกษา ส่วนท่านผู้หญิงสิริกิติยาก็ได้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียริเวอร์ไซด์[9] ต่อมาได้ตัดสินย้ายไปอยู่นิวยอร์กเพียงลำพังเพื่อศึกษาต่อ[10] จนสำเร็จการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก สาขาการศึกษาภูมิภาคเอเชียตะวันออก[11] โดยท่านผู้หญิงสิริกิติยาเคยกล่าวถึงไว้ว่า "...เราเลือกเรียนด้านประวัติศาสตร์จีน เกาหลี ญี่ปุ่น เน้นจีนกับญี่ปุ่นมากหน่อย เพราะชอบ พยายามตั้งใจเรียน เพราะรู้ว่าตัวเองไม่ได้ฉลาดตามธรรมชาติเหมือนคนอื่น..." และ "...เมื่ออยากได้งานดี ๆ จึงต้องเรียนให้ได้คะแนนดี อีกอย่างค่าเรียนแพง ต้องตั้งใจเรียน จะได้คุ้ม..."[12]

การทำงาน

หลังสำเร็จการศึกษา ท่านผู้หญิงสิริกิติยาได้ทำงานด้านแฟชั่นโดยเป็นคนฝึกงานของโยจิ ยามาโมโตะ (Yohji Yamamoto) นักออกแบบชาวญี่ปุ่น และทำงานกับแอร์เมส (Hermes)[13] เพราะอยากใช้ความคิดสร้างสรรค์ระหว่างทำงาน และมองว่างานแฟชั่นคือสิ่งที่สนุกที่สุด[10] ต่อมาทำงานอิสระโดยเปิดเว็บไซต์ที่รวมเว็บไซต์โฆษณา[14]

ท่านผู้หญิงสิริกิติยาสนใจงานภัณฑารักษ์ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทันตั้งแต่ทำงานที่แอร์เมส[10] หลังกลับเข้ามาพำนักในไทย จึงเข้าฝึกงานในกลุ่มงานวิชาการการอนุรักษ์ สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากรตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2559 และหลังจากฝึกงานเสร็จก็ได้รับการบรรจุเป็นเข้าข้าราชการระดับ 3 ของหน่วยงานดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560[1][2] ในตำแหน่งนักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มประวัติศาสตร์ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ช่วยราชการที่สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร[10] ในปี พ.ศ. 2560 ท่านผู้หญิงสิริกิติยารับหน้าที่ดูแลการก่อสร้างพระเมรุมาศสำหรับพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในฐานะข้าราชการ[15] ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 ท่านผู้หญิงสิริกิติยาเป็นผู้อำนวยการโครงการ "วังน่านิมิต" ซึ่งเก็บและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับพระราชวังบวรสถานมงคล[10][13][16] ซึ่งจัดแสดงโดยใช้สื่อเทคโนโลยีในรูปแบบภาพ (visual language)[17] เธอกล่าวเกี่ยวกับความเป็นมานิทรรศการนี้ว่า "...นิทรรศการนี้จึงทำขึ้นด้วยความตั้งใจที่อยากให้เด็กรุ่นใหม่เห็นว่าประวัติศาสตร์กับปัจจุบันไปด้วยกันได้ และให้รู้สึกว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่ไม่อยู่ไกลจากตัว"[18]

เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 ท่านผู้หญิงสิริกิติยาได้ลงพื้นที่เยี่ยมชมโบราณสถานสำคัญต่าง ๆ ในเมืองสงขลา ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา, เขาตังกวน, เกาะยอ, สถาบันทักษิณคดีศึกษา, วัดมัชฌิมาวาส และมัสยิดอุสาสนอิสลาม[19][20] เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้เมืองสงขลาเป็นเมืองมรดกโลก[21][22][23][24]

วันที่ 6 มีนาคม – 28 เมษายน 2562 ท่านผู้หญิงสิริกิติยาร่วมกับนาตาลี บูแตง และแมรี่ ปานสง่าจัดโครงการ "วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งการเวลา" และนิทรรศการ "นัยระนาบนอก อินซิทู : แปลงร่างอดีตในหลืบแห่งปัจจุบัน" ที่พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เพื่อศึกษาเกี่ยวกับพระราชวังบวรสถานมงคล แต่ครั้งนี้ได้เพิ่มเติมชิ้นงานของผู้คนที่โดดเด่นจากวงการต่าง ๆ 20 คน และหนึ่งคณะนักร้องประสานเสียง สร้างชิ้นงานที่สื่อถึงวังหน้าตามความถนัด[25]

วันที่ 1 – 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ท่านผู้หญิงสิริกิติยาจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่าย Hundred Years Between ที่บอกเล่าเรื่องราวการเดินทางของท่านผู้หญิงสิริกิติยา กับการตามรอยเสด็จประพาสรัชกาลที่ 5 ที่นอร์เวย์ ในวาระครบรอบ 115 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-นอร์เวย์ พ.ศ. 2563 ด้วยการถ่ายทอดความคิด ความรู้สึกจากการเดินทางไปยังจุดเหนือสุดแห่งทวีปยุโรป ของทั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและตัวท่านผู้หญิงเองด้วยจดหมาย 4 ฉบับเขียนถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเสด็จฯ ถึงยังสถานที่เดียวกัน หากแต่คั่นด้วยเวลา 113 ปี ซึ่งภายหลังถูกรวบรวมเป็นบทพระราชนิพนธ์ ไกลบ้าน [26][27]

กิจกรรมกับพระราชวงศ์

ท่านผู้หญิงสิริกิติยาได้ร่วมทำกิจกรรมกับชุมชนไทยที่พำนักในสหรัฐอเมริกาในวาระสำคัญต่าง ๆ เช่น งานเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร[28] และเป็นเจ้าภาพในงานผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตของวัดวชิรธรรมปทีป ลองไอส์แลนด์ นิวยอร์ก[29] เป็นต้น

ส่วนในประเทศไทย ท่านผู้หญิงสิริกิติยามักโดยเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[30][31] ซึ่งเคยตามเสด็จเพื่อร่วมบรรยายในวิชาประวัติศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า[32] หรือโดยเสด็จทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีขณะประกอบพระกรณียกิจบ่อยครั้ง[33][34] และมีบ้างที่ออกไปปฏิบัติงานเพียงคนเดียว เช่น ในพระราชพิธีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมถวายพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ท่านผู้หญิงสิริกิติยาก็ได้มอบของแก่ประชาชนที่ร่วมเข้ามาสักการะพระบรมศพด้วย[35] และอื่น ๆ[36]

วันที่ 7 พฤษภาคม 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษฝ่ายในและเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ 2 แก่คุณพลอยไพลินและคุณสิริกิติยา เจนเซน[37] ทั้งสองได้รับบรรดาศักดิ์เป็น "ท่านผู้หญิง"[38][39]

ใกล้เคียง

สิริกิติยา เจนเซน สิริกร มณีรินทร์ สิริกิติ์ สิริกิติ์ (แก้ความกำกวม) สิริ กรินชัย สิริลภัส กองตระการ สิริยากร พุกกะเวส สิริมา ไชยปรีชาวิทย์ สิริมาโว พัณฑารนายกะ สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ

แหล่งที่มา

WikiPedia: สิริกิติยา_เจนเซน http://www.alittlebuddha.com/News%202010/July%2020... http://news.ch7.com/detail/222558/%E0%B8%97%E0%B8%... http://caselaw.findlaw.com/ca-court-of-appeal/1258... http://www.khaosan-nannakorn.com/16412 http://www.leagle.com/decision/20037087CalRptr3d70... http://news.muslimthaipost.com/news/31220 http://www.nctimes.com/articles/2004/12/29/news/to... http://paploy.com/home.htm http://www.paploy.com/home.htm http://www.phuketinternationalhospital.com/news/65...