องค์ประกอบและการผลิต ของ สีน้ำเงินอียิปต์

การทดลองหลายครั้งได้ดำเนินการโดยนักวิทยาศาสตร์และนักโบราณคดีที่สนใจในการวิเคราะห์องค์ประกอบของสีน้ำเงินอียิปต์รวมทั้งเทคนิคที่ใช้ในการผลิต ตอนนี้ถือว่าโดยทั่วไปแล้วเป็นวัสดุที่ผลิตหลายขั้นตอน โดยการให้ความร้อนทรายควอทซ์, สารประกอบทองแดง, แคลเซียมคาร์บอเนต และและมีด่างเล็กน้อยร่วมกัน (เถ้าจากพืชดินเค็มทนเกลือ หรือเนทรอน) ที่อุณหภูมิระหว่าง 800 ถึง 1,000 องศาเซลเซียส (1,470 ถึง 1,830 องศาฟาเรนไฮต์) (ขึ้นอยู่กับปริมาณของด่างที่ใช้) เป็นเวลาหลายชั่วโมง[10] ผลที่ได้คือคูโปรรีไวต์หรือสีน้ำเงินอียิปต์, คาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำ:

Cu2CO3(OH)2 + 8 SiO2 + 2 CaCO3 → 2 CaCuSi4O10 + 3 CO2 + H2O

ในสถานะสุดท้าย สีน้ำเงินอียิปต์ประกอบด้วยผลึกสีน้ำเงินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าพร้อมกับควอตซ์ที่ยังไม่ผ่านการทำปฏิกิริยาและแก้วบางส่วน จากการวิเคราะห์ตัวอย่างจากประเทศอียิปต์และที่อื่น ๆ เปอร์เซ็นต์น้ำหนักของวัสดุที่ใช้ในการได้สีน้ำเงินอียิปต์ในสมัยโบราณได้รับการพิจารณาถึงช่วงปกติภายในปริมาณเหล่านี้:[10]

ซิลิกา (SiO2) 60–70 เปอร์เซ็นต์แคลเซียมออกไซด์ (CaO) 7–15 เปอร์เซ็นต์คอปเปอร์(II) ออกไซด์ (CuO) 10–20 เปอร์เซ็นต์

เพื่อให้ได้คูโปรรีไวต์ตามทฤษฎี ที่เกิดผลึกน้ำเงินเท่านั้น โดยไม่มีผลึกควอตซ์ที่ไม่ผ่านการทำปฏิกิริยาหรือการก่อตัวของแก้ว เปอร์เซ็นต์เหล่านี้จะต้องใช้:[10]

ซิลิกา 64 เปอร์เซ็นต์แคลเซียมออกไซด์ 15 เปอร์เซ็นต์คอปเปอร์ออกไซด์ 21 เปอร์เซ็นต์

อย่างไรก็ตาม ไม่มีตัวอย่างที่วิเคราะห์มาจากสมัยโบราณทำจากองค์ประกอบที่ชัดเจนนี้ ในฐานะที่มีส่วนเกินของซิลิกา รวมไปถึงส่วนเกินของทั้งคอปเปอร์ออกไซด์และแคลเซียมออกไซด์[11] เรื่องนี้อาจเกิดขึ้นโดยเจตนา; การเพิ่มขึ้นของปริมาณแอลคาไลน์ในรงควัตถุมีผลึกควอตซ์ที่ไม่ได้ทำปฏิกิริยามากขึ้นในเมทริกซ์แก้ว ซึ่งส่งผลต่อพื้นผิวที่แข็งกว่า[10] ส่วนการลดปริมาณแอลคาไลน์ (น้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์) จะทำให้แก้วไม่สามารถก่อตัวได้และสีน้ำเงินอียิปต์อ่อนนุ่มขึ้น โดยมีค่าความแข็ง 1–2 โมส[11]

นอกเหนือจากวิธีการที่องค์ประกอบต่าง ๆ มีอิทธิพลต่อพื้นผิว วิธีการแปรรูปของสีน้ำเงินอียิปต์ยังมีผลต่อพื้นผิวในแง่ของความหยาบและความละเอียด หลังจากการทดลองหลายครั้ง ไทต์ และคณะ ได้สรุปว่าสำหรับสีน้ำเงินอียิปต์ที่มีเนื้อละเอียด มีความจำเป็นสองขั้นตอนเพื่อให้ได้ผลึกสลับกัน ขั้นตอนแรก ส่วนผสมจะได้รับการให้ความร้อน และผลที่ได้คือผลิตผลพื้นผิวหยาบ แล้วนำไปบดเป็นผงละเอียดและเติมน้ำ จากนั้น สิ่งที่มีลักษณะเหนียวนี้จะได้รับการปรับโฉมใหม่และเผาอีกครั้งที่อุณหภูมิตั้งแต่ 850 ถึง 950 องศาเซลเซียสเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง ทั้งสองขั้นตอนนี้เป็นไปได้ที่จะทำให้เกิดสิ่งที่มีลักษณะเหนียวดังกล่าวที่เหมาะสำหรับการผลิตวัตถุขนาดเล็ก สีน้ำเงินอียิปต์พื้นผิวหยาบ จะไม่ได้ผ่านขั้นตอนที่สอง เนื่องจากมักพบในรูปของแผ่น (ในยุคราชวงศ์) และลูกกลม (ในยุคกรีก-โรมัน) รูปแบบเหล่านี้อาจมีทั้งรอการแปรรูปผ่านขั้นตอนที่สอง ที่สีเหล่านั้นจะถูกบดและมีพื้นผิวประณีต หรือสีเหล่านั้นจะจะถูกบดเพื่อใช้ในฐานะรงควัตถุสีน้ำเงิน[10]

ลำดับชั้นของสีน้ำเงินที่เข้าถึงยังเกี่ยวข้องกับความหยาบและความละเอียดของสีน้ำเงินอียิปต์ ตามที่กำหนดโดยระดับของการรวมตัวของผลึกสีน้ำเงินอียิปต์ สีน้ำเงินอียิปต์แบบหยาบมีรูปแบบที่ค่อนข้างหนา เนื่องจากมีกลุ่มคริสตัลขนาดใหญ่ซึ่งเป็นไปตามผลึกที่ยังไม่ได้ทำปฏิกิริยา การจัดกลุ่มนี้ทำให้เกิดสีน้ำเงินเข้มที่มีลักษณะสีน้ำเงินอียิปต์แบบหยาบ ส่วนอีกวิธีหนึ่งคือ พื้นผิวน้ำเงินอียิปต์ประกอบด้วยกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีการกระจายตัวกันระหว่างอนุภาคผลึกที่ยังไม่ได้ทำปฏิกิริยา มีแนวโน้มที่จะเป็นน้ำเงินอ่อน[10] แม้ว่าสีน้ำเงินได้รับการปรับลดลง แต่มันก็ได้รับการนำมาใช้เป็นสีน้ำเงินอียิปต์ที่มีเนื้อละเอียด ซึ่งมีแก้วจำนวนมากที่สร้างขึ้นจากองค์ประกอบของมัน ที่ปกปิดด้วยสีน้ำเงิน และทำให้มีลักษณะเจือจาง ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับของแอลคาไลน์ที่เพิ่มเข้ามาในส่วนผสม ดังนั้น ด้วยแอลคาไลน์ที่มากขึ้น แก้วก็จะยิ่งก่อตัวมากขึ้น และลักษณะเจือจางมากขึ้น[10] สีน้ำเงินอียิปต์ชนิดนี้เป็นที่ประจักษ์โดยเฉพาะในช่วงราชวงศ์ที่ 18 และหลังจากนั้น รวมทั้งอาจเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีแก้วในช่วงดังกล่าว[3]

หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขบางประการ สีน้ำเงินอียิปต์ก็จะไม่เกิดขึ้นอย่างน่าพอใจ ตัวอย่างเช่น หากอุณหภูมิสูงกว่า 1,050 องศาเซลเซียส มันจะไม่เสถียร[12] หากมีการเติมปูนขาวมากเกินไป โวลลาสโทไนต์ (CaSiO3) จะเกิดเป็นรงควัตถุสีเขียว ส่วนผสมทองแดงที่มากเกินไปส่งผลให้มีส่วนเกินของคอปเปอร์ออกไซด์ของคูไปรท์และเทนอไรต์[12]