การนิยาม ของ สีน้ำเงินอียิปต์

พิกซิสที่ทำจาก"สีน้ำเงินอียิปต์": ที่นำเข้าสู่อิตาลีจากตอนเหนือของซีเรีย โดยผลิตขึ้นเมื่อ 750–700 ปีก่อนคริสต์ศักราช (ซึ่งได้รับการจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์อัลเทส ในกรุงเบอร์ลิน)

สีน้ำเงินอียิปต์ เป็นรงควัตถุสีน้ำเงินที่ประกอบด้วยซิลิกา, ปูนขาว, ทองแดง และแอลคาไลน์ สีของมันเป็นเพราะเตตระซิลิเกต แคลเซียม-ทองแดง CaCuSi4O10 ขององค์ประกอบเช่นเดียวกับแร่คูโปริไวต์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มันถูกสร้างขึ้นในอียิปต์ในช่วงสามพันปีก่อนคริสต์ศักราช และเป็นเม็ดสีสังเคราะห์ชนิดแรกที่ผลิตได้ที่นั่น ต่อเนื่องจนถึงสิ้นยุคกรีก-โรมัน (332 ปีก่อนคริสต์ศักราช–คริสต์ศักราช 395)[ต้องการอ้างอิง]

คำในภาษาอียิปต์คือ ḫsbḏ-ỉrjt ซึ่งหมายความว่าแลพิสแลซูลีเทียม (ḫsbḏ)[2] มันถูกใช้ในสมัยโบราณในฐานะรงควัตถุสีน้ำเงินเพื่อความหลากหลายของตัวกลางที่แตกต่างกัน เช่น หิน, ไม้, ปูนฉาบผนัง, ต้นปาปิรัส และผ้าใบ รวมทั้งในการผลิตของวัตถุจำนวนมาก ได้แก่ กระบอกตราประทับ, ลูกปัด, สัญลักษณ์แมลงสคารับ, งานฝังประดับ, กระถาง และรูปปั้น บางครั้งก็ได้รับการอ้างถึงในวรรณคดีอียิปต์ในฐานะฟริตสีน้ำเงิน บางคนแย้งว่านี่เป็นคำที่ผิดพลาดที่ควรสงวนไว้สำหรับใช้ในการอธิบายขั้นตอนเริ่มต้นของการผลิตหรือเคลือบแก้ว[3] ในขณะที่คนอื่น ๆ อ้างว่าสีน้ำเงินอียิปต์เป็นฟริตทั้งแบบละเอียดและหยาบเนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากปฏิกิริยาของสภาวะของแข็ง[4] มันมีลักษณะสีน้ำเงิน อันเป็นผลมาจากส่วนประกอบหลัก—ทองแดง—มีตั้งแต่สีอ่อนจนถึงสีเข้ม ขึ้นอยู่กับการแปรสภาพและองค์ประกอบที่ต่างกัน

นอกเหนือจากอียิปต์ มันก็ยังได้รับการพบในตะวันออกใกล้, ทิศตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และวงจำกัดของจักรวรรดิโรมัน ซึ่งไม่ชัดเจนว่าการดำรงอยู่ของรงควัตถุที่อื่นเป็นผลมาจากการประดิษฐ์แบบคู่ขนาน หรือเค้าเงื่อนการแพร่กระจายของเทคโนโลยีจากอียิปต์ไปยังพื้นที่ดังกล่าว