สเปซเอ็กซ์ดรากอน
สเปซเอ็กซ์ดรากอน

สเปซเอ็กซ์ดรากอน

สเปซเอ็กซ์ดรากอน (อังกฤษ: SpaceX Dragon) หรือที่เรียกว่า Dragon 1 หรือ Cargo Dragon เป็นยานอวกาศที่สามารถนำบางส่วนมาใช้ใหม่ได้ พัฒนาโดย สเปชเอ็กซ์ บริษัทขนส่งอวกาศเอกชนสัญชาติอเมริกัน ตั้งอยู่ในฮาวธอร์น, รัฐแคลิฟอร์เนีย ดราก้อนถูกส่งขึ้นสู่อวกาศโดยจรวดขนส่งแบบ Falcon 9 ซึ่งเป็นจรวดสองส่วน สเปซเอ็กซ์ยังพัฒนาดรากอนอีกหนึ่งรุ่นที่สามารถขนส่งมนุษย์ได้ ชื่อว่า ดราก้อนไรเดอร์ (Dragon V2)ยานดรากอน เริ่มเที่ยวบินแรกในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 และทำให้ดรากอนกลายเป็นยานอวกาศเชิงพาณิชย์ลำแรก และสามารถกู้คืนจากวงโคจรได้สำเร็จ[3] วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ยานดรากอนแบบขนส่งสินค้า เป็นยานอวกาศเชิงพาณิชย์ลำแรกที่โคจรบรรจบและเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติ[10][11][12] นอกจากนี้ยังได้ทำสัญญาในการขนส่งสินค้าไปยังสถานีอวกาศนานาชาติภายใต้โครงการชื่อ Commercial Resupply Services ของนาซา ดรากอนเริ่มการขนส่งดังกล่าวตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา[4][13][14][15]นอกจากนี้ สเปซเอ็กซ์ยังพัฒนาดรากอนสำหรับบรรทุกนักบินอวกาศในชื่อ ดรากอน วี2 สามารถขนส่งนักบินอวกาศได้ถึง 7 คน และสามารถปรับเปลี่ยนให้ขนส่งนักบินอวกาศพร้อมกับสินค้าได้ มีระยะปฏิบัติการในวงโคจรต่ำของโลก นอกจากนี้ สเปซเอ็กซ์ยังได้รับสัญญาจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้พัฒนายานขนส่งมนุษย์ให้ทางรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีแผ่นกันความร้อนที่ออกแบบมาเพื่อรองรับแรงเสียดทานจากบรรยากาศโลกหลังกลับจากดาวอังคารได้ เพราะการเดินทางระหว่างดาวเคราะห์จะใช้ความเร็วหลุดพ้น ซึ่งมีความเร็วสูงมาก[16]

สเปซเอ็กซ์ดรากอน

มุมผนังยาน 15 องศา
ภารกิจ ส่งมนุษย์และสินค้าขึ้นสู่วงโคจรต่ำของโลก (เชิงพาณิชย์)[1]
ส่งสินค้าสู่สถานีอวกาศนานาชาติ (ภาครัฐ)
ความทนทาน 1 สัปดาห์ ถึง 2 ปี[6]
เที่ยวบินแรก 8 ธันวาคม พ.ศ.2553 (เที่ยวบินทดสอบ)[3]
8 ตุลาคม พ.ศ.2555 (ใช้งานจริงเที่ยวแรก)[4]
ปริมาตร 10 เมตร3 ปรับความดัน[6]
14 เมตร3 ไม่ปรับความดัน[6]
34 เมตร3 ไม่ปรับความดันแบบต่อเติม[6]
จรวดขนส่ง ฟัลคอน 9
(ดรากอน C1ดรากอน C4)[2]
ฟัลคอน 9 วี1.1
(ดรากอน C5–)[2]
สูง 6.1 เมตร [5]
ลูกเรือ 0 (แบบขนส่งสินค้า)
7 (ดรากอนไรเดอร์)
การกลับสู่บรรยากาศ ที่ 3.5 จี[8][9]
เส้นผ่าศูนย์กลาง 3.7 เมตร [5]
มวลเดิม 4,200 กิโลกรัม [5]
สินค้า 3,310 กิโลกรัม (ส่วนปรับความดัน) และ 3,310 กิโลกรัม (ส่วนไม่ปรับความดัน) (ขาขึ้น)[7]
2,500 กิโลกรัม ในส่วนปรับความดัน (ขาลง)[7]2,600 กิโลกรัม ในส่วนไม่ปรับความดัน (ถูกเผาไหม้)[7]

ใกล้เคียง

สเปซเอ็กซ์ ครูว์-3 สเปซเอ็กซ์ สเปซเอ็กซ์ดรากอน สเปซเอ็กซ์สตาร์ชิป สเปซเอ็กซ์ดรากอน 2 สเปซเอ็กซ์สตาร์เบส สเปซเอ็กซ์แรพเตอร์ สเปซเอ็กซ์ แอกเซียมสเปซ-1 สเปซเอ็กซ์ดราโค สเปซเอ็กซ์เมอร์ลิน

แหล่งที่มา

WikiPedia: สเปซเอ็กซ์ดรากอน http://www.nasaspaceflight.com/2012/10/falcon-9lof... http://news.nationalgeographic.com/news/2012/05/12... http://www.nytimes.com/2012/05/26/science/space/sp... http://www.space.com/17943-spacex-dragon-capsule-s... http://spaceflightnow.com/falcon9/003/120518musk/ http://www.spaceflightnow.com/falcon9/002/100716fi... http://www.spacex.com/SpaceX_Brochure_V7_All.pdf http://www.spacex.com/dragon.php http://www.spacex.com/updates_archive.php?page=060... http://www.youtube.com/watch?v=16rfcTbU_D4&t=7m35s