ส้มแขก
ส้มแขก

ส้มแขก

ส้มแขก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Garcinia atroviridis) ชื่ออื่นคือ ส้มควาย (ตรัง), อาแซกะลูโก (ยะลา), ส้มมะอ้น, ส้มมะวน, มะขามแขก (ภาคใต้), ชะมวงช้าง เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Guttiferae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับมังคุด ชะมวง มีถิ่นกำเนิดในอินเดียและศรีลังกา ซึ่งในบ้านเรานิยมปลูกมากในทางภาคใต้เนื้อส่วนที่แข็ง มีกรดซิตริก กรดทาทาร์ริก กรดมาลิก และ กรดแอสคอร์บิก กรดไฮดรอกซีซิตริก และ ฟลาโวนอยด์[1] นำมาปรุงรสเปรี้ยวในอาหารเช่น แกงส้ม หรือทำเครื่องดื่มลดความอ้วน ผลส้มแขกสุกเป็นสีส้มเหลือง ส้มแขกที่หั่นเป็นชิ้นแล้วตากแดดให้แห้ง ในภาษามลายูเรียก อาซัมเกอปิง มีขายทางการค้า ใช้แต่งรสเปรี้ยวในสลัด แกง และต้มต่างๆ ผลดิบเมื่อโตเต็มที่นำมาตากแห้งนำไปต้มเคี่ยวในน้ำเชื่อม รับประทานเป็นของหวาน ผลแห้งเป็นตัวช่วยให้สีย้อมติดแน่นทนทาน น้ำต้มเคี่ยวใบและรากใช้แก้อาการปวดหู[2]ใช้แปรรูปได้หลายอย่าง เช่น น้ำส้มแขก ส้มแขกกวน ส้มแขกหยี แยมส้มแขก ส้มแขกแช่อิ่ม รสเปรี้ยวของส้มแขกเกิดจากกรดหลายชนิดเช่นกรดซิตริก กรดทาร์ทาริก กรดมาลิก กรดแอสคอร์บิกและกรดไฮดรอกซีซิตริก[3]