หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ของ หนังสือเดินทางไทย

หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ประเภทราชการ

หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-พาสปอร์ต (e-passport) หรืออาจะเรียกว่าหนังสือเดินทางที่บันทึกข้อมูลทางชีวภาพ (biometric passport) เป็นหนังสือเดินทางรูปแบบใหม่ที่มีคุณลักษณะเฉพาะทางเทคนิคโดยปฏิบัติตามข้อกำหนดขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ทางกองหนังสือเดินทางเริ่มให้บริการได้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 แต่เปิดให้บริการเฉพาะผู้ทำหนังสือเดินทางประเภททูตและราชการเท่านั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2548 เปิดให้บริการสำปรับประชาชนทั่วไปเพียงวันละ 100 เล่มเฉพาะที่กรมกงสุล และเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2548 เปิดให้บริการหนังสือเดินทางรูปแบบใหม่นี้เต็มรูปแบบทุกแห่งและทุกประเภทหนังสือเดินทาง[5] ในปัจจุบันหนังสือเดินทางรูปแบบใหม่นี้มีการใช้อย่างกว้างขวางในหลายประเทศเช่นประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย และอื่น ๆ


ความแตกต่างระหว่างหนังสือเดินทางรุ่นเดิมและหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์รุ่นใหม่

ความแตกต่างของหนังสือเดินทางสองรุ่นนี้มี 2 ส่วนหลัก ๆ คือ

  1. มีการบันทึกข้อมูลชีวภาพ (biometric data) ได้แก่ลายพิมพ์นิ้วมือทั้งสองข้าง (ทั่วไปจะเป็นนิ้วชี้ข้างซ้ายและขวา) โครงสร้างใบหน้าลงไว้ในไมโครชิพแบบ RFpID ที่ฝังอยู่ในหนังสือเดินทาง
  2. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถอ่านข้อมูลที่มีการบันทึกข้อมูลทางชีวภาพของผู้ถือหนังสือเดินทางได้ด้วยเครื่องอ่าน (Machine Readable Passport) โดยมีการตรวจพิสูจน์โดยอัตโนมัติในการเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างหนังสือเดินทางกับผู้ถือหนังสือเดินทาง

อีกทั้งยังมีข้อแตกต่างอื่น ๆ คือ

  1. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์จะไม่สามารถต่ออายุได้เหมือนหนังสือเดินทางรุ่นเดิมโดยจะเป็นการออกหนังสือเดินทางเล่มใหม่แทนเล่มเดิม
  2. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์จะไม่อนุญาตให้ลงบันทึกแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงข้อความใด ๆ เช่นการขอเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล ของผู้ถือหนังสือเดินทางลงในเล่มหนังสือเดินทาง เพื่อป้องกันข้อมูลขัดแย้งกันระหว่างข้อมูลในหนังสือเดินทางกับข้อมูลที่บันทึกไว้แล้วในไมโครชิพซึ่งอาจะทำให้หนังสือเดินทางขาดความน่าเชื่อถือ
  3. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภทจะมีให้เลือกเพียงแบบเดียวคือแบบจำนวน 50 หน้าโดยไม่สามารถเพิ่มเติมหน้าได้ ต่างจากแบบเดิมที่มี 32 หน้าและสามารถเพิ่มหน้าได้ตอนหลัง


ประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นของหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์

กองหนังสือเดินทางกล่าวไว้ว่าหนังสือเดินทางรูปแบบใหม่นี้มีประโยชน์มากขึ้นในหลายด้านเช่นด้านของการป้องกันการปลอมแปลงเนื่องจากต้องปลอมแปลงข้อมูลพื้นฐาน และข้อมูลทางชีวภาพของผู้ถือหนังสือเดินทางให้ตรงกันสองอย่างซึ่งมีความเป็นไปได้ยากทำให้สามารถสกัดกั้นขบวนการก่อการร้ายข้ามชาติ และปัญหาการลักลอบเข้าเมือง อีกทั้งยังทำให้เวลาในการตรวจสอบข้อมูลผู้ถือหนังสือเดินทางรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น สุดท้ายยังช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทยทำให้หนังสือเดินทางประเทศไทยมีความน่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติมากยิ่งขึ้น

ใกล้เคียง

หนังสือเดินทางไทย หนังสือปฐมกาล หนังสืออิสยาห์ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ หนังสืออพยพ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หนังสือกันดารวิถี หนังสือเลวีนิติ หนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ หนังสือเดินทางชนิดอ่านด้วยเครื่องได้

แหล่งที่มา

WikiPedia: หนังสือเดินทางไทย http://www.plan-travel.com/visa/schengen_new.html http://www.dailynews.co.th/dailynews/pages/front_t... http://www.consular.go.th/main/th/services/1274/19... http://www.mfa.go.th/web/2193.php?id=1782 http://www.mfa.go.th/web/939.php http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2460/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2548/00... https://thestandard.co/raise-the-age-of-passport-1... https://www.matichon.co.th/news/932775