ประวัติ ของ หน่วยยามฝั่ง

สถานีหน่วยยามฝั่งสหราชอาณาจักรที่เกอร์แวน ไอร์ไชร์ ประเทศสกอตแลนด์

หน่วยที่เกิดก่อนหน่วยยามฝั่งสหราชอาณาจักรของสหราชอาณาจักรในปัจจุบันได้รับการก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1809 ในฐานะวอเตอร์การ์ด ซึ่งเดิมอุทิศให้กับการป้องกันการลักลอบโดยเป็นหน่วยงานของสำนักงานศุลกากรและสรรพสามิต เนื่องจากสหราชอาณาจักรมีการเก็บภาษีสุราในเวลานั้น เช่น บรั่นดี และยาสูบ เป็นต้น การลักลอบขนสินค้าจากสถานที่ต่าง ๆ เช่น ฝรั่งเศส, เบลเยียม และฮอลแลนด์เป็นปัญหาที่น่าสนใจสำหรับหลาย ๆ คน ถังบรั่นดีและของเถื่อนอื่น ๆ ถูกนำเข้าจากเรือบนชายหาดของอังกฤษในเวลากลางคืนจากเรือลำเล็ก และหลังจากนั้นได้ขายเพื่อทำกำไร ตามที่ปรากฎในหนังสือชุดดอกเตอร์ซีนโดยรัสเซล ธอร์นไดค์ หน่วยยามฝั่งยังรับผิดชอบในการให้ความช่วยเหลือแก่เรืออับปาง

สถานีวอเตอร์การ์ดแต่ละแห่งจะมีปืนครกแมนบี ซึ่งได้รับการประดิษฐ์โดยกัปตัน จอร์จ วิลเลียม แมนบี ใน ค.ศ. 1808 ปืนครกดังกล่าวใช้ยิงโดยมีสายติดจากฝั่งไปยังเรือที่อับปาง และถูกนำมาใช้เป็นเวลาหลายปี สิ่งนี้เริ่มต้นกระบวนการที่หน่วยยามฝั่งถือว่ามีบทบาทช่วยชีวิต ใน ค.ศ. 1821 คณะกรรมการสอบสวนได้แนะนำให้โอนความรับผิดชอบในการป้องกันทางน้ำไปยังคณะกรรมการศุลกากร โดยกระทรวงการคลังได้เห็นด้วยและ (ในบันทึกลงวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1822) กำหนดให้ประจำการป้องกัน ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ป้องกันทางน้ำ, เรือลาดตระเวน และเจ้าหน้าที่ขี่ม้ายามฝั่ง ที่ควรอยู่ภายใต้อำนาจของคณะกรรมการศุลกากร และในอนาคตควรตั้งชื่อเป็น "หน่วยยามฝั่ง" ซึ่งใน ค.ศ. 1842 หน่วยยามฝั่งได้อยู่ในสังกัดของกระทรวงกองทัพเรืออังกฤษ[1]

สถานีช่วยชีวิตเคปแฮตเทอแรส รัฐนอร์ทแคโรไลนา ในการใช้งานตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19

ใน ค.ศ. 1829 มีการเผยแพร่คำแนะนำของหน่วยยามฝั่งแห่งแรกของสหราชอาณาจักร และจัดการกับวินัย รวมถึงทิศทางในการปฏิบัติหน้าที่ป้องกัน พวกเขายังระบุด้วยว่า เมื่อเกิดการอับปาง หน่วยยามฝั่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการทั้งหมดที่เป็นไปได้เพื่อช่วยชีวิต, ดูแลเรือ และปกป้องทรัพย์สิน[2]

ในสหรัฐ หน่วยยามฝั่งสหรัฐได้รับการก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1915 โดยการรวมตัวของหน่วยงานของรัฐบาลกลางอีกสองแห่ง หน่วยงานแรกคือหน่วยเรือตรวจของหนีภาษีสหรัฐ ซึ่งเป็นหน่วยงานบังคับใช้ศุลกากรทางทะเลที่มีบทบาทสนับสนุนกองทัพเรือสหรัฐในช่วงสงคราม ส่วนหน่วยงานที่สองคือหน่วยช่วยชีวิตทางน้ำสหรัฐ ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1848 และประกอบด้วยทีมงานช่วยชีวิตประจำการตามจุดต่าง ๆ ตามชายฝั่งทะเลตะวันออก ซึ่งต่อมา หน่วยยามฝั่งได้ดูดกลืนหน่วยประภาคารสหรัฐ รวมถึงสำนักตรวจการเดินเรือและเรือจักรไอน้ำ

ใกล้เคียง

หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน หน่วยปฏิบัติการพิเศษ หน่วยรบพิเศษ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ หน่วยผจญคนไฟลุก หน่วยยามชายแดน หน่วยยามฝั่ง หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย