เหตุผล ของ หน่วยรบพิเศษและกำลังภาคพื้นดินของกองทัพอากาศ

กำลังพลของกรมทหารอากาศในรถแลนด์โรเวอร์พร้อมชุดติดตั้งอาวุธ ("วิมิก") หยุดอยู่บนถนนขณะปฏิบัติภารกิจรบใกล้สนามบินกันดะฮาร์ ประเทศอัฟกานิสถาน ในปี ค.ศ. 2010ทีมอิเมอเจนซีเซอร์วิสของกองบินฝึกที่ 37 กองทัพอากาศสหรัฐใช้เทคนิคการยกทีมเพื่อเข้าสู่อาคารเป้าหมายระหว่างการฝึกที่ฐานทัพอากาศแล็กแลนด์ รัฐเท็กซัส เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 2007

เดิมที เหตุผลหลักสำหรับกองกำลังภาคพื้นดินของกองทัพอากาศมีไว้เพื่อการรักษาความปลอดภัยให้แก่กองกำลัง เนื่องด้วยอากาศยานมีความเสี่ยงมากที่สุดเมื่ออยู่บนพื้นดิน เพื่อการตอบโต้ทางอากาศเชิงรุก และส่วนใหญ่ไม่สามารถปฏิบัติการได้หากไม่มีไม่มีโครงสร้างเครือข่ายแบบคงที่, วัสดุหมดเปลือง และกำลังพลที่ผ่านการฝึก ฝ่ายตรงข้ามอาจหวังว่าจะบรรลุการครองอากาศ หรือป้องกันตนเองจากการจู่โจมทางอากาศก่อนโดยการโจมตีสนามบินทหาร, อากาศยาน และทรัพย์สินอื่น ๆ บนพื้นดิน การโจมตีดังกล่าวสามารถทำได้โดยตัวอย่างเช่นอากาศยาน, ขีปนาวุธร่อน และขีปนาวุธทิ้งตัวพิสัยสั้น อย่างไรก็ตาม ฝ่ายตรงข้ามที่เสียเปรียบทางจำนวน, เทคโนโลยี หรืออื่น ๆ อาจเลือกที่จะพยายามขัดขวางการบิน โดยมุ่งที่จะบุกรุกหรือโจมตีสนามบินทหารของศัตรูให้เร็วที่สุด โดยใช้กลยุทธ์แบบสายฟ้าแลบ ตัวอย่างเช่นปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา หรือผ่านการใช้กองกำลังพิเศษและการโจมตีที่ไม่เป็นไปตามแบบแผน เช่น การตีโฉบฉวยค่ายแบสชันของกลุ่มตอลิบาน

เพื่อป้องกันการโจมตีปะทะกับสนามบินทหาร และจากการถูกบุกรุก กองทัพอากาศบางแห่งมีหลักการกระจายกำลังที่เห็นว่าอากาศยานได้กระจายไปยังสนามบินทหารสำรองและฉุกเฉิน เช่น ลานไฮเวย์ รวมถึงเช่นเดียวกับกรณีแฮริเออร์บินขึ้นลงแนวดิ่งของกองทัพอากาศ, การกระจายไปในป่า หรือระบบฐาน 60 และฐาน 90 ของกองทัพอากาศสวีเดน อย่างไรก็ตาม เมื่อกระจายไปในลักษณะดังกล่าว อากาศยานและกำลังพลก็ยิ่งเสี่ยงต่อการโจมตีภาคพื้นดิน

เพื่อป้องกันการโจมตีภาคพื้นดินกองทัพอากาศ ส่วนใหญ่จะฝึกทหารอากาศบางคนในทักษะและยุทธวิธีในการจัดการอาวุธขั้นพื้นฐาน ซึ่งบางหน่วยฝึกในฐานะทหารราบ

นอกเหนือจากบทบาทในการป้องกันฐานและทรัพย์สินแล้ว กองกำลังภาคพื้นดินของกองทัพอากาศอาจมีบทบาทอื่น ๆ เช่น การป้องกันเคมี ชีวะ รังสี นิวเคลียร์ (CBRN), การฝึกกำลังพลทางอากาศอื่น ๆ ในทักษะการใช้อาวุธและยุทธวิธีการป้องกันภาคพื้นดินขั้นพื้นฐาน, การปฏิบัติการรบแบบดั้งเดิม ตลอดจนการให้ความเป็นผู้นำแก่ทหารอากาศคนอื่น ๆ ในบทบาทการป้องกันฐาน นอกเหนือจากการปกป้องฐานที่อยู่อาศัยและการแยกขบวนแล้ว กองกำลังภาคพื้นดินของกองทัพอากาศจะให้การป้องกันกองกำลังเมื่อกองกำลังทางอากาศรบนอกประเทศได้กรีธาพลในต่างประเทศ และของหัวหาดอากาศในระหว่างปฏิบัติการสะพานอากาศ ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นกำลังพลกองทัพอากาศกลุ่มแรก ๆ ที่อยู่ในภาคพื้นดิน[1] การเคลื่อนไปสู่สเปกตรัมปฏิบัติการพิเศษ คือการจู่โจม, การเข้ายึด และรักษาความปลอดภัยของสนามบินเพื่อใช้โดยอากาศยานของตนเอง[2]

กองทัพอากาศไม่ใช่ทุกกองทัพที่มีหน่วยภาคพื้นดินของตนเองและไม่ว่าจะทำหรือไม่ หรือบางครั้งก็เนื่องมาจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น การพิจารณาทางการเมือง และความขัดแย้งระหว่างเหล่าทัพ หน่วยงานดังกล่าวทำหน้าที่เป็นตัวคูณกำลังที่ช่วยให้ปฏิบัติการของสนามบินเขตหน้ามีความมั่นคง และด้วยเหตุนี้จึงเพิ่มความพร้อมใช้งาน รวมถึงการตอบสนองของทรัพยากรการบิน

ใกล้เคียง

หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน หน่วยปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ หน่วยรบพิเศษ หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยยามชายแดน หน่วยยามฝั่ง หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ

แหล่งที่มา

WikiPedia: หน่วยรบพิเศษและกำลังภาคพื้นดินของกองทัพอากาศ http://www.airpower.maxwell.af.mil/airchronicles/a... http://www.au.af.mil/au/awc/awcgate/acsc/01-031.pd... https://web.archive.org/web/20140611042751/http://... http://www.raf.mod.uk/rafcms/mediafiles/9E435312_5... https://web.archive.org/web/20141006071928/http://... http://www.usafe.af.mil/news/story.asp?id=12334281... https://web.archive.org/web/20170627052820/http://...