ประวัติ ของ หน้าไม้กล

หน้าไม้กลยุครัฐฉู่หน้าไม้กลที่ยังไม่โค้งกลับ จะโค้งกลับเมื่อใช้ในสงครามม้วนหนังสือยุทธนาวีแสดงภาพทหารหมิงใช้หน้าไม้กลระหว่างสงครามอิมจิน (การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น)

หน้าไม้จูกัด (จูเก๋อหนู่) เป็นอาวุธขนาดกะทัดรัดที่แม้แต่บัณฑิตลัทธิขงจื๊อและหญิงในวังก็สามารถใช้ป้องกันตนได้... พลังการยิงต่ำจึงต้องอาบปลายลูกดอกด้วยยาพิษ เมื่อลูกดอกอาบปลายด้วย "ยาพิษฆ่าเสือ" ก็จะสามารถยิงไปที่ม้าหรือคนได้ และถ้ายิงแล้วได้แผล ศัตรูก็จะตายทันที ข้อด้อยของอาวุธนี้คือมีระยะยิงที่จำกัดมาก[1]

กู่จินถูชูจี๋เฉิง (古今图书集成; "รวมตำราจีนโบราณฉบับสมบูรณ์")

ตามที่บันทึกในอู๋เยฺว่ชุนชิว (吳越春秋; ประวัติศาสตร์สงครามรัฐอู๋-รัฐเยฺว่) ที่เขียนในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก หน้าไม้กลถูกประดิษฐ์ขึ้นในยุครณรัฐโดยคนตระกูลฉิน (琴氏 ฉินชื่อ) จากรัฐฉู่ เรื่องนี้ได้รับการยืนยันโดยหลักฐานทางโบราณคดีที่เก่าแก่ที่สุดของหน้าไม้กลซึ่งขุดค้นจากหลุมฝังศพรัฐฉู่ที่สุสาน 47 ที่ฉินเจียจุ่ย (秦家嘴) มณฑลหูเป่ย์ และมีอายุย้อนไปถึงศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาลในยุครณรัฐ (475 - 220 ปีก่อนคริสตกาล)[2] หน้าไม้กลที่ค้นพบนี้มีความแตกต่างจากหน้าไม้กลในสมัยหลัง โดยหน้าไม้กลโบราณที่ยิงติดต่อกันได้ 2 ดอกมีการใช้ด้ามจับและกลไกดึงไปด้านหลังสำหรับติดตั้ง หน้าไม้ของราชวงศ์หมิงใช้การกลไกการติดตั้งที่ผู้ใช้ต้องดันคันโยกด้านหลังขึ้นและลงกลับไปมา[3] แม้ว่าหน้าไม้กลแบบใช้มือถือโดยทั่วไปมีพลังการยิงน้อยและต้องใช้ยาพิษเพิ่มเติมซึ่งอาจจะเป็นสารอะโคนิทีนที่ให้พิษถึงตาย แต่ก็มีหน้าไม้กลแบบที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมากปรากฏในยุคราชวงศ์หมิง[1]

ในปี ค.ศ. 180 หยาง เสฺวียน (楊琁) ใช้หน้าไม้กลรูปแบบหนึ่งที่ขับเคลื่อนโดยการเคลื่อนที่ของล้อ:

...ราวปี ค.ศ. 180 หยาง เสฺวียนเจ้าเมืองหลิงหลิง (零陵) พยายามปราบปรามกบฏที่ก่อการอย่างหนัก โดยที่กำลังทหารของหยาง เสฺวียนไม่เพียงพอ วิธีแก้ปัญหาของหยาง เสฺวียนก็คือการบรรทุกกระสอบปูนขาวบนรถหลายสิบคันและติดตั้งหน้าไม้อัตโนมัติบนรถคันอื่น ๆ จากนั้นจึงจัดรถเป็นกระบวนรบ หยาง เสฺวียนใช้ประโยชน์จากลมในการพัดกลุ่มฝุ่นปูนขาวเข้าปกคลุมข้าศึกทำให้ข้าศึกมองไม่เห็น ก่อนที่หยาง เสฺวียนจะติดเศษผ้าที่หางม้าใช้ดึงรถไร้คนขับติดตั้งอาวุธเหล่านี้ลงไป มุ่งตรงไปยังกระบวนทัพของข้าศึกที่ถูกกลุ่มฝุ่นปกคลุมหนาแน่น หน้าไม้กลของรถเหล่านั้น (ที่ขับเคลื่อนโดยการเชื่อมโยงกับล้อ) ยิงออกไปซ้ำ ๆ ไปในทิศทางแบบสุ่ม ทำให้เกิดการบาดเจ็บล้มตายเป็นอย่างมาก ท่ามกลางความสับสนวุ่นวายอย่างหนัก พวกกบฏก็ยิงเกาทัณฑ์ตอบโต้อย่างดุเดือดเพื่อป้องกันตนเอง กลายเป็นการฆ่าฟันกันเองก่อนที่ทัพของหยาง เสฺวียนจะเข้ามาปราบปรามสังหารได้เป็นจำนวนมาก[4]

— ราล์ฟ ซอว์เยอร์ (Ralph Sawyer)

การประดิษฐ์หน้าไม้กลมักถูกยกให้เป็นผลงานของจูกัดเหลียง แต่ความเป็นจริงแล้วจูกัดเหลียงไม่ได้เป็นผู้ประดิษฐ์ ความเข้าใจผิดนี้มีพื้นฐานมาจากบันทึกที่ระบุว่าจูกัดเหลียงได้ปรับปรุงหน้าไม้กลยิงหลายดอก[5]

ในยุคราชวงศ์หมิง มีการใช้หน้าไม้กลบนเรือ[4]

แม้ว่าหน้าไม้กลจะถูกนำมาใช้ตลอดประวัติศาสตร์จีนและมีการยืนยันถึงการใช้อย่างช้าที่สุดเมื่อราชวงศ์ชิงในศตวรรษที่ 19 ในยุทธการที่รบกับชาวญี่ปุ่น แต่โดยทั่วไปหน้าไม้กลไม่ถือว่าเป็นอาวุธทางการทหารที่สำคัญ ตำราอู่เป้ย์จื้อ (武備志) ที่เขียนในศตวรรษที่ 17 ระบุว่าหน้ากลไม้เป็นที่นิยมโดยผู้คนในภาคตะวันออกเฉียงใต้ แต่ขาดอานุภาพ และลูกดอกแทบจะไม่ทำร้ายใครเลย การใช้งานหน้าไม้กลที่ระบุในตำราโดยหลักแล้วเป็นการใช้งานที่ไม่ใช่ทางการทหาร เช่น การล่าเสือ การป้องกันบ้านที่มีป้อมปราการ และใช้โดยชายและหญิงที่ขี้กลัว ในตำราเทียนกงไคอู้ (天工開物) ซึ่งเขียนในช่วงศตวรรษที่ 17 เช่นกันระบุว่าหน้าไม้กลมีประโยชน์ในการป้องกันโจรเท่านั้น[6][4]

แหล่งที่มา

WikiPedia: หน้าไม้กล http://greatmingmilitary.blogspot.com/2015/09/uniq... https://archive.org/details/courseofinstruct00bent... https://archive.org/details/bigbanghistoryof00brow https://archive.org/details/cambridgeillustr00ebre... https://archive.org/details/gunpowderalchemy00jack https://archive.org/details/historyofgreekfi00part https://archive.org/details/givingupgun00noel http://muse.jhu.edu/login?auth=0&type=summary&url=... https://www.english-heritage.org.uk/publications/d... http://www.armchairgeneral.com/confederate-boys-an...