ในวัฒนธรรม ของ หมาจิ้งจอกแดง

หมาจิ้งจอกแดง นับเป็นหมาจิ้งจอกชนิดที่มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางที่สุด และนับเป็นต้นแบบของหมาจิ้งจอกทั้งหมด[5] ดังนั้น จึงปรากฏในวัฒนธรรมและความเชื่อของชนชาติต่าง ๆ มาแต่โบราณ โดยชาวตะวันตก หมาจิ้งจอกจะเป็นสัญลักษณ์ของความเจ้าเล่ห์ และปรากฏในนิทานพื้นบ้าน และนิทานอีสปหลายเรื่อง อาทิ องุ่นเปรี้ยว, หมาหางด้วน และหมาจิ้งจอกกับสิงโต เป็นต้น สำหรับชาวเอเชียตะวันออก เช่น ชาวจีน หรือชาวญี่ปุ่น เชื่อว่า หมาจิ้งจอกแดงสามารถแปลงร่างเป็นปีศาจเพื่อหลอกลวงมนุษย์ได้ เช่น ปีศาจจิ้งจอก, ปีศาจจิ้งจอกเก้าหาง เป็นต้น[6] ขณะเดียวกันในศาสนาชินโตก็เชื่อว่า หมาจิ้งจอกแดงเป็นตัวแทนของเทพเจ้าอินะริ ที่ถูกมอบหมายให้ลงมาบนโลกมนุษย์ เพื่อดลบันดาลให้เกิดความอุมสมบูรณ์ขึ้น ที่หน้าศาลเจ้าฟุชิมิ อินะริ ที่จังหวัดเกียวโต จึงมีรูปปั้นหมาจิ้งจอกแดงประดับอยู่ เสมือนเป็นยามหรือทวารบาลรักษาทางเข้า โดยบางตัวจะคาบสิ่งที่มีลักษณะคล้ายสาสน์ อันหมายถึง เป็นตัวแทนหรือสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับเทพเจ้า หรือบางตัวคาบรวงข้าว หมายถึง การเป็นตัวแทนของความอุดมสมบูรณ์[7]

ใกล้เคียง

หมาจิ้งจอก หมาจิ้งจอกทอง หมาจิ้งจอกอาร์กติก หมาจิ้งจอกแดง หมาจิ้งจอกเฟนเนก หมาจิ้งจอกเบงกอล หมาจิ้งจอกหูค้างคาว หมาจิ้งจอกข้างลาย หมาจิ้งจอกหลังดำ หมาจิ้งจอกอินเดีย