ลักษณะและพฤติกรรม ของ หมาจิ้งจอกแดง

มีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับหมาทั่วไป แต่มีขนาดเล็กกว่า ขนตามลำตัว มีสีเทาแดงหรือสีน้ำตาลแดง บางตัวอาจมีสีน้ำตาลส้ม สีขนบริเวณปลายหูและขามีสีดำ สีขนอาจมีเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพอากาศ กล่าวคือ สีขนจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงในช่วงที่มีอากาศมีความชื้นสูง และอาจจะมีสีขนที่แตกต่างหากหลายออกไป เช่น สีเงิน, สีขาวล้วน

มีความยาวลำตัวและหัว 49–65 เซนติเมตร ความยาวหาง 20–40 เซนติเมตร มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง จึงทำให้มีชนิดย่อย มากมายถึง 45 ชนิด พบทั้งในทวีปอเมริกาเหนือ, ทวีปยุโรป, ตะวันออกกลาง, ปากีสถาน ภาคเหนือของอินเดีย, เนปาล, ภูฏาน, ภาคเหนือของพม่า, จีน, ภาคเหนือของลาวและเวียดนาม

ในออสเตรเลียราว 150 ปีก่อน ได้มีการนำเข้าหมาจิ้งจอกแดงเข้าไปในออสเตรเลีย เพื่อให้ชาวอังกฤษที่มาตั้งรกรากอยู่ที่นี่ได้มีการล่าหมาจิ้งจอกแดงเหมือนที่เคยทำมา แต่บางส่วนที่รอดชีวิตก็ได้แพร่ขยายพันธุ์จากจำนวนเพียงไม่กี่สิบตัว และกระจายไปในทุกที่ และได้ออกล่าสัตว์พื้นเมืองหลายชนิดของออสเตรเลียเป็นอาหาร เช่น สัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องขนาดเล็กจนสูญพันธุ์ไปในที่สุด ปัจจุบันคาดว่ามีประชากรหมาจิ้งจอกแดงในออสเตรเลียประมาณ 10 ล้านตัว[2]

หมาจิ้งจอกแดง สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ทำให้อาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่หลากหลายได้ ป่าสนหรือป่าเบญจพรรณ, พื้นที่แห้งแล้งแบบทะเลทราย และพื้นที่เกษตรกรรม กินอาหารได้หลากหลายประเภทตั้งแต่สิ่งมีชีวิต เช่น หนู กระต่าย, นก, แมลง หรือแม้แต่หนอนชนิดต่าง ๆ ในบางครั้งอาจกินผักและผลไม้ด้วย เช่น กะหล่ำปลี โดยจะกินอาหารมากถึงวันละ 1 กิโลกรัม[3] มักอาศัยและหากินอยู่เป็นคู่ หมาจิ้งจอกแดงที่อาศัยอยู่ในทวีปเอเชียสามารถผสมพันธุ์ได้เกือบตลอดทั้งปี ใช้เวลาตั้งท้อง 49–55 วัน โดยที่ตัวพ่อและแม่จะช่วยกันเลี้ยงดูลูกในรังช่วง 3 เดือนแรก เมื่อลูกมีอายุครบปีแล้ว ก็จะแยกตัวออกไปสร้างครอบครัวของตัวเอง และจากการศึกษานานกว่า 40 ปี ของนักวิจัยพบว่า หมาจิ้งจอกแดงสามารถส่งเสียงร้องได้หลากหลายมากถึง 40 เสียง สำหรับการสื่อสารกันเอง, การหาคู่ หรือการสื่อสารกันเฉพาะในฝูงหรือครอบครัว[4]

ชนิดย่อย

  • Vulpes vulpes abietorum Merriam, 1900
  • Vulpes vulpes alascensis Merriam, 1900
  • Vulpes vulpes alpherakyi Satunin, 1906
  • Vulpes vulpes anatolica Thomas, 1920
  • Vulpes vulpes arabica Thomas, 1902
  • Vulpes vulpes atlantica (Wagner, 1841)
  • Vulpes vulpes bangsi Merriam, 1900
  • Vulpes vulpes barbara (Shaw, 1800)
  • Vulpes vulpes beringiana (Middendorff, 1875)
  • Vulpes vulpes cascadensis Merriam, 1900
  • Vulpes vulpes caucasica Dinnik, 1914
  • Vulpes vulpes crucigera (Bechstein, 1789)
  • Vulpes vulpes daurica Ognev, 1931
  • Vulpes vulpes deletrix Bangs, 1898
  • Vulpes vulpes dolichocrania Ognev, 1926
  • Vulpes vulpes dorsalis (Gray, 1838)
  • Vulpes vulpes flavescens Gray, 1843
  • Vulpes vulpes fulvus (Desmarest, 1820)
  • Vulpes vulpes griffithi Blyth, 1854
  • Vulpes vulpes harrimani Merriam, 1900
  • Vulpes vulpes hoole Swinhoe, 1870
  • Vulpes vulpes ichnusae Miller, 1907
  • Vulpes vulpes indutus Miller, 1907
  • Vulpes vulpes jakutensis Ognev, 1923
  • Vulpes vulpes japonica Gray, 1868
  • Vulpes vulpes karagan (Erxleben, 1777)
  • Vulpes vulpes kenaiensis Merriam, 1900
  • Vulpes vulpes kurdistanica Satunin, 1906
  • Vulpes vulpes macroura Baird, 1852
  • Vulpes vulpes montana (Pearson, 1836)
  • Vulpes vulpes necator Merriam, 1900
  • Vulpes vulpes niloticus (Geoffroy Saint-Hilaire, 1803)
  • Vulpes vulpes ochroxantha Ognev, 1926
  • Vulpes vulpes palaestina Thomas, 1920
  • Vulpes vulpes peculiosa Kishida, 1924
  • Vulpes vulpes pusilla Blyth, 1854
  • Vulpes vulpes regalis Merriam, 1900
  • Vulpes vulpes rubricosa Bangs, 1898
  • Vulpes vulpes schrencki Kishida, 1924
  • Vulpes vulpes silacea Miller, 1907
  • Vulpes vulpes splendidissima Kishida, 1924
  • Vulpes vulpes stepensis Brauner, 1914
  • Vulpes vulpes tobolica Ognev, 1926
  • Vulpes vulpes tschiliensis Matschie, 1907
  • Vulpes vulpes vulpes (Linnaeus, 1758)

ใกล้เคียง

หมาจิ้งจอก หมาจิ้งจอกทอง หมาจิ้งจอกอาร์กติก หมาจิ้งจอกแดง หมาจิ้งจอกเฟนเนก หมาจิ้งจอกเบงกอล หมาจิ้งจอกหูค้างคาว หมาจิ้งจอกข้างลาย หมาจิ้งจอกหลังดำ หมาจิ้งจอกอินเดีย