การป้องกันตัวและการล่าเหยื่อ ของ หมึก_(สัตว์)

หมึกสายวงน้ำเงินใต้ (Hapalochlaena maculosa) เป็นชนิดของหมึกสายวงน้ำเงินที่พบในน่านน้ำไทย

หนวดหมึกนั้น นอกจากใช้จับเหยื่อแล้วยังใช้เพื่อข่มขู่และต่อสู้อีกด้วย เมื่อหมึกชูหนวดคู่หน้าที่ยาวกว่าหนวดอื่น หมายความว่า มันพร้อมที่จะสู้ ซึ่งหมึกโดยเฉพาะตัวผู้มักจะต่อสู้กัน เพื่อแย่งตัวเมียและปกป้องอาณาเขตหากิน สมองและการมองเห็นของหมึกนั้นวิวัฒนาการมาดีที่สุดในบรรดาสัตว์ไม่มีกระดูกสั้นหลังทั้งหมด ระบบประสาทเมื่อเทียบกับมนุษย์แล้วถือว่าดีกว่าถึง 50 เท่า

หมึกเมื่อจะล่าเหยื่อ จะเริ่มต้นด้วยการจ้องเหยื่อก่อน และกะระยะให้พอดีที่จะจู่โจมเข้าใส่ ซึ่งหมึกจะใช้หนวดที่แข็งแรงมัดรัดเหยื่อไว้ก่อนที่จะใช้ขากรรไกรที่แข็งแรงและคมเหมือนปากนกแก้ว ฉีกกัดเหยื่อ นอกจากนี้แล้วในน้ำลายของหมึกยังมีสารเคมีที่เรียกว่า Chephalotoxin ซึ่งมีเฉพาะในกลุ่มหมึกยักษ์และหมึกกระดองเท่านั้น ซึ่งส่งผลต่อระบบประสาทในสัตว์จำพวกกุ้งปูเท่านั้น เพื่อตกเป็นอาหารตามธรรมชาติของหมึก แต่ทว่าในหมึกน้ำลึกบางชนิดก็ไม่มีน้ำหมึกที่ว่านี้

นอกจากนี้แล้ว หมึกในสกุล หมึกสายวงน้ำเงิน ซึ่งเป็นหมึกในกลุ่ม หมึกยักษ์หรือหมึกสาย เป็นหมึกขนาดเล็กกว่า แต่ทว่าในน้ำลายมีพิษที่ร้ายแรงมาก เทียบเท่ากับพิษของงูเห่า 20 ตัวเลยทีเดียว[3]

โดยมากแล้ว หมึกจะใช้เวลากลางคืนออกหาอาหาร ส่วนกลางวันนั้นใช้พักผ่อนนอนหลับ หมึกทุกชนิดเป็นสัตว์กินเนื้อ โดยจะออกล่าเหยื่อที่เป็นสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร ไม่เว้นแม้แต่กระทั่งหมึกด้วยกันเอง