การปรับตัวเชิงวิวัฒนาการด้านต่างๆของปลาหมึกกระดองลายเสือ ของ หมึกกระดองลายเสือ

กระดอง (cuttlebone)

กระดองของหมึกสกุล Sepia จัดเป็นโครงสร้างของร่างกายที่มีหน้าที่สำคัญในการช่วยพยุงตัว กระดองหมึกถูกสร้างมาจากสารประกอบแคลเซียมคาร์บอเนต ภายในกระดองเต็มไปด้วยแก๊สไนโตรเจน มีหน้าที่ทำให้ปลาหมึกสามารถลอยตัวได้โดยไม่ต้องอาศัยกล้ามเนื้อ เมื่อต้องการลอยตัวของเหลวจะถูก osmosis ออกจากกระดองปริมาตรของอากาศก็ขยายออก ความหนาแน่นรวมของตัวหมึกก็จะลดลง ในทางตรงกันข้ามเมื่อต้องการจมตัวของเหลวก็จะถูกosmotic กลับเข้าในกระดองปริมาตรแก็สก็จะลดลง ปลาหมึกเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในระดับที่ไม่ลึกมากนักประมาณ 30-80 เมตรลึกที่สุดประมาณ 150 เมตร ระดับความดันประมาณ 8 -15 บรรยากาศ กระดองจะบรรจุก๊าซที่มีแรงดันเท่ากับแรงดันของน้ำทะเล ณ ระดับนั้น ในน้ำทะเลมีความดันเท่ากับ 8 บรรยากาศ กระดองทุกส่วนแม้จะมีความหนาแน่นต่างกันจะพยายามปรับสมดุลแรงดันภายในให้ใกล้เคียงกับบรรยากาศเสมอ และจะไม่เปลี่ยนแปลงสูงไปกว่าแรงดันอากาศอิ่มตัวที่ระดับความดัน 8 บรรยากาศ


แสงต่อการลอยตัว

แสงมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของปลาหมึก มีการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของของเหลวภายในตัวปลาหมึก ความหนาแน่นที่เปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของก๊าซภายในกระดอง โดยของเหลวในตัวหมึกจะมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำทะเลในตอนกลางวันปลาหมึกจึงจมตัว ในขณะที่ของเหลวภายในตัวมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำทะเลในตอนกลางคืน ปลาหมึกลอยตัวและออกมาหากินในตอนกลางคืน


ขากรรไกรหรือจะงอยปาก

บริเวณโคนแขนของหมึกประกอบไปด้วยอุ้งปาก (buccal mass), buccal menbrane และbuccal sucker ภายในอุ้งปากประกอบด้วยขากรรไกรหรือจะงอยปาก 1 คู่ มีลักษณะคล้ายจะงอยปากนกแก้ว มีกล้ามเนื้อควบคุมการทำงานที่แข็งแรงเพราะฉะนั้นจึงมีแรงกัดมาก และสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระในทุกทิศทางขณะกัดเหยื่อจะงอยปากประกอบด้วยจะงอยปากล่าง และจะงอยปากบน จะงอยปากแต่ละอันแบ่งเป็นส่วนต่าง ๆ ได้แก่ ยอดจะงอย(rostrum) สันจะงอย ( jaw angle), shoulder, ปีก (wing) และ lateral wall (ภาพที่ 6)





โตเต็มที่อาจยาวได้ถึง 42 เซนติเมตร น้ำหนัก 5 กิโลกรัม นับเป็นหมึกกระดองชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ พบทั่วไปในมหาสมุทรอินเดีย, อ่าวเปอร์เซีย, ทะเลแดง ตลอดจนอ่าวไทยและทะเลอันดามัน หากินในเวลากลางคืน โดย อาหารได้แก่ สัตว์มีเปลือกและกระดองชนิดต่าง ๆ รวมทั้งหมึกด้วยกันเองที่มีขนาดเล็กกว่า วงจรชีวิตไม่ยาวนานนัก โดยหมึกตัวเมียจะมีอายุราว 240 วัน หลังจากเติบโตเต็มที่ก็จะผสมพันธุ์และวางไข่ จากนั้นหมึกตัวเมียก็จะตายลง ในขณะที่หมึกตัวผู้จะมีอายุยาวนานกว่า การผสมพันธุ์ของหมึกกระดอง หมึกทั้งสองเพศจะว่ายนน้ำคลอเคลียกันไปมา อาจะสลับเปลี่ยนสีลำตัวไปด้วยอย่างรวดเร็ว จากนั้นจะหันหน้ามาแนบชิดกัน แล้วใช้หนวดโอบกอดสอดประสาน หมึกเพศผู้จะใช้หนวดยาวคู่พิเศษล้วงเอาถุงสเปิร์มในลำตัวสอดเข้าไปเก็บไว้ในลำตัวของหมึกเพศเมียเพื่อผสมกับไข่ หมึกกระดองจับคู่กันราว 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นหมึกเพศเมียก็เริ่มวางไข่ โดยใช้หนวดนำไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจากภายในออกมา ค่อย ๆ บรรจงยื่นไปวางติดกับวัสดุใต้นเประเภทต่าง ๆ เช่น หินหรือปะการังหรือกัลปังหา จำนวนไข่ที่วางครั้งหนึ่งอาจมีมากถึง 900-2,700 ฟอง ซึ่งหมึกเพศเมียต้องใช้เวลายาวนานหลายวัน ในขณะที่หมึกเพศผู้ก็จะว่ายคลอเคลียไม่จากไปไหน เพื่อคอยป้องกันภัยและป้องกันหมึกกระดองเพศผู้ตัวอื่นด้วยที่อาจมาชิงผสมพันธุ์กับเพศเมียตัดหน้า

เมื่อวางไข่เสร็จแล้ว หมึกเพศเมียจะวนเวียนเฝ้าไข่อยู่แถวนั้น จนร่างกายอ่อนเพลียเรี่ยวแรงลดน้อยถอยลงไปทีละน้อย ๆ น้ำหนักตัวจะค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงแก่ความตายในที่สุด[1] ไข่หมึกกระดองใช้เวลาฟักประมาณ 14 วัน ในอุณหภูมิน้ำราว 28-30 องศาเซลเซียส ลูกหมึกที่เกิดใหม่จะมีความยาวประมาณ 0.6-0.7 เซนติเมตร โดยที่รูปร่างเหมือนตัวเต็มวัยทุกประการ และมีอัตราการเจริญเติบโตไวมาก

หมึกกระดองลายเสือเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง นิยมนำมาปรุงสด เป็นอาหารได้หลากหลายประเภท นิยมนำมาทำปิ้งและปรุงด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น ผัด หรือยำ[2]

ใกล้เคียง