ลักษณะทางชีววิทยา ของ หมึกกระดองลายเสือ

หมึกประกอบด้วยส่วนหัวและลำตัว ส่วนหัวประกอบด้วยแขน, หนวดจับ, ปาก,ขากรรไกร และตา ลำตัวเป็นส่วนที่ติดอยู่กับหัว สองข้างของลำตัวมักมีครีบ (fin) มีท่อขับน้ำ(funnel) อยู่ทางด้านท้อง เปลือก (shell) อยู่ใต้เนื้อเยื่อคลุมตัว (mantle) ตามเนื้อเยื่อคลุมตัวมีเซลล์เรืองแสง (photophore) และจุดสี (chromatophore) กับมีถุงหมึก (ink sac) ไว้ทำหน้าที่ป้องกันตัว


หนวด (arm)

มีจำนวน 4 คู่ ความยาวแต่ละคู่ของหนวดไม่เท่ากัน มีความสำคัญในการอนุกรมวิธาน คือจาก 1 ไป 4 คู่แรกเรียก dorsal pair คู่ที่2 dorsolateral pair คู่ที่ 3 ventrolateral และคู่ที่ 4 ventral pair ในตัวผู้มีแขนที่เปลี่ยนไปเป็นอวัยวะช่วยในการสืบพันธุ์ซึ่งใช้ส่งสเปิร์มไปยังตัวเมียเรียกว่า hectocotylized arm บนแขนมีปุ่มดูดจะประกอบด้วย chitinous ring (ไม่มีในหมึกสาย)


หนวดจับ (tentacle)

ใน Order Sepiida, Order Teuthida และ Order Spirulida มี2 เส้น มีความยาวกว่าระยางค์คู่อื่น ใช้สำหรับจับอาหาร หรือช่วยในการจับเหยื่อ ในปลาหมึกบางชนิดเช่น พวก Nautilus ไม่มีหนวดจับแต่มีส่วนพิเศษที่เรียกว่า cirri และบน cirri ไม่มี sucker แต่มีสันเวียนตามแนวยาวที่ทำหน้าที่เป็น suckerส่วนในหมึกสายมีแขนเพียง 4 คู่รอบปาก ไม่มีหนวดจับ


ปาก (mouth)

ปากของหมึกจะมี buccal membrane อยู่รอบ หมึกกระดองเพศผู้ในวัยเจริญพันธุ์เมื่อผสมพันธุ์แล้วพบที่เก็บสเปิร์ม (seminal receptacle) ที่ buccal membrane


ขากรรไกร (mandible)

หรือจะงอยปาก (beak) ประกอบด้วยจะงอยปากล่าง(lower beak) และจะงอยปากบน (upper beak) ส่วน radula อยู่ภายในเยื่อหุ้ม buccalmembrane พวกหมึกสายที่อยู่หน้าดิน หมึกกระดอง และหมึกกล้วยบางชนิดมีต่อมพิษด้วย ในหมึกกระดอง หมึกสายมีสาร cephalotoxin เป็นพิษต่อพวก crustacean แต่ไม่มีอันตรายต่อคนในหมึกสายชนิด Hapalochlaena maculosa มีสารพิษ maculotoxin และ hepalotoxin ซึ่งมีพิษต่อคนโดยเฉพาะในตัวเมียที่กำลังอุ้มไข่พิษอาจรุนแรงทำให้ถึงตายได้ หมึกจัดเป็นสัตว์กินเนื้อในการกินอาหารใช้ขากรรไกรงับเหยื่อและใช้แผงฟันขูดเป็นชิ้นเล็กๆ


ครีบ (fin)

ครีบเป็นกล้ามเนื้อ เป็นอวัยวะที่ช่วยในการขับเคลื่อน (propulsiveorgan) ครีบจะโบกเมื่อต้องการว่ายน้ำช้า และจะกดแนบลำตัวเมื่อต้องการว่ายน้ำเร็ว


ท่อขับน้ำ (funnel)

ท่อขับน้ำอยู่ทางด้านท้องระหว่างหัวและลำตัว ทำหน้าที่ขับน้ำออกจากลำตัวระหว่างการหายใจ ปล่อยน้ำหมึก ปล่อยไข่ ปล่อยสารที่สร้างหุ้มไข่ ขับของเสีย(urine) และขับน้ำเวลาพุ่งตัวหรือเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว (jet swimming)


การกินอาหาร

หมึกชนิดนี้จะออกหากินในเวลากลางคืน กินสาหร่าย กุ้ง ลูกปู หอย ปลา และหมึกทะเลด้วยกันเอง


การผสมพันธุ์

หมึกทั้งสองเพศจะว่ายนน้ำคลอเคลียกันไปมา อาจะสลับเปลี่ยนสีลำตัวไปด้วยอย่างรวดเร็ว จากนั้นจะหันหน้ามาแนบชิดกันแล้วใช้หนวดโอบกอดสอดประสานหมึกกระดองเพศผู้จะใช้หนวดยาวคู่พิเศษล้วงเอาถุงสเปิร์มในลำตัวสอดเข้าไป เก็บไว้ในลำตัวของหมึกเพศเมียเพื่อผสมกับไข่ หมึกกระดองจับคู่กันราว 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นหมึกเพศเมียก็เริ่มวางไข่ โดยใช้หนวดนำไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจากภายในออกมาค่อยๆบรรจงยื่นไปวางติดกับวัสดุใต้นเประเภทต่างๆ เช่น หินหรือปะการังหรือกัลปังหา จำนวนไข่ที่วางครั้งหนึ่งอาจมีมากถึง 900-2,700 ฟอง ซึ่งหมึกเพศเมียต้องใช้เวลายาวนานหลายวัน ในขณะที่หมึกเพศผู้ก็จะว่ายคลอเคลียไม่จากไปไหนเพื่อคอยป้องกันภัยและป้องกันหมึกกระดองเพศผู้ตัวอื่นด้วยที่อาจมาชิงผสมพันธุ์กับเพศเมียตัดหน้าเมื่อวางไข่เสร็จแล้ว หมึกเพศเมียจะวนเวียนเฝ้าไข่อยู่แถวนั้น จนร่างกายอ่อนเพลียเรี่ยวแรงลดน้อยถอยลงไปทีละน้อยๆ น้ำหนักตัวจะค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงแก่ความตายในที่สุด


การแพร่กระจาย

ตามชายฝั่งที่ระดับน้ำลึกตั้งแต่ 10-110 เมตร ในอ่าวไทยจับได้มากที่สุดที่จังหวัดชลบุรี ระยอง และประจวบคีรีขันธ์ และฝั่งทะเลอันดามัน



ใกล้เคียง