หมึกสายมหัศจรรย์
หมึกสายมหัศจรรย์

หมึกสายมหัศจรรย์

หมึกสายมหัศจรรย์ (อังกฤษ: Wonderpus octopus; ชื่อวิทยาศาสตร์: Wunderpus photogenicus /วาน-เดอร์-ปุส, โฟ-โต-จี-นิ-คัส/[1]) เป็นหมึกสายชนิดหนึ่ง เป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Wunderpusหมึกสายมหัศจรรย์ มีความยาวโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร (2 ฟุต) มีลำตัวเป็นสีขาวสลับลายปล้องสีน้ำตาลตลอดทั้งตัว กระจายพันธุ์อยู่ทางทะเลแถบช่องแคบแลมเบห์ ทางตอนเหนือของเกาะซูลาเวซี ในอินโดนีเซีย และยังพบได้ที่บาหลี จนถึงฟิลิปปินส์ และทางตะวันออกของวานูอาตู ได้ชื่อว่าเป็นหมึกสายมหัศจรรย์ตรงที่สามารถเปลี่ยนสีและลวดลายตัวเองได้อย่างเร็วมาก ทั้งนี้เพราะเซลล์ใต้ผิวหนังโครมาโตฟอร์ที่ยืดหดตัวอย่างรวดเร็ว[2][2][3][4]หมึกสายมหัศจจรย์ เป็นหมึกที่มีน้ำลายที่เป็นพิษ[1] ออกหากินในเวลากลางคืน ปกติจะคืบคลานไปตามพื้นทรายใต้ทะเล เมื่อเข้าใกล้เหยื่อจะแผ่พังผืดระหว่างหนวดทั้ง 8 เส้นออกเพื่อให้ตัวแลดูใหญ่ขึ้น และตะครุบเหยื่อก่อนจะกัดกินด้วยจะงอยปากที่แหลมคมใต้ส่วนหัวโดยที่หมึกสายมหัศจรรย์ ถูกเลียนแบบโดยหมึกพรางตัว ซึ่งเป็นหมึกสายอีกชนิดหนึ่งที่พบในทะเลแถบเดียวกัน ซึ่งทั้ง 2 ชนิดนี้มีลักษณะภายนอกที่คล้ายคลึงกันมาก แต่จะแตกต่างกันที่หมึกสายมหัศจรรย์จะมีสีที่อ่อนกว่า แต่มีลวดลายตามลำตัวมากกว่า[1]