พระประวัติ ของ หม่อมเจ้าอมรทัต_กฤดากร

หม่อมเจ้าอมรทัต กฤดากร หรือที่ชาววังขานพระนามว่า ท่านชายตาป่อง ประสูติเมื่อ 29 เมษายน พ.ศ. 2429 ในช่วงที่พระบิดาดำรงตำแหน่งอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำพระราชวังเซนต์เจมส์ โดยเริ่มศึกษาที่โรงเรียนแฮร์โรว์ ประเทศอังกฤษ เมื่อกลับประเทศไทยได้เข้าเป็นนายทหารเหล่าปืนใหญ่ ดำราชตำแหน่งราชองครักษ์ ปลัดกรมเสนาธิการทหารบก และรับราชการในต่างประเทศทั้งยุโรปและอเมริกา

หม่อมเจ้าอมรทัต กฤดากร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งอัครราชทูตพิเศษประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หม่อมเจ้าอมรทัต ได้เป็นคณะทูตทหารในคณะผู้แทนรัฐบาลไทยในการประชุมสันติภาพ ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์ จึงได้แต่งตั้งเป็นสมุหราชองครักษ์ ในปี พ.ศ. 2469[1] และด้วยความสนิทสนมกับราชสำนักยุโรป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สนองพระเดชพระคุณด้านวางระเบียบราชการในพระราชสำนัก โดยเฉพาะในส่วนที่ติดต่อประสานงานกับต่างประเทศ และแบบแผนในการรับรองคณะทูตานุทูต

เมื่อปี พ.ศ. 2471 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เป็นอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. แล้วย้ายมากรุงปารีส ดำรงตำแหน่งอัครราชทูตพิเศษผู้มีอำนาจเต็มประจำประเทศฝรั่งเศส เบลเยี่ยม เนเดรลันดส์ อิตาลี สเปน และเปอร์ตุเกส และเป็นอัครราชทูตพิเศษผู้มีอำนาจเต็มประจำประเทศสวิตเซอร์แลนด์[2] ในเวลาต่อมา จนเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงได้ถูกปลดออกจากราชการ[3]

หม่อมเจ้าอมรทัต ทรงมีบุตรและธิดา 4 คน เกิดจากหม่อมพร้อยสุพิณและหม่อมอู๊ด ได้แก่

  1. หม่อมราชวงศ์หญิงไพเราะ กฤดากร
  2. หม่อมราชวงศ์หญิงเพลินจิตร์ กฤดากร
  3. หม่อมราชวงศ์พงศ์อมร กฤดากร
  4. หม่อมราชวงศ์หญิงสุทัศนีย์ กฤดากร

พลโทหม่อมเจ้าอมรทัต กฤดากร ประชวรด้วยโรคหืดและพระหทัยพิการ สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 สิริพระชันษาได้ 66 ปี

ใกล้เคียง

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช หม่อมเป็ดสวรรค์ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์ หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล