ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของ หม้อแกงลิง

หม้อผุดของN. ampullaria

เพราะมันมีหม้อที่เป็นเอกลักษณ์และเติบโตไม่เหมือนใคร ทำให้ยากที่จะจำ N. ampullaria สับสนกับหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่นในสกุล เอฟ.อี. ลอยด์ (F. E. Lloyd) แปลบัญชีของทรอลล์ (Troll) ปี ค.ศ. 1932 เกี่ยวกับพืชชนิดนี้ไว้ดังนี้:[7]

ฉันพบ N. ampullaria ท่ามกลางพืชหนองน้ำชนิดอื่นๆโดยบังเอิญบนเกาะซิเบรุต (Siberut) ทางชายฝั่งตะวันตกของสุมาตรา มันมีอยู่มากมายในทุกๆที่ ทำให้ฉันไม่อาจละสายตาไปได้ ตลอดเถาไม้มีหม้อของมันตลอดเถา เป็นกระจุกหนาแน่น ช่างน่าทึ่งนัก แม้แต่บนพื้นที่ปกคลุมไปด้วยมอสส์ก็ยังมีหม้อของมันผุดออกมา ช่างเป็นเหมือนพรมที่น่าประทับใจไม่รู้ลืม

N. ampullaria เป็นไม้เลื้อย ลำต้นสีน้ำตาลอ่อนอาจสูงได้ถึง 15 ม. มีขนนุ่มสีน้ำตาลตามลำต้นและใบ เมื่อยังเล็กจะมีอยู่หนาแน่นและจะน้อยลงเมื่อโตขึ้น ใบเดี่ยวเป็นรูปรี สีเขียวยาว 25 ซม.กว้าง 6 ซม. เรียงตัวเป็นเกลียว ขอบใบเรียบ สายดิ่งยาวไม่เกิน 15 ซม.[5] ช่อดอกเป็นแบบช่อแยกแขนงหนาแน่น ออกดอกช่วงเดือนตุลาคมถึงมกราคม ผล/ฝักเป็นวงรีหรือคล้ายแคบซูลและแตกเมื่อแก่ มันเป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงเพียงชนิดเดียวจากสุมาตราหรือเพนนิซูล่า มาเลเซียที่มีช่อดอกแบบช่อแยกแขนง[6] N. ampullaria เป็นหนึ่งในไม่กี่ชนิดที่มีหม้อผุด โดยหม้อผุดจะเกิดขึ้นบริเวณโคนต้นหรือไหล หม้อผุดจะไม่มีใบให้สังเกตเป็นได้ชัดหรือใบมีขนาดเล็กมาก หม้อมีลักษณะกลมมีฝาขนาดเล็ก มีขนาดสูง 7 เซนติเมตรขึ้นไป หม้อมีสีแดงหรือเขียวสีเดียวทั้งหม้อหรืออาจมีกระที่หม้อตั้งแต่หนึ่งสีขึ้นไป หม้อของ N. ampullaria จากสุมาตราและเพนนิซูล่า มาเลเซียส่วนมากมีสีเขียวหรือเขียวกระแดง ส่วนสีแดงพบในแถบบอร์เนียว หม้อขนาดใหญ่พบจากนิวกินี[5][6]