เหยื่อ ของ หม้อแกงลิง

N. ampullaria มีการดัดแปลงที่เหมาะสมในการจับเศษใบไม้

N. ampullaria มันห่างไกลจากคำว่าพืชกินสัตว์มากและสารอาหารไนโตรเจนส่วนมากได้มาจากการย่อยเศษใบไม้ที่ตกลงบนพื้นป่า ด้วยเหตุนี้มันเป็นพืชกินซากอินทรีย์

หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้มีการพัฒนาลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เป็นผลมาจากการดัดแปลงในการดักจับเศษใบไม้:

  • มันเป็นเพียงชนิดเดียวในสกุลที่ไม่มีเซลล์"รูปจันทร์เสี้ยว"ในหม้อซึ่งพัฒนามาจากเซลล์คุมปากใบ[8]
  • ฝาหม้อผิดแบบ เล็กมากและโค้งพับลง จนกระทั่งเศษใบไม้แห้งตกลงในหม้อได้[6]
  • ต่อมน้ำต้อยที่มีหน้าที่สำคัญในการล่อเหยื่อมีน้อยมาก บางครั้งไม่พบในฝาหม้อเลย[6]
  • ต่อมขอบของเพอริสโตมลดรูปลงมากเมื่อเทียบกับชนิดอื่น[6]
  • ในหม้อล่าง บริเวณที่มีต่อมแผ่ไปจนเกือบถึงเพอริสโตม จนกระทั่งมีบริเวณคล้ายขี้ผึ้งน้อยมากหรือไม่มีเลย[9][10][5] ซึ่งหน้าที่ของบริเวณคล้ายขี้ผึ้งนี้ทำหน้าที่ให้เหยื่อลื่นและตกลงไปในน้ำย่อย[6]
  • สถาปัตยกรรมของพืชประกอบด้วยไหลใต้ดินและตะเกียงซึ่งเป็นเรื่องไม่ปกติในสกุล บ่อยครั้งจะพบหม้อจะปกคลุมไปทั่วพื้นดิน ซึ่งจะเป็นการช่วยขยายพื้นที่ในการดักจับใบไม้[6]
  • หม้อของ N. ampullaria ค่อนข้างจะมีอายุยาวตามการสะสมอย่างช้าๆของสารอาหารที่ใช้เวลามาก[6]
  • คาดว่าผู้อิงอาศัยอย่างลูกน้ำ จะช่วยย่อยสลายเศษใบไม้ได้ง่ายขึ้นและแปลงเป็นไนโตรเจนให้กับพืชโดยวิธีของการขับถ่ายของแอมโมเนียไอออน เมื่อแบคทีเรียย่อยเศษใบไม้จะสร้างแอมโมเนียไอออนออกมา[6]

มันแสดงว่าไอโซโทปเสถียรของไนโตรเจนจากใบไม้ (15N) ใน N. ampullaria ที่เติบใตภายใต้ต้นไม้ในป่า (มีเศษใบไม้กิ่งไม้บนพื้น) มีน้อยกว่าต้นไม้ที่ไม่ได้รับเศษใบไม้ กลับกันความเข้มข้นไนโตรเจนรวมกลับมีมากกว่าต้นไม้ที่โตในที่โล่งไม่ได้รับเศษใบไม้ มีการประมาณว่า N. ampullaria ที่โตในป่า 35.7% (±0.1%) ของสารอาหารไนโตรเจนได้มาจากเศษใบไม้เหล่านั้น[11]