ออกธุดงค์เพื่อศึกษาหาความรู้ ของ หลวงพ่อคง_ธมฺมโชโต

เมื่ออุปสมบทแล้วท่านได้ศึกษาคำภีร์มูลกัจจายซึ่งเป็นตำราเรียนบาลีไวยากรณ์ในสมัยโบราณ มีความลึกซึ้งมากเต็มไปด้วยสูตรสนธิต่าง ๆ หลวงพ่อคงท่านศึกษาพระคำภีร์นี้กับพระอาจารย์นกซึ่งเป็นอุบาสกในละแวกนั้นเป็นเวลา 13 ปี จนมีความคล่องแคล่วสามารถแปลธรรมบทตลอดจนคำภีร์ต่าง ๆได้ นอกจากนี้หลวงพ่อคงท่านยังสนใจการศึกษาพระเวทย์วิทยาคม โดยท่านได้ศึกษากับปรมจารย์ชื่อดัง เริ่มแรกท่านได้ศึกษาคำภีร์นี้กับพระอาจารย์ด้วง ซึ่งท่านเชี่ยวชาญการลบผงวิเศษ เป็นที่นับถือในสมัยนั้น ท่านได้เล่าเรียนกับหลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง ในยุคนั้นไม่มีใครรู้จักหลวงพ่อตาด เพราะท่านเป็นพระเถระผู้ที่มีวิทยาคมอันแก่กล้าโดยเฉพาะวิชานะปัดตลอดของท่านนับว่าเป็นยอด ขนาดที่ว่าสามารถเป่าศีรษะทะลุถึงกระดานนั่งได้ วิชานี้ หลวงพ่อทองสุข ก็ได้ไปรำเรียนมา หลวงพ่อคง ยังได้ไปศึกษากับหลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือกผู้เชี่ยวชาญในพระกัมฐาน ท่านนั่งสมาธิยามมรณภาพ พระสมัยก่อนเวลาใครจะออกรุกขมูลต้องไปขอให้หลวงพ่อคุมให้

ในพรรษาที่ 19 ท่านอาพาธจึงได่หยุดพักผ่อนไปศึกษาเล่าเรียน แต่ท่านหันมาสอนสมถะกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากรรมฐานให้กับลูกศิษย์ลูกหาเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ หลวงพ่อคง ท่านยังเอาใจใส่การดูแลก่อสร้างเสนาสนะ เนื่องจากหลวงพพ่อมีฝีมือในเชิงช่าง ในเบื้องต้นของหลวงพ่อได้ซ่อมแซมพอไตรที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรมให้มีสภาพที่ดีขึ้น พร้อมกับนั้น ท่านได้สร้างปั้นพระป่าเลไลย์ด้วยฝีมือของท่านเองในพรรษาที่ 21 ชาวบ้านได้อาราธนาหลวงพ่อคง ให้ไปรักษาการเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม ซึ่งในขณะนั้นในวัดบางกะพ้อมไม่มีวัดปกครองและวัดก็อยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรม หลวงพ่อท่านตกลงรับคำอาราธนา [3]

ใกล้เคียง

หลวงพระบาง หลวงพ่อเงิน พุทฺธโชติ หลวงพ่อเกษม เขมโก หลวงพี่เท่ง หลวงพี่เท่ง 3 หลวงพ่อไปล่ ฉนฺทสโร หลวงพ่อศิลา หลวงพ่อโต (บางพลี) หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต หลวงพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก โรจนกุล)