หลอดเลือดแดงอักเสบแบบไจแอนต์เซลล์
หลอดเลือดแดงอักเสบแบบไจแอนต์เซลล์

หลอดเลือดแดงอักเสบแบบไจแอนต์เซลล์

หลอดเลือดแดงอักเสบแบบไจแอนต์ เซลล์ (อังกฤษ: Giant Cell Arteritis; GCA) หรือ หลอดเลือดแดงขมับอักเสบ (อังกฤษ: temporal arteritis) เป็นโรคภูมิต้านทานตนเองที่ก่อการอักเสบที่หลอดเลือดขนาดใหญ่[4][7] อาการอาจประกอบด้วยปวดศีรษะ, ปวดขมับ, อาการไข้, เห้นภาพซ้อน และเปิดปากลำบาก[3] อาการแทรกซ้อนอาจเกิดการอุดตันของเส้นเลือดแดงดวงตาส่งผลให้เกิดความพิการทางการมองเห็น, การขาดระหว่างชั้นของหลอดเลือดเดืองใหญ่ และ หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง[4] GCA มักมีความเกี่ยวพันกับการเกิดปวดกล้ามเนื้อทั่วแบบรูมาตอยด์[4]สาเหตุเกิดโรคยังคงไม่ทราบชัดเจน[2] กลไกเกิดโรคประกอบด้วยการอักเสบของวาซาวอซอรัมในผนังของหลอดเลือดแดงที่มีขนาดใหญ่[4] ส่วนใหญ่เกิดที่หลอดเลือดแดงบริเวณศีรษะและคอ และมีบ้างพบที่หน้าอก[4][8] การตรวจวินิจฉัยดูที่อาการแสดง, การตรวจเลือด และฉายภาพ ตรวจยืนยันโดยใช้การตรวจเนื้อเยื้อของหลอดเลือดแดงเทมโปรัล[4] อย่างไรก็ตาม ราว 10% of ไม่พบคามผิดปกติในหลอดเลือดแดงเทมโปรัล[4]การรักษาโดยทั่วไปใช้ สเตรอยด์ในระดับสูง ส่วนใหญ่ใช้ prednisone หรือ prednisolone[4] หลังอาการหายจึงลดโดสลงเหลือราว 15% ต่อเดือน[4]พบความชุกของโรคอยู่ที่ 1 ใน 15,000 คนที่อายุมากกว่า 50 ปี[2] โดยทั่วไปมักพบผู้ป่วยโรคนี้มีอายุมากกว่าf 50 ปี และพบมากที่สุดในวัยช่วง 70 ปี[4] โดยพบโรคในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย[4] และผู้มีเชื้อสายยุโรปเหนือมักพบป่วยมากกว่า[5] พบการอธิบายโรคนี้ครั้งแรกในปี 1890[1]

หลอดเลือดแดงอักเสบแบบไจแอนต์เซลล์

อาการ ปวดศีรษะ, ปวดขมับ, อาการไข้, เห็นภาพซ้อน, เปิดปากลำบาก[3]
สาขาวิชา วิทยารูมาตอยด์, เวชศาสตร์ฉุกเฉิน
ภาวะแทรกซ้อน ตาบอด, เส้นเลือดแดงใหญ่แบ่งชั้น, เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง, polymyalgia rheumatica[4]
การรักษา สเตรอยด์, ไบสฟอสฟอเนต, ตัวยับยั้งโปรตอนปั๊มป์[4]
การตั้งต้น อายุ > 50[4]
ชื่ออื่น Temporal arteritis, cranial arteritis,[1] Horton disease,[2] senile arteritis,[1] granulomatous arteritis[1]
ความชุก ~ 1 ใน 15,000 คน ต่อปี (อายุ > 50)[2]
สาเหตุ การอักเสบยองวาซาวอซอรัมในผนังของหลอดเลือดแดง[4]
โรคอื่นที่คล้ายกัน หลอดเลือดแดงอักเสบทาคายาซุ,[5] หลอดเลือดสมองแตก, อะมิลอยโดซิสปฐมภูมิ[6]
วิธีวินิจฉัย ตามอาการและผลเลือด, ตรวจเนื้อเยื่อ[4]

ใกล้เคียง

หลอดเลือด หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดแดงอักเสบทากายาสุ หลอดเลือดดำ หลอดเลือดแดงท้อง หลอดเลือดฝอย หลอดเลือดแดงอักเสบแบบไจแอนต์เซลล์ หลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์ซีรีบรัล หลอดเลือดแดง หลอดเลือดแดงแขน

แหล่งที่มา

WikiPedia: หลอดเลือดแดงอักเสบแบบไจแอนต์เซลล์ http://www.diseasesdatabase.com/ddb12938.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=446.... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23045170 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/24988557 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/31970405 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4277693 http://snomed.info/id/414341000 http://apps.who.int/classifications/icd10/browse/2... http://apps.who.int/classifications/icd10/browse/2... http://www.orpha.net/consor/cgi-bin/OC_Exp.php?Lng...