มุมมองทางปรัชญาและวิทยาศาสตร์ ของ หลักฐานทางวิทยาศาสตร์

กลุ่มนักปรัชญาได้ตรวจสอบเกณฑ์ทางตรรกะที่จำเป็นต่อการเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยตรวจความสัมพันธ์ระหว่างหลักฐานกับสมมติฐาน เทียบกับวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่พุ่งความสนใจไปที่ความจริงและบริบทของความจริงนั้น[7]ยกตัวอย่างเช่น วิธีทางวิทยาศาสตร์จะให้องค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ความชัดเจนของข้อมูล การทำซ้ำได้โดยผู้อื่น การได้ผลที่เสมอกันโดยวิธีการอื่น และความคล้องจองกับทฤษฎีที่เป็นประเด็น โดยใช้เป็นตัวพิจารณาว่า สังเกตการณ์นั้นจัดเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์หรือไม่[8]

แต่มีวิธีการทางปรัชญาหลายอย่างเพื่อกำหนดว่าสังเกตการณ์นั้นจัดว่าเป็นหลักฐานได้หรือไม่และหลายอย่างพุ่งความสนใจไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างหลักฐานกับสมมติฐานนักปรัชญาผู้หนึ่งเสนอให้แยกแยะวิธีการเหล่านี้ออกเป็น 3 ประเภท คือ

  • เชิงจัดหมวดหมู่ (classificatory) คือ หลักฐานยืนยันสมมติฐานหนึ่ง ๆ หรือไม่
  • เชิงเปรียบเทียบ (comparative) คือหลักฐานสนับสนุนสมมติฐานที่ 1 ดีกว่าสมมติฐานอีกอย่างหนึ่งหรือไม่
  • เชิงปริมาณ (quantitative) คือระดับที่หลักฐานสนับสนุนสมมติฐานหนึ่ง ๆ[9]

โดยมีมูลฐานที่ Strong Church-Turing Universe Thesis ได้มีการเสนอเกณฑ์ทางคณิตเพื่อตัดสินว่าอะไรเป็นหลักฐาน ซึ่งโดยสรุปแล้ว เกณฑ์มีกฎคล้ายกับมีดโกนอ็อกคัมคือว่า คำอธิบายเกี่ยวกับหลักฐานที่ครอบคลุมแต่ง่ายที่สุดมีโอกาสสูงสุดที่จะถูกต้อง[10]

ใกล้เคียง

หลักฐานโดยเรื่องเล่า หลักฐานเชิงประสบการณ์ หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ หลักสูตร หลักระวังไว้ก่อน หลักการใช้กำลัง หลักสูตรออกแบบตกแต่งภายในในประเทศไทย หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงของราชบัณฑิตยสถาน หลักการอิสลาม หลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานและสำนักงานราชบัณฑิตยสภา