การวิพากษ์วิจารณ์ ของ หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงของราชบัณฑิตยสถาน

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง พ.ศ. 2542 ไม่ครอบคลุมลักษณะบางประการของระบบเสียงภาษาไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีข้อบกพร่องดังต่อไปนี้

  • ไม่แสดงเสียงวรรณยุกต์
  • ไม่จำแนกความต่างระหว่างสระเสียงสั้นกับสระเสียงยาว
  • สัญลักษณ์ ⟨ch⟩ ไม่จำแนกความต่างระหว่างเสียงพยัญชนะ /t͡ɕ/ กับเสียงพยัญชนะ /t͡ɕʰ/ (ดูตารางด้านล่าง) หลักเกณฑ์นี้ควรใช้ ⟨c⟩ แทน /t͡ɕ/ เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้สัญลักษณ์แทนเสียงพยัญชนะไม่พ่นลมเสียงอื่น ๆ แต่ผู้จัดทำหลักเกณฑ์ให้เหตุผลว่า หากใช้ ⟨c⟩ อาจทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดว่า ⟨c⟩ ออกเสียงเป็น [kʰ] หรือ [s] อย่างในภาษาอังกฤษ[3]
  • สัญลักษณ์ ⟨o⟩ ไม่จำแนกความต่างระหว่างเสียงสระ /ɔ/ กับเสียงสระ /o/ (ดูตารางด้านล่าง)
 หน่วยเสียง 1หน่วยเสียง 2
อักษรโรมันอักษรไทยสัทอักษรสากลคำบรรยายตัวอย่างอักษรไทยสัทอักษรสากลคำบรรยายตัวอย่าง
chจ, จรt͡ɕพยัญชนะกักเสียดแทรก
เพดานแข็งปุ่มเหงือก
ไม่ก้อง
ไม่พ่นลม
าม = cham
จริง = ching
จันทร์ = chan
ฉ, ช, ฌt͡ɕʰพยัญชนะกักเสียดแทรก
เพดานแข็งปุ่มเหงือก
ไม่ก้อง พ่นลม
าม = cham
ฉิ่ง = ching
าน = chan
oโ–ะ, –oสระหลัง กึ่งปิด
ปากห่อ เสียงสั้น
จน = chon
ชล = chon
เ–าะ, –อ, –็อɔสระหลัง กึ่งเปิด
ปากห่อ เสียงสั้น
จ้น = chon
ช่น = chon
โ–สระหลัง กึ่งปิด
ปากห่อ เสียงยาว
จร = chon
ชน = chon
–อ, –ɔːสระหลัง กึ่งเปิด
ปากห่อ เสียงยาว
จร = chon
ช้น = chon

ใกล้เคียง