หอส่งสัญญาณโทรทัศน์เคียฟ
หอส่งสัญญาณโทรทัศน์เคียฟ

หอส่งสัญญาณโทรทัศน์เคียฟ

หอส่งสัญญาณโทรทัศน์เคียฟ (ยูเครน: Ки́ївська телеве́жа) หรือ หอส่งสัญญาณโทรทัศน์ (Телевізі́йна ве́жа) เป็นหอส่งสัญญาณโทรทัศน์ทรงแลตทิซ ความสูง 385 เมตร (1,263 ฟุต)[1] ในเคียฟ ประเทศยูเครน และเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในประเทศ[2] หอคอยใช้เพื่อการส่งสัญญาณวิทยุและโทรทัศน์ และไม่เปิดให้สาธารณชนเข้าเยี่ยมชมหรือขึ้นหอคอย[1] หอคอยเคยเป็นหอคอยเหล็กเดี่ยวที่สูงที่สุดในโลก[1][2] จนกระทั่งในปี 2012 ถูกทำลายสถิติโดยโตเกียวสกายทรีในประเทศญี่ปุ่นหอคอยเริ่มก่อสร้างในปี 1968[3] แล้วเสร็จในปี 1973[2] มูลค่าก่อสร้าง 12 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ หอคอยมีความพิเศษโดดเด่นที่โครงสร้างของหอไม่ใช้ตัวยึดเชิงกล (mechanical fastener) เช่นหมุดย้ำ (rivet) แต่ทุกมุม ท่อ และโครงสร้างของหอนั้นยึดเข้าด้วยกันด้วยการเชื่อมโลหะทั้งหมด หอคอยนี้ถือเป็นหอคอยแรกในโลกที่โครงสร้างสร้างขึ้นโดยใช้การเชื่อมโลหะเข้ากันทั้งหมด[2]แรกเริ่ม หอคอยนี้ออกแบบมาเพื่อสร้างในมอสโกซึ่งในเวลานั้นเป็นเมืองหลวงของสหภาพโซเวียต แต่ทางการมอสโกขอหอคอยที่ดูทึบตันกว่านี้ และหอคอยดังที่ทางการร้องขอก็ได้สร้างขึ้นในที่สุด ซึ่งก็คือหอคอยออสตันคีโน ต่อมาเมื่อเคียฟต้องการมีหอส่งสัญญาณของตนเองจึงมีการพิจารณาโครงการหอคอยนี้ใหม่อีกครั้ง ทางการโซเวียตมีคำสั่งให้ลดความสูงของหอคอยใหม่ในเคียฟนี้ลง 30% เพื่อที่จะได้ไม่สูงเท่าหอคอยในมอสโก[4][5] หอคอยสร้างขึ้นบนพื้นที่ที่อดีตคือสุสานชาวยิวในลูเกียนิวกาหลังสุสานปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี 1966 และได้มีการจัดแจงให้ญาติมาจัดการย้ายศพในสุสานไปฝังที่สุสานอื่น แต่ศพจำนวนมากไม่ได้ถูกย้ายออกเนื่องจากมีชาวยิวในเคียฟจำนวนมากที่เสียชีวิตไปในการสังหารหมู่ที่บาบึนยาร์ สำหรับศพที่ไม่ได้ย้ายออก ได้ใช้การทุบป้ายหลุมศพออกแทน[6][7][8][9]ในวันที่ 1 มีนาคม 2022 หอคอยถูกโจมตีด้วยขีปนาวุธจากกองทัพรัสเซียซึ่งพยายามเข้ารุกเคียฟระหว่างการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจากการโจมตีหอคอยห้าราย[10] อันตอน แฮรัชแชนกอ ที่ปรึกษารัฐยูเครน ระบุว่าเป็นความพยายามของกองทัพรัสเซียที่จะรบกวนการส่งสัญญาณสื่อสาร[11] สำนักข่าว เดอะเคียฟอินดิเพนเดนต์ ระบุว่าช่องโทรทัศน์ยูเครนถูกตัดการเผยแพร่จากการโจมตีครั้งนี้[12] รัฐมนตรีการต่างประเทศยูเครนประณามการโจมตีครั้งนี้ว่าป่าเถื่อน เนื่องจากหอคอยตั้งอยู่ติดกันกับอนุสรณ์สถานผู้เสียชีวิตจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์บาบึนยาร์[13]

หอส่งสัญญาณโทรทัศน์เคียฟ

แหล่งที่มา

WikiPedia: หอส่งสัญญาณโทรทัศน์เคียฟ http://www.emporis.com/en/wm/bu/?id=112289 http://en.structurae.de/structures/data/index.cfm?... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.dt.ua/3000/3680/30789/ http://babynyar.gov.ua/en/reconstitution-historica... http://www.umoloda.kiev.ua/number/531/211/19178/ https://www.aljazeera.com/news/2022/2/28/us-announ... https://www.emporis.com/buildings/112289 https://www.reuters.com/world/ukraine-condemns-rus... https://www.reuters.com/world/ukraine-says-five-pe...