ความหมายทางวิชาการอิสลาม ของ หะดีษ


ในทัศนะของอิสลามซุนนีย์

ฮะดีษ คือ คำพูด การกระทำ การยอมรับ และคุณลักษณะ ตลอดจนชีวประวัติของท่านนบีมุฮัมมัด (ศ) อิบนุหะญัร อัลอัสกอลานีย์ให้นิยามของฮะดีษว่า “ทุก ๆ สิ่งที่พาดพิงถึงท่านนบี (ศ)”

ประเภทของฮะดีษ

การจำแนกประเภทของฮะดีษนั้นนักวิชาการได้จำแนกฮะดีษเป็นดังนี้

1. จำแนกตามลักษณะของกระแสรายงาน แบ่งออกเป็นได้ สองประเภทคือ ฮะดีษมุตะวาติรและ ฮะดีษอาฮาด

2. จำแนกตามลักษณะของการนำมาใช้มาเป็นหลักฐานอ้างอิง แบ่งได้เป็นสองประเภท คือ

2.1 ฮะดีษที่นำมาเป็นหลักฐานได้ คือ ฮะดีษศอฮีฮฺ และ ฮะดีษฮะซัน

2.2 ฮะดีษที่ใช้เป็นหลักฐานไม่ได้ คือ ฮะดีษฎออีฟ(ฮะดีษอ่อน)และฮะดีษเมาฎั๊วะ(ฮะดีษที่ถูกอุปโลกน์ขึ้น)

3. จำแนกตามลักษณะของผู้สืบ (ที่มา ,

พระวจนานุกรมรวบรวมฮะดีษมีมากกว่า 10 พระวจนานุกรม ที่สำคัญคือ 6 พระวจนานุกรม คือ

1. ศอฮีฮฺอัลบุคอรีย์ รวบรวมโดย อัลบุคอรีย์

2. ศอฮีฮฺมุสลิม รวบรวมโดย มุสลิม อิบนุลฮัจญาจญ์

3. ศอฮีฮฺอัตตัรมีซีย์ รวบรวมโดย อัตตัรมีซีย์

4. อัสสุนัน รวบรวมโดย อะบูดาวูด

5. อัสสุนัน รวบรวมโดย อิบนุมาญะฮฺ

6. อัสสุนัน รวบรวมโดย อันนะสาอีย์

นอกจากนี้ยังมีพระวจนานุกรม

7. อัลมุวัฏเฏาะอ์ รวบรวมโดย มาลิก บินอะนัส (เจ้าสำนักมาลิกีย์)

8. อัลมัสนัด รวบรวมโดย อะฮฺหมัด บินฮันบัล (เจ้าสำนักฮันบะลีย์)

9. อิบนุคุซัยมะฮฺ

10. อิบนุหิบบาน

11. อับดุรรรอซซาก

พระวจนานุกรมอัลบุคอรีย์และมุสลิมได้รับการยอมรับมากที่สุดในสังคมมุสลิมซุนนีย์

ฮะดีษในทัศนะของอิสลามชีอะหฺ

ฮะดีษ หมายถึงคำพูด การกระทำ และการยอมรับของนบีมุฮัมมัด และของบรรดามะอฺศูม

สายชีอะหฺได้มีการรวบรวมเป็นเล่ม ที่สำคัญที่สุดมี 4 เล่มคือ

1. อัลกาฟี รวมรวมโดย อัลกุลัยนีย์

2. มัน ลายะฮฺฎุรุฮุ อัลฟะกีหฺ รวมรวมโดย เชคศอดูก (ฮ.ศ.305-381)

3. ตะหฺซีบ อัลอะฮฺกาม รวบรวมโดย เชคอัตตูซีย์ (ฮ.ศ.385-460)

4. อัลอิสติบศอร รวบรวมโดย เชคอัตตูซีย์ เช่นเดียวกัน


ใกล้เคียง