ประเภท ของ หินงอก

หินงอกปูน(Limestone stalagmites)

หินงอกที่พบได้บ่อยที่สุดคือหินงอกที่มีองค์ประกอบเป็นหินปูนจากถ้ำหินปูน[3] หินงอกประเภทนี่จะเกิดได้เมื้อภาวะpHของถ้ำเหมาะสมเท่านั้น ต้นกำเนิดของหินงอกนั้นมาจากการสะสมตัวของแคลเซียมคาร์บอเนตและแร่ธาตุอื่นๆซึ่งตกตะกอนมจากน้ำแร่ในถ้ำ หินปูนเป็นแหล่งสำคัญของแคลเซียมคาร์บอเนตซึ่งเมื่อถูกชะล้างโดยน้ำที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ทำให้เกิดเป็นสารละลายแคลเซียมไบคาร์บอเนตในถ้ำตามปฏิกิริยา[4]

CaCO(s)
3 + H2O(l) + CO(aq)
2 → Ca(HCO3)(aq)
2

ความดันย่อยของคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำต้องมากกว่าความดันย่อยของคาร์บอนไดออกไซด์ในถ้ำหินงอกจึงจะเกิดได้[5] จากนั้นสารละลายนี่จะไหลซึมผ่านหินและหยดลงมาบนพื้นถ้ำ เมื่อสัมผัสกับอากาศก็จะเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับมาสะสมหินปูนหรือแคลเซียมคาร์บอเนต:[6]

Ca(HCO3)(aq)
2 → CaCO(s)
3 + H2O(l) + CO(aq)
2

ถ้าหินย้อยซึ่งงอกมาจากเพดานนั้นยาวจนมาชนกับหินงอกจากพื้น มันจะเชื่อมต่อกันเป็นเสาหินปูน

ไม่ควรสัมผัสกับหินงอกเนื่องจากหินงอกนี้เกิดจากการสะสมแร่ธาตุที่มาจากน้ำลงบนผิวถ้ำ ไขมันจากผิวหนังจะไปเปลี่ยนแรงตึงผิวในที่ที่น้ำแร่มาสะสมซึ่งงอาจจะไปกระทบการโตของหินงอกหินย้อยได้ น้ำมันและเศษดินจากมนุษย์นั้นยังสามารถไปเปลี่ยนเปื้อนและเปลี่ยนสีหินงอกหินย้อยอย่างถาวรอีกด้วย

หินงอกลาวา(Lava stalagmites)

หินงอกอีกชนิดหนึ่งนั้นเกิดในโพรงลาวาที่ลาวายังไหลอยู่ กระบวนการเกิดนั้นเหมือนกับหินงอกหินปูนซึ่งเป็นการสะสมของแร่ธาตุบนพื้นถ้ำ แต่ในกรณีของหินงอกลาวามันสามารถเกิดได้เร็วมากในชั่วโมง วัน หรือ สัปดาห์ ในขณะที่หินงอกหินปูนนั้นต้องใช้เวลานับพันปี ข้อแตกต่างอีกอย่างหนึ่งของหินงอกลาวาก็คือเมื่อลาวาหยุดไหลแล้วหินงอกลาวาก็จะหยุดโต ถ้าหินงอกลาวานั้นหักก็จะไม่งอกเพิ่มอีก[1] หินงอกลาวานั้นพบได้ยากกว่าหินย้อยลาวาเพราะว่ามันเกิดจากการที่ลาวาที่ไหลลงพื้นนั้นมักไหลต่อหรือถูกดูดซับไป

หินงอกน้ำแข็ง(Ice stalagmites)

หินงอกน้ำแข็งหรือจะเรียกว่าน้ำแข็งงอกก็ได้ เป็นหินงอกที่พบได้ตามฤดูกาลและตลอดมั่งปีในถ้ำเขตหนาว ในภาษาอังกฤษบางทีเรียกว่า icicle[7] น้ำที่ซึมมากจากผืนดินจะทำลุไปในถ้ำถ้าอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งและจะไปสะสมและแข็งตัวเป็นน้ำแข็งงอก หรืออาจจะเกิดจากการควบน้ำของไอน้ำโดยตรง[8] เช่นเดียวกับหินงอกลาวา น้ำแข็งงอกเกิดขึ้นได้เร็วในไม่กี่ชั่วโมงหรือวัน พวกมันสามารถโตใหม่ได้เรื่อยๆตราบใดที่ปริมาณน้ำและอุณหภูมิเหมาะสม น้ำแข็งงอกนั้นพบได้มากกว่าน้ำแข็งย้อยเพราะว่าเพดานถ้ำจะมีอุณหภูมิสูงกว่าพื้นถ้ำน้ำแข็งงอกและน้ำแข็งย้อยสามารถเชื่อมกันเป็นเสาน้ำแข็งได้เช่นเดียวกันกับหินปูน

หินงอกคอนกรีต(Concrete stalagmites)

หินงอกที่โตบนพื้นคอนกรีต

หินงอกและหินย้อยยังสามารถเกิดบนเพดานและพื้นคอนกรีต และมันสามารถเกิดได้เร็วกว่าในถ้ำ[9][10]

เกิดสะสมแร่ธาตุจากคอนกรีตนั้นเป็นผลจากการเสื่อมสภาพของคอนกรีต โดยแร่ธาตุเช่นแคลเซียมและเหล็กนั้นจะถูกละลายออกมาและสะสมบนโครงสร้างคอนกรีตทำให้เกิดเป็นหินงอกหินย้อย[10] แคลเซียมคาร์บอเนตจะมาสะสมเป็นหินงอกหินย้อยเมื่อสารละลายที่เป็นองค์ประกอบของคอนกรีตมาอยู่ทีพื้นคอนกรีต คาร์บอนไดออกไซด์จะถูกดูดซึมไปในสารละลายนี้และเร่งการเกิดหินงอกหินย้อย [11][12] โดยสูตรทางเคมีของปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นคือ[13]

CaO(s) + H2O(l) → Ca(OH)2(aq)

น้ำฝนที่ชะล่างคอนกรีตจะพาแคลเซียมไฮดรอกไซด์มาลงที่พื้นหรือหลังคา เมื่อสัมผัสกับอากาศก็จะเกิดปฏิกิริยากับคาร์บอนไดออกไซด์และสะสมเป็นหินปูน[14]

Ca(OH)2(aq) + CO2(g) → CaCO3(s) + H2O(l)

หินงอกเหล่านี้มักจะมีขนาดเพียงไม่กี่เซนติเมตร[15]