การก่อตัว ของ หินละลายรูปหมอน

หินละลายรูปหมอนเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีแมกม่าดันตัวมาถึงพื้นผิว และสิ่งที่สำคัญคือต้องมีความแตกต่างกันอย่างมากในส่วนของอุณหภูมิ นั่นคืออุณหภูมิระหว่างลาวาและน้ำ เมื่อมีการโผล่พ้นน้ำขึ้นมาเจอความเย็นอย่างรวดเร็ว จะเกิดปฏิกิริยาบนผิวของลาวานั้นก่อน หลังจากนั้นลาวาจะขยายตัวออกไป ด้วยปริมาณที่มากขึ้นก็จะเกิดเป็นพู (lobe) จนกระทั่งความดันของแมกม่านั้นเพียงพอที่จะทำให้บริเวณผิวของลาวาแตกออก และเริ่มการปะทุอีกครั้งในบริเวณที่เป็นช่องว่างที่ใกล้ๆกัน กระบวนการนี้เป็นการสร้างรูปร่างที่เป็นพูออกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีรูปร่างคล้ายหมอน บริเวณผิวของมันจะมีการเย็นตัวอย่างรวดเร็วกว่าภายในตัวหินละลายรูปหมอนทำให้ได้เนื้อที่ค่อนข้างละเอียด และมีลักษณเป็นเนื้อแก้ว ส่วนลาวาที่อยู่ด้านใน ที่เย็นตัวช้ากว่า จะมีเนื่อที่หยาบกว่าบริเวณผิวของมัน

ในประเทศไทยตัวอย่างหินละลายรูปหมอนนี้ พบอยู่ทั่วไปในแถบสถานีรถไฟแม่เมาะ และอำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง