การเกิด ของ หินละลายรูปหมอน

หินละลายรูปหมอนนั้นจะเกิดในบริเวณที่มีลาวาสีเข้มถึงลาวาสีกลาง (mafic to intermediate) ปะทุขึ้นมาใต้ผิวน้ำ เช่นบริเวณที่มีจุดร้อน (hotspot) ปะทุขึ้นมา และสัมพันธ์กับขอบเขตโครงสร้างของเทือกสันเขาใต้สมุทร (mid-oceanic ridge) เมื่อมีแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรเกิดขึ้นใหม่ จะเกิดหินละลายรูปหมอนขึ้นหนามาก ซึ่งปะทุขึ้นมาตรงจุดศูนย์กลางการกระจายตัว ซึ่งเกิดจากการที่พวก dyke แทรกตัดเข้ามาในตำแหน่งที่ต่ำกว่าที่กะเปาะแมกม่า (magma chamber) หินละลายรูปหมอนเกิดขึ้นสัมพันธ์กับ sheeted dyke complex ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของลำดับหิน ophiolite เมื่อมีบางส่วนของแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรเกยซ้อนทับแผ่นเปลือกโลกทวีป

การปรากฏของหินละลายรูปหมอนที่แก่ที่สุดในพวกหินภูเขาไฟพบที่ Isua and Barberton greenstone belts เป็นการแสดงว่าเคยมีน้ำปริมาณมหาศาลบนพื้นผิวของโลกในยุค Archean ซึ่งหินละลายรูปหมอนนี้แสดงว่ามีกิจกรรมของภูเขาไฟที่เกิดใต้น้ำในบริเวณแถบการแปรสภาพ

หินละลายรูปหมอนอาจพบร่วมกับสภาวะภูเขาไฟกึ่งธารน้ำแข็ง (Subglacial Volcanoes) ในลำดับแรกของการเกิดระเบิด ซึ่งถูกค้นพบด้วย Gabriel A. Doudine และเพื่อนๆของเขา