การบังคับให้หุ่นเคลื่อนไหว ของ หุ่นไทย

แยกพิจารณาได้ดังต่อไปนี้

  1. วิธีบังคับจากสายโยง วิธีนี้คนบังคับจะอยู่เหนือโรง และหุ่นที่บังคับด้วยสายโยงมักเป็นหุ่นที่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนคนจริงแต่มีขนาดเล็ก โรงแสดงหุ่นก็จำลองให้มีขนาดเล็กสัมพันธ์กับขนาดของหุ่น สายโยงที่บังคับจะผูกติดกับอวัยวะต่างๆของหุ่น ห้อยลงมา
  2. วิธีบังคับด้วยมือ วิธีนี้จะสร้างตัวหุ่นให้ภายในกลวง ให้มือล้วงเข้าไปในหุ่นได้ และบังคับให้เคลื่อนไหวด้วยการเคลื่อนไหวของมือที่สอดเข้าไปในตัวหุ่น
  3. วิธีบังคับด้วยก้านไม้และสายโยง หุ่นประเภทนี้จะมีลักษณะคล้ายประเภทแรก ต่างกันที่กลไกบังคับตัวหุ่น คือมีก้านไม้เสียบติดตัวเป็นแกนและมีสายโยงติดกับอวัยวะต่างๆเพื่อบังคับให้เคลื่อนไหว
  4. วิธีบังคับด้วยก้านไม้และใช้เงาดำผสม ตัวหุ่นจะต่างจากหุ่นชนิดอื่นตรงที่ไม่มีความกลม มีลักษณะแบน ทำด้วยแผ่นหนัง แผ่นกระดาษ หรือแผ่นกระดาน เราเรียกหุ่นชนิดนี้ว่า "หุ่นหนัง" มีลวดลายฉลุอยู่บนตัวหุ่น การบังคับใช้ก้านไม้ติดตรึงกับตัวหุ่น คนเชิดจะชูตัวหุ่นไว้เหนือหัว เต้นพร้อมกับเชิดไปตามดนตรีและบทขับร้อง ในการแสดงต้องมีจอผ้าขาว ให้แสงสว่างอยู่เบื้องหลัง ให้เกิดเงาของหุ่นปรากฏบนจอ