ห้อม
ห้อม

ห้อม

ห้อม หรือ ฮ่อม มีชื่ออื่นๆคือ ฮ่อมเมือง ครามหลอย ครามเหล็กขูด ครามย่าน ใบเบิก[1] อยู่ในวงศ์ Acanthaceae สกุล Strobilanthes เป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี มีโครโมโซม 2n = 16 และ 32 ลำต้นความสูง 0.5-1.5 เมตร ลำต้นตั้งตรง ลำต้นเกลี้ยง เป็นข้อปล้องคล้ายขาไก่แตกกิ่งก้านตามข้อ ลำต้นกลม ห้อม สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดใบใหญ่ จะมีลักษณะใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยว การจัดระเบียบของใบที่ติดอยู่ตามลำต้นเป็นแบบตรงกันข้ามตั้งฉากกัน โดยแต่ละคู่ของใบในข้อหนึ่งอยู่ในแนวตั้งฉากกับคู่ของใบอีกข้อหนึ่ง ก้านใบยาว ประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร แผ่นใบมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับ ขนาดใบกว้าง ประมาณ 6.2-8.3 เซนติเมตร ยาว 18.2-24 เซนติเมตร การจัดเรียงเส้นใบเป็นแบบร่างแหรูปขนนก รูปร่างของใบเป็นแบบใบหอกกลับ ปลายใบแหลม โคนใบเรียวแหลม ขอบใบเป็นหยักฟันเลื่อยละเอียด ส่วนห้อมชนิดใบเล็ก มีลักษณะของใบคล้ายกับชนิดใบใหญ่ แต่ขนาดจะเล็กกว่า ใบด้านบนสีเขียวมัน ใบแก่หรืออ่อนเมื่อถูกกด หรือทุบทิ้งไว้กลายเป็นสีดำเส้นแขนงใบเป็นร่างแหมีจำนวนเส้นใบ 7-9 คู่ดอก ดอก สีม่วง ออกเป็นช่อออกตามซอกใบและปลายกิ่งเป็นช่อแยกแขนง ช่อดอกยาว 1-6 ซม. ก้านช่อดอกยาว 1-12 ซม. มีใบประดับรองรับกลีบเลี้ยง ปลายแยก 5 แฉก แต่ละแฉกยาว 0.8-1.5 มม. มีขนนุ่มปกคลุม กลีบดอกเชื่อมติดกันรูปทรงกระบอกยาว 3.5-5 ซม.ปากกว้าง 3 มม. ปลายกลีบดอกแยก 4 แฉก แต่ละแฉกมีขนาด 9 X 9 มม.สีม่วง ขนาดแตกต่างกันเล็กน้อย ปลายกลีบโค้งเล็กน้อยด้านนอกเกลี้ยง เกสรเพศผู้ 4 อัน ก้านชูอับเรณูยาว ประมาณ 7 มม. ผลแห้งแบบแคปซูลขนาด 1.5-2.2 ซม. เกลี้ยง 4 เมล็ด เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลแตกง่าย ออกดอกในช่วงเดือน กรฎาคม-กุมภาพันธ์ติดผลในช่วงเดือน ธันวาคม – กุมภาพันธ์ [2 1]ห้อมสามารถเจริญเติบโตได้ดีในป่าดิบชื้นพื้นที่ที่มีแสงรำไร และไม่ชื้นแฉะ ซึ่งอยู่เหนือความสูงจากระดับน้ำทะเล 100 – 2,000 เมตร สามารถพบได้ในประเทศจีน ( ฝูเจี้ยน, กวางตุ้ง, กวางสี, กุ้ยโจว, ไหหนาน, มณฑลหูหนาน เสฉวน, ไต้หวัน, ตะวันออกเฉียงใต้ของเจ้อเจียง ) ยูนาน ทิเบต บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม )[3 1] จากการสำรวจแหล่งกระจายพันธุ์ของต้นฮ่อมในภาคเหนือทั้งที่เป็นแหล่งขึ้นเองตามธรรมชาติ และแหล่งปลูกตามชุมชน พบว่าในแหล่งขึ้นเองตามธรรมชาติเป็นป่าดิบเขาระดับต่ำ ณ ระดับความสูง 900–1,200 เมตร จากระดับทะเล ในสภาพดินร่วนจนถึงดินร่วนปนทรายและอินทรียวัตถุมากบนชั้นหน้าดิน ส่วนใหญ่พบอยู่เขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาว อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ทุ่งแสลงหลวง ดอยภูคา พบตามที่ชุ่มน้ำในป่าดงดิบ เช่น ป่าแม่คำมี จ.แพร่ ป่าแม่จางฝั่งซ้าย จ.ลำปาง ป่าวังใหญ่และป่าแม่น้ำน้อย จ.กาญจนบุรี ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่อิงฝั่งขวา และป่าแม่งาว จ.เชียงราย และป่าสงวนแห่งชาติน้ำเปื่อย น้ำหย่วน และป่าน้ำลาว จ.พะเยา เป็นต้น [4,5 1] นอกจากนี้ผ้าหม้อห้อมที่ย้อมสีธรรมชาติ ยังมีจุดเด่นสำคัญคือช่วยดูดซับแสงยูวีได้ ทำให้ผู้สวมใส่ไม่ร้อน และไม่เป็นอันตรายต่อผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ จึงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศอย่างกว้างขวาง[ุ6 1] มีการปลูกเป็นการค้าในประเทศจีน ญี่ปุ่น และบังคลาเทศ [7 1] สำหรับประเทศไทยมีแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญได้แก่ บ้านนาตอง บ้านน้ำจ้อม บ้านน้ำก๋าย ตำบลช่อแฮ บ้านนาคูหา ตำบลสวนเขื่อน บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง และบ้านห้วยม้า ตำบลห้วยม้า อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ มีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 100 ไร่ ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตเนื้อห้อมคือ ใบ และยอด ราคากิโลกรัมละ 5-7 บาท โดยที่ห้อมสด 10-12 กิโลกรัม หมักได้เนื้อห้อม 2.5 กิโลกรัม ราคาเนื้อห้อมกิโลกรัมละ 80-100 บาท แต่การผลิตห้อมยังประสบกับปัญหาหลาย ๆ อย่าง เช่น มีข้อจำกัดด้านพื้นที่ปลูก ที่มีอากาศร้อนชื้น มีสภาพแสงรำไร และวัตถุดิบต้นห้อม ไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ผลิต [8 1]การขยายพันธุ์ สามารถขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ปักชำกิ่ง และการชำราก การปลูกและการดูแลรักษา สามารถทำได้โดยการไถเตรียมดิน 2 ครั้ง ครั้งแรก ไถตากดินทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ ครั้งที่สอง ไถผสมปุ๋ยคอกมูลวัวผสมกับดินในอัตราส่วน 1 ตัน ต่อไร่ พร้อมกับขึ้นแปลงภายใต้โรงเรือนที่พรางแสง ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ โดยแต่ละแปลงมีความกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร นำกิ่งห้อม ความยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ที่มีข้อปล้องด้านล่าง ประมาณ 1 ข้อ ไปชำไว้ในกระบะปูนที่มีส่วนผสมของวัสดุปลูก คือ ดินและแกลบดำ อัตราส่วน 1 ต่อ 1 ใช้เวลาประมาณ 14 วัน รากจะเริ่มออกมาตามข้อกิ่ง จากนั้นนำกิ่งชำที่มีรากสมบูรณ์ลงแปลงปลูก โดยใช้ระยะปลูกระหว่างแถว 60 เซนติเมตร ระหว่างต้น 50 เซนติเมตร (ระยะที่เหมาะสม ให้ผลผลิตสูง) ภายในโรงเรือนต้องให้มีความชุ่มชื้นอยู่ตลอด แต่ไม่ถึงขนาดน้ำขังในแปลง ซึ่งการให้น้ำจะใช้ระบบมินิสปริงเกลอร์ เปิดสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง (เช้า-เย็น) ครั้งละประมาณ 1 ชั่วโมง แต่หากในช่วงต้นเล็ก ให้วันเว้นวัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและฤดูกาล เสริมปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 และ 46-0-0 เดือนละ 1 ครั้ง ต้นห้อมอายุครบ 6 เดือน จะพร้อมให้เก็บผลผลิต ซึ่งน้ำหนักเฉลี่ยต่อไร่ที่เกษตรกรจะได้ประมาณ 1,254.4 กิโลกรัม ซึ่งการเก็บเกี่ยวผลผลิตจะใช้วิธีตัดกิ่ง ก้าน ใบ และยอด ความยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร จากยอดลงมา [8 1]ความสำคัญทางเศรษฐกิจ             ห้อม เป็นไม้พุ่มที่พบในป่าธรรมชาติของภาคเหนือตอนบน ชาวบ้านนำมาผลิตเป็นวัตถุดิบสำหรับย้อมผ้าหม้อห้อมเป็นเอกลักษณ์ ต้นห้อมเป็นไม้พุ่มที่พบในป่าธรรมชาติที่ชุ่มชื้นของภาคเหนือตอนบน เดิมชาวบ้านจะเก็บลำต้นและใบห้อมจากป่ามาใช้ประโยชน์แต่ในปัจจุบันพื้นที่ป่าลดลงทำให้ห้อมที่ขึ้นในธรรมชาติเหลือน้อยลงและอาจสูญพันธุ์ในอนาคตได้ในขณะที่การผลิตเสื้อผ้าหม้อห้อมเพิ่มมากขึ้น ชาวบ้านจึงขาด วัตถุดิบสำหรับย้อมผ้า จึงต้องนำเข้าห้อมสดจากแหล่งอื่น อาทิเช่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือพืชชนิดอื่นแทน เช่น คราม ด้วยเหตุนี้การปลูกต้นฮ่อมยังมีข้อจำกัดในสภาพพื้นที่ปลูก จำเป็นที่ต้องปลูกในพื้นที่สูงตามภูเขาที่มีอากาศเย็นตลอดทั้งปีอีกทั้งผู้ปลูกขาดความเข้าใจต่อการพัฒนาหาแหล่งปลูกที่เหมาะสมจนทำให้การเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการในอุตสาหกรรมการผลิตผ้าหม้อห้อม จากความต้องการผ้าหม้อห้อมที่มีเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ปริมาณต้นห้อมในธรรมชาติลดน้อยลง ทำให้ไม่สอดคล้องกับการค้าขายเสื้อผ้าหม้อห้อม โดยเฉพาะวัตถุดิบจากต้นห้อมที่นำมาใช้ย้อมผ้า ทำให้มีการนำครามหรือสารเคมีมาใช้ย้อมผ้าทดแทนห้อม ส่งผลกระทบต่อผู้สวมใส่ที่แพ้สารเคมี ส่วนน้ำย้อมที่เหลือจากการย้อมผ้าปล่อยทิ้งไปในธรรมชาติ ทำให้สภาพแวดล้อม ดิน น้ำใต้ดิน เสื่อมคุณภาพ [8 1]            ปัจจุบันยอดและใบห้อมสดราคาจำหน่ายกิโลกรัมละ 10-15 บาท ห้อมสด 10 กิโลกรัมใช้ผลิตเป็นเนื้อห้อมได้ 2.5 กิโลกรัมหรือสัดส่วน 4:1 โดยน้ำหนัก ราคาจำหน่ายเนื้อห้อมคือกิโลกรัมละ 100-180 บาท ในแต่ละปีผู้ประกอบการต้องการห้อมสด 146-219 ตัน มูลค่า 1.46-2.19 ล้านบาท และเนื้อห้อม 29.2-36.5 ตัน มูลค่า 2.92-3.65 ล้านบาท ทำให้มีกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตผ้าหม้อห้อมสนใจที่จะปลูกห้อมในพื้นที่การเกษตร เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผ้าหม้อห้อม แต่ยังมีข้อจำกัดบางประการ เช่น ขาดพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่จังหวัดแพร่ [9 1]  และจากการศึกษาพบว่าในหมักใบฮ่อมเพื่อทำโคลน (ก้อน) สีฮ่อมนั้นในการหมักใช้ใบสดในปริมาณน้ำหนักเท่ากันกับต้นคราม (Indigofera tinctoria L.) หรือ ครามใหญ่ (I. suffruticosa Mill.) ต้นฮ่อมสามารถให้ปริมาณก้อนสีมากกว่าครามถึง 3-4 เท่า [10 1]            ผ้าหม้อห้อมเนื้อฝ้ายที่สามารถระบายอากาศได้ดีช่วยให้สวมใส่สบายไม่อับชื้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาให้มีผลิตภัณฑ์หลายรูปแบบ คือ ผ้ายย้อมลายฟ้าผืน ผ้าย้อมลายมัดย้อม ผ้าห่มย้อมลายมัดย้อม เสื้อผ้าซาฟารีแขนสูท เสื้อสตรีสำเร็จรูป หมอนอิงฉลุ และของใช้ของที่ระลึก จากการรายงานพบว่าช่วงเดือนมกราคม ถึง สิงหาคม ปี 2561  ประเทศไทยส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มซึ่งมีมูลค่ามากถึง 643.65 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แบ่งออกเป็นสิ่งทอมูลค่าการส่งออก 415.37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเครื่องนุ่งห่มมูลค่าการส่งออก  228.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ ภูมิภาคอาเซียน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และสาธารณรัฐประชาชนจีน ตามลำดับ และประเทศส่งออกที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน เวียดนาม และอินโดนีเชีย ตามลำดับ [11 1]