อคติเข้าข้างเวลายาว
อคติเข้าข้างเวลายาว

อคติเข้าข้างเวลายาว

อคติเข้าข้างเวลายาว (อังกฤษ: Length time bias) เป็นรูปแบบหนึ่งของอคติที่เกิดจากการเลือกตัวอย่าง เป็นความบิดเบือนทางสถิติที่ทำให้สรุปข้อมูลอย่างผิด ๆเกิดเมื่อเลือกวิเคราะห์ช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ที่มีผลต่อข้อสรุปเพราะสิ่งที่วิเคราะห์มีช่วงเวลาการเกิด/การปรากฏที่แตกต่างกันกระบวนการเช่นนี้เข้าข้างช่วงเวลาที่ยาวกว่าและดังนั้น จึงบิดเบือนข้อมูลประโยชน์ของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งมักกล่าวคู่กับอคตินี้ เป็นความเอนเอียงซึ่งทำให้รู้สึกว่า การตรวจคัดโรคทำให้ได้ผลที่ดีกว่าแม้จริง ๆ จะไม่มีผลอะไรคือเนื้องอกที่โตอย่างรวดเร็วทั่วไปจะมีระยะที่ไม่แสดงอาการสั้นกว่าเนื้องอกที่โตอย่างช้า ๆระยะที่คนไข้มีมะเร็ง (ที่อาจตรวจคัดกรองพบ) แต่ยังไม่ใหญ่พอให้เกิดอาการที่ทำให้คนไข้ปกติไปหาแพทย์แล้วตรวจพบ จึงสั้นกว่าในกรณีที่มีเนื้องอกแบบโตช้า[1]ดังนั้น ถ้ามีเนื้องอกที่โตเร็วและที่โตช้าเกิดขึ้นจำนวนเท่า ๆ กันในปีหนึ่ง การตรวจคัดโรคจะตรวจพบเนื้องอกที่โตช้าได้มากกว่าถ้าเนื้องอกที่โตช้ามีโอกาสทำให้เสียชีวิตได้น้อยกว่ามะเร็งที่โตเร็ว คนไข้มะเร็งที่ตรวจคัดโรคเจอก็จะเหมือนได้ผลที่ดีกว่าโดยเฉลี่ยเทียบกับคนไข้ที่ตรวจพบอาการตามปกติ (เช่น โดยตัดเนื้อออกตรวจ) แม้จะไม่มีประโยชน์จริง ๆ เพราะตรวจพบโรคได้ก่อนซึ่งทำให้รู้สึกว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งลดอันตราย แม้จริง ๆ เป็นการตรวจพบมะเร็งที่อันตรายน้อยกว่าและตรวจพบได้ง่ายกว่าด้วยการตรวจคัดโรค[1][2]

ใกล้เคียง

อคติเพราะเวลานำ อคติเข้าข้างเวลายาว อคติเพื่อยืนยันความคิดของตน อคติที่เกิดจากการเลือกตัวอย่าง อคติ อติเทวนิยม อคติจากการคัดเลือกตีพิมพ์ อคติโดยการรายงาน อควิเลยา ความเป็นอคติต่อชาวเซมิติค