กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ ของ องค์การพิทักษ์สยาม

ภาพสรุปเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับ
วิกฤตการเมืองไทย พ.ศ. 2556-2557

พรรคการเมืองที่เกี่ยวข้อง
การเมืองไทยประวัติศาสตร์ไทย

ในกลางปี พ.ศ. 2556 องค์การพิทักษ์สยาม ได้มีการแตกตัวออกมาเป็น กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (ชื่อย่อ: กปท.) มีจุดประสงค์คือ ให้รัฐบาลเพิกถอนร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ และโค่น "ระบอบทักษิณ" โดยมีคณะนายทหารและนายตำรวจ รวมถึงข้าราชการพลเรือนนอกราชการและกลุ่มนักเคลื่อนไหวทางการเมืองร่วมด้วยหลายคน โดยมีแกนนำทั้งหมด 7 คน คือ 1. พลเอก ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ 2. พลเรือเอก ชัย สุวรรณภาพ 3. พลเอก ชูเกียรติ ตันสุวัฒน์ 4. พลอากาศโท วัชระ ฤทธาคนี 5. นายพิเชฐ พัฒนโชติ 6. นายไทกร พลสุวรรณ 7. พลเรือเอก บรรณวิทย์ เก่งเรียน โดยเรียกตัวเองว่า "คณะเสนาธิการร่วมโค่นระบอบทักษิณ"

โดยมีการชุมนุมขึ้นที่หน้าสวนลุมพินีบริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 6 ใกล้แยกศาลาแดง ในวันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556[10] [11] ร่วมด้วยกองทัพธรรมของคณะสันติอโศก ต่อมาก็ได้ย้ายเข้าไปในสวนลุมพินีไม่ห่างจากประตูทางเข้าทางฝั่งนี้ เพื่อความปลอดภัย

ต่อมาในวันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 15.00 น. ก็ได้ยกระดับการชุมนุมเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมบางส่วนและแกนนำปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล[12] ทางรัฐบาลได้ประกาศพระราชบัญญัติความมั่นคงฯ ครอบคลุมพื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, เขตพระนคร และเขตดุสิต ตั้งแต่วันที่ 9-18 ตุลาคม แต่ทางผู้ชุมนุมและแกนนำก็ยังไม่ยุติการชุมนุม จนเมื่อถึงวันที่ 10 ตุลาคม ปีเดียวกัน ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เสริมกำลังเข้ามาล้อมรอบที่ชุมนุมจนมีปริมาณมากกว่าผู้ชุมนุม โดยปิดมิให้มีการเข้าและปิดไม่ให้แม้แต่การส่งอาหารและน้ำ รวมถึงห้องน้ำเข้าไปได้สู่ที่ชุมนุม และได้เข้าเจรจากับแกนนำขอให้ยุติการชุมนุมไปก่อน จนกระทั่ง หลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีนที่จะเยือนประเทศไทยระหว่างวันที่ 11-13 ตุลาคม จะเสร็จสิ้นภารกิจ โดยให้สัญญาว่าจะไม่มีการดำเนินคดีกับผู้ชุมนุม และจะยินยอมให้กลับมาชุมนุม ณ หน้าทำเนียบรัฐบาลได้อีกครั้ง ทางแกนนำจึงมีมติที่จะถอนที่ชุมนุมกลับไปยังสวนลุมพินี แต่ทว่าก็มีผู้ชุมนุมบางส่วนที่ไม่ยินยอมและเดินทางไปชุมนุมต่อ ณ แยกอุรุพงษ์ ซึ่งเป็นพื้นที่เขตราชเทวี นอกพื้นที่การประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคง[13] โดยกลุ่มนี้ได้ใช้ชื่อว่า เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) โดยแกนนำเป็นคณะนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงแห่งองค์การนักศึกษารามคำแหง และนายนิติธร ล้ำเหลือ ทนายความแห่งสภาทนายความ พร้อมได้ปฏิเสธว่าไม่ได้มีพรรคการเมืองใดหนุนหลังรวมทั้งไม่ได้มีความขัดแย้งกับ กปท.ด้วย และในคืนวันเดียวกันเวลาประมาณ 02.00 น. ก็มีผู้โยนระเบิดเพลงลงมาจากทางด่วนอุรุพงษ์ 4 ลูก มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 คน[14][15]

ใกล้เคียง

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ องค์กรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ องค์กรคริสตจักรสัมพันธ์ในประเทศไทย องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย

แหล่งที่มา

WikiPedia: องค์การพิทักษ์สยาม http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.facebook.com/organization.Pithaksiam http://www.krobkruakao.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B... http://www.naewna.com/creative/62752 http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%... http://www.protectsiamorganization.com/ http://news.sanook.com/1150389/%E0%B8%A1%E0%B9%87%... http://www.thaiday.com/Politics/ViewNews.aspx?News... http://www.komchadluek.net/detail/20121125/145641/... http://www.komchadluek.net/detail/20131011/170253/...