สวนสัตว์ในความดูแลขององค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ของ องค์การสวนสัตว์

สวนสัตว์ดุสิต

ป้ายเขาดินวนา ใน สวนสัตว์ดุสิตดูบทความหลักที่ สวนสัตว์ดุสิต

สวนสัตว์ดุสิต หรือ เขาดินวนา (Dusit Zoo) เป็นสวนสัตว์แห่งแรกของประเทศไทย อยู่ใกล้กับสนามเสือป่าและพระที่นั่งอนันตสมาคม เดิมเป็นพระราชอุทยานส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดินที่ขุดขึ้นมาได้นำมาใช้ในการถมเนินและปลูกต้นไม้ พระองค์จึงโปรดเรียกที่นี้ว่า "เขาดินวนา"

ปัจจุบันมีสัตว์ป่าทั้งในและต่างประเทศ รวมกว่า 1,600 ตัว มีผู้เข้ามาใช้บริการเฉลี่ยปีละ 2.5 ล้านคน

วันที่ 24 ส.ค. งานประชาสัมพันธ์ สวนสัตว์ดุสิต ทำเอกสารชี้แจงเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว โดยระบุว่าตามที่องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสวนสัตว์ดุสิต ประกาศเปิดให้บริการเข้าชมสัตว์ในสวนสัตว์ดุสิต เป็นวันสุดท้ายจนถึงวันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม 2561 ทั้งนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินแผนงานเคลื่อนย้ายสัตว์ออกไปกระจายอาศัยอยู่ชั่วคราว ณ สวนสัตว์ 6 แห่งนั้น ขอเรียนให้ทราบว่า เนื่องจากมีประชาชนจำนวนมากต่างหลั่งไหลเดินทางมาเที่ยวชมสวนสัตว์ดุสิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อเก็บภาพและบรรยากาศเป็นที่ระลึก ผู้บริหารองค์การสวนสัตว์ ได้นำสถิติการเข้าชมของนักท่องเที่ยว มาพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วเห็นว่า สมควรขยายระยะเวลาการเปิดให้เข้าชมสวนสัตว์ดุสิตต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 1 เดือน หรือ ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 30 ก.ย.2561 เพื่อตอบแทนไมตรีและความรักที่ประชาชนได้มอบให้กับสวนสัตว์ดุสิต อย่างไรก็ตาม ขอความร่วมมือจากประชาชนให้เข้าชมพื้นที่ด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อป้องกันการเกิดผลกระทบกับสวัสดิภาพของสัตว์ และความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว

ดูบทความหลักที่ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว เป็นสวนสัตว์เปิดขนาดใหญ่ในจังหวัดชลบุรี สวนสัตว์เป็นบริการสาธารณะ เกินขึ้นจากคณะกรรมการองค์การสวนสัตว์ได้พิจารณาเห็นว่า สวนสัตว์ดุสิต มีพื้นที่น้อยแต่ปริมาณสัตว์มากเกินไป อยู่กันอย่างหนาแน่น แออัด เป็นผลให้การขยายพันธุ์ของสัตว์ป่าเป็นไปอย่างเชื่องช้า จึงมีมติรับหลักการใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเขา-เขียว และเขาชมภู่ จังหวัดชลบุรี

อีกทั้งสวนสัตว์เปิดเขาเขียว เป็นสวนสัตว์แห่งแรกของประเทศไทยที่ได้เป็นสมาชิกของสมาคมสวนสัตว์โลกและอควอเรียม (WAZA) แห่งเดียวในอาเซียน [4]

สวนสัตว์เชียงใหม่

ทางเข้าสวนสัตว์เชียงใหม่ดูบทความหลักที่ สวนสัตว์เชียงใหม่

สวนสัตว์เชียงใหม่ ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้นดอยสุเทพ, จังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นโดยนายฮาโรลด์ เมสัน ยัง มิชชั่นนารีชาวอเมริกัน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2520 สวนสัตว์จึงโอนเข้าสังกัดองค์การสวนสัตว์ ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2520

มีสัตว์อยู่ในสวนสัตว์จำนวนมาก โดยจุดเด่นอยู่ที่หมีแพนด้า ช่วงช่วง และ หลินฮุ่ย จากประเทศจีน และภายในสวนสัตว์เชียงใหม่มีโบราณสถานที่ชื่อว่าวัดกู่ดินขาว

สวนสัตว์นครราชสีมา

ดูบทความหลักที่ สวนสัตว์นครราชสีมา

สวนสัตว์นครราชสีมา หรือ สวนสัตว์โคราช เป็นซาฟารีขนาดใหญ่ที่สุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีสัตว์ป่าที่หาชมยากมากมาจัดแสดง โดยมีการปรับพื้นที่เป็นลูกคลื่นทำให้มองดูคล้ายทุ่งหญ้าสะวันนา จึงได้มีการนำสัตว์จากแอฟริกามาจัดแสดง [5]

สวนสัตว์สงขลา

ดูบทความหลักที่ สวนสัตว์สงขลา

สวนสัตว์สงขลา อยู่ท่ามกลางขุนเขาและโอบล้อมด้วยทะเลสาบสงขลา มีจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นสะพานติณสูลานนท์ ตัวเมืองสงขลา และทะเลอ่าวไทย เป็นแหล่งอนุรักษ์เพาะขยายพันธุ์สัตว์ป่าหายากทางใต้ของไทย [6]

สิ่งที่น่าสนใจในสวนสัตว์สงขลา ได้แก่ ส่วนจัดแสดงสัตว์เท้ากีบ ประกอบด้วย กวาง, เก้ง, กระทิง และ ศูนย์เสือ จัดแสดงเสือชนิดต่างๆ เช่น เสือโคร่งพันธุ์เบงกอล เสือโคร่งพันธุ์อินโดจีน เสือจากัวร์ดำ เสือดาว เสือลายเมฆ และสัตว์ตระกูลเสืออีกหลายๆ ชนิด ที่หาดูได้ยาก [6]

สวนสัตว์อุบลราชธานี

องค์การสวนสัตว์ ได้รับมอบพื้นที่ส่วนหนึ่งของป่าสงวนแห่งชาติดงฟ้าห่วน บริเวณสวนพฤกษศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 1,217 ไร่ ในเขตอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี (ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานี 12 กิโลเมตร) จากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อใช้ในการก่อสร้างสวนสัตว์อุบลราชธานี เริ่มในปี พ.ศ. 2550 มีกำหนดก่อสร้าง 5 ปี เมื่อแล้วเสร็จ จะทำให้เป็นสวนสัตว์ที่สมบูรณ์ที่สุดในเขตภูมิภาคนี้

มีสัตว์ป่าประจำถิ่นในภูมิภาคมาแสดงเช่น กระทิง ค่างห้าสี รวมทั้งสัตว์ป่าต่างประเทศจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา แลกเปลี่ยนมาจัดแสดงในสวนสัตว์แห่งนี้ [7]

สวนสัตว์ขอนแก่น

สวนสัตว์ขอนแก่น หรือสวนสัตว์เขาสวนกวาง จัดตั้งอยู่ที่ อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น (ถนนมิตรภาพ ทางไปจังหวัดอุดรธานี) เป็นศูนย์กลางการศึกษาและการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

โครงการสวนสัตว์

องค์การสวนสัตว์ อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดตั้งสวนสัตว์ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ คชอาณาจักร จ.สุรินทร์ สวนสัตว์นครสวรรค์ สวนสัตว์ราชบุรี สวนสัตว์สุโขทัย สวนสัตว์ชุมพร และศูนย์อนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำและนกกระเรียนพันธุ์ไทย จ.บุรีรัมย์ [8]

ใกล้เคียง

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ องค์กรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ องค์กรคริสตจักรสัมพันธ์ในประเทศไทย องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย

แหล่งที่มา

WikiPedia: องค์การสวนสัตว์ http://www.zoothailand.org http://www.zoothailand.org/nakhornratchasima/index... http://www.zoothailand.org/songkhla/index_th.shtml http://www.zoothailand.org/zpo/index_th.shtml http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/A/... http://www.environnet.in.th/news/hot_detail.asp?id... http://www.queen6cyclebirthday.in.th/isannews/show... https://www.thaipost.net/main/detail/42775