เสือโคร่งเบงกอล
เสือโคร่งเบงกอล

เสือโคร่งเบงกอล

เสือโคร่งเบงกอล (อังกฤษ: Bengal tiger, Royal bengal tiger; ชื่อวิทยาศาสตร์: Panthera tigris tigris) เป็นเสือโคร่งชนิดย่อยชนิดหนึ่ง นับเป็นเสือโคร่งที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของบรรดาเสือโคร่งทั้งหมด รองจากเสือโคร่งไซบีเรีย (P. t. altaica) ที่พบในแถบไซบีเรีย ประเทศรัสเซียเสือโคร่งเบงกอลตัวผู้เมื่อมีขนาดใหญ่เต็มที่อาจยาวได้ถึง 360 เซนติเมตร หนัก 180-270 กิโลกรัม ขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า และมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 140–180 กิโลกรัมมีการกระจายพันธุ์อยู่ในภูมิภาคเอเชียใต้ ในประเทศอินเดีย, เนปาล, บังกลาเทศ และกระจายเข้าไปในแถบประเทศพม่าด้วย เสือโคร่งเบงกอลมีศัตรูทางธรรมชาติเยอะอาทิเช่น งูเหลือม งูหลาม จระเข้น้ำเค็ม ช้างอินเดีย หมาใน หมีสลอธ หมีควาย หมีหมาและสิงโตอินเดีย แต่เจ้าเสือโคร่งเบงกอลก็สามารถเอาตัวรอดมาได้ถึงแม้มันจะอยู่ตัวเดียว สถานะในธรรมชาติ จัดเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากการถูกล่าเพื่อทำหนังเป็นเครื่องประดับ และกระดูก, อวัยวะ เป็นยาสมุนไพรตามความเชื่อ อย่างไรก็ตาม เสือโคร่งเบงกอลนั้นนับได้ว่าเป็นเสือโคร่งชนิดที่ยังมีเหลืออยู่มากที่สุดในธรรมชาติ คาดว่ามีอยู่มากกว่า 3,500 ตัวในธรรมชาติ ในการสำรวจพบว่า ปี 2561 ในเขตป่าอนุรักษ์อินเดีย 2,600-3,000 ตัว[2][3], เนปาล 235 ตัว[4], ภูฎาณ 103 ตัว[5], บังคลาเทศ 160[6] ตัว ส่วนในพม่าไม่สามารถประเมิน โดยเป็นเสือที่มนุษย์นำมาเลี้ยงและขยายพันธุ์ได้มากและแพร่หลายที่สุด ในสถานที่เลี้ยง พบว่า เสือโคร่งเบงกอลเป็นเสือโคร่งที่มีความเชื่องและดุร้ายน้อยที่สุด จนสามารถฝึกหัดให้เล่นละครสัตว์ได้ เสือโคร่งเบงกอลขึ้นชื่อว่าเป็นเสือโคร่งที่กินมนุษย์มาตั้งแต่อดีต โดยเฉพาะในอินเดีย การล่าเสือเป็นเกมกีฬาของราชวงศ์ชั้นสูง แม้แต่ในยุคที่อังกฤษเข้ามาปกครองอินเดีย โดยการขี่หลังช้างออกล่าในตามทุ่งหญ้าทั้งหญ้าสูงและหญ้าต่ำ ในคริสต์ทศวรรษที่ 20 มีเสือโคร่งเบงกอลคร่าชีวิตมนุษย์ไปกว่า 1,600 รายต่อปี แม้แต่ในปัจจุบันที่การล่าเสือเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย และผู้คนเข้าใจถึงการอนุรักษ์สัตว์ป่ามากขึ้น แต่ทว่าก็ยังคงมีการโจมตีมนุษย์อยู่เป็นระยะ ๆ ของเสือ โดยเฉพาะในสุนทรพนซึ่งเป็นพื้นที่ป่าชายเลน เสือโคร่งเบงกอลที่นี่มีความดุร้ายและไม่เกรงกลัวมนุษย์ มักจะโจมตีมนุษย์เสมอ ๆ โดยเฉพาะการจู่โจมจากด้านหลัง ชาวพื้นเมืองที่นี่จึงต้องสวมหน้ากากไว้ด้านหลังเพื่อป้องกัน ด้วยการทำให้เสือเข้าใจผิดว่ากำลังถูกจ้องดูอยู่ เสือที่โจมตีมนุษย์ส่วนมากเป็นตัวเมียในช่วงฤดูเก็บน้ำผึ้ง ซึ่งตรงกับฤดูที่เสือโคร่งเบงกอลจะมีลูกพอดี[7]