เสือโคร่งมลายู
เสือโคร่งมลายู

เสือโคร่งมลายู

เสือโคร่งมลายู หรือ เสือโคร่งมาเลเซีย (มลายู: Harimau Malaya) เสือโคร่งสายพันธุ์ย่อยสายพันธุ์หนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris jacksoni ในวงศ์ Felidae เป็นเสือโคร่งสายพันธุ์ใหม่ที่เพิ่งถูกอนุกรมวิธานแยกออกจากเสือโคร่งอินโดจีน (P. t. corbetti) เมื่อปี ค.ศ. 2004 อันเนื่องจากดีเอ็นเอที่ต่างกัน[2] [3]โดยถูกตั้งชื่อสายพันธุ์ว่า jacksoni เพื่อเป็นเกียรติแก่ปีเตอร์ แจ็กสัน ซึ่งเป็นนักสำรวจที่ทำงานเกี่ยวกับเสือโคร่งมาช้านานเสือโคร่งมาเลเซีย พบในป่าดิบชื้นของคาบสมุทรมลายู ได้แก่ รัฐกลันตัน ตรังกานู เปรัก และปะหังในมาเลเซีย รวมทั้งป่าตอนใต้สุดของไทยที่ติดกับชายแดนมาเลเซีย โดยมักอาศัยในป่าผืนเล็ก ๆ และแต่ละแห่งมีประชากรเสือโคร่งไม่มาก เสือโคร่งพันธุ์มาเลเซียชอบอยู่ตามป่าเต็งรังที่ต่ำ แต่ก็พบในป่าพรุด้วย ขนาดลำตัว เสือโคร่งมาเลเซียจะมีขนาดเล็กกว่าเสือโคร่งอินโดจีนเล็กน้อย แต่โดยทั่วไปแล้วก็ใกล้เคียงกันมากนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1976 กฎหมายของมาเลเซียระบุให้เสือโคร่งเป็นสัตว์คุ้มครองอย่างเข้มงวดภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองสัตว์ป่า ในปีนั้น กรมสัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติประเมินว่ายังมีเสือโคร่งอยู่ในประเทศประมาณ 300 ตัว มาเลเซียประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการควบคุมและลดปริมาณการล่าสัตว์ ในช่วงปี ค.ศ. 1972-ค.ศ. 1976 มีการล่าเสือโคร่งถึง 19 ตัวต่อปีโดยเฉลี่ย แต่ในปัจจุบันเหลือประมาณ 1 ตัวต่อปีเท่านั้น และประชากรเสือโคร่งได้เพิ่มขึ้น ในปี ค.ศ. 2007 คาดว่ามีปริมาณเสือโคร่งมาเลเซียวัยเจริญพันธุ์ประมาณ 490 ตัวแต่เมื่อ พ.ศ. 2562 มาเลเซียได้สำรวจกลับพบว่า เสือโคร่งมลายูจำนวนลดลงเหลือน้อยกว่า 200 ตัว[4][5] เนื่องจากการลักลอบล่าสัตว์ ระหว่างปี 2544 ถึง 2555 มีการยึดชิ้นส่วนของร่างกายจากเสืออย่างน้อย 100 ตัวในมาเลเซีย ในพ.ศ. 2551 ตำรวจพบลูกเสือแช่แข็ง 19 ตัวในสวนสัตว์ และในปี 2555 หนังและกระดูกของเสือ 22 ตัวถูกยึด[6]นอกจากนี้การขยายตัวของแหล่งเพาะปลูกกับโครงการพัฒนาพื้นที่ซึ่งทำลายแหล่งอาศัยของเสือ ประเมินกันว่า ถ้าหากไม่มีมาตรการช่วยเหลือพวกมันอาจสูญพันธ์หมดในพ.ศ. 2565[7]อย่างไรก็ตาม สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติยังไม่ได้ประเมินสถานภาพของเสือโคร่งสายพันธุ์นี้

แหล่งที่มา

WikiPedia: เสือโคร่งมลายู //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC534810 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15583716 http://www.malayantiger.net/ //doi.org/10.1371%2Fjournal.pbio.0020442 http://www.iucnredlist.org/apps/redlist/details/13... http://www.panda.org/what_we_do/endangered_species... http://www.plosbiology.org/article/info:doi%2F10.1... https://www.worldofbuzz.com/expert-malaysian-tiger... https://www.nst.com.my/news/nation/2019/08/509651/... https://www.iucnredlist.org/species/136893/5066502...