องศาโรเมอร์
องศาโรเมอร์

องศาโรเมอร์

องศาเรโอมูร์ (อังกฤษ: Réaumur scale/degree; ย่อ:°Ré, °Re, °R) หรือในไทยนิยมเรียกว่า องศาโรเมอร์ คือหน่วยวัดอุณหภูมิที่คิดค้นขึ้นโดยเรอเน อ็องตวน แฟร์โชล เดอ เรโอมูร์ (René Antoine Ferchault de Réaumur) นักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1731 โดยกำหนดให้จุดเยือกแข็งของน้ำอยู่ที่ 0 องศาโรเมอร์ และจุดเดือดของน้ำอยู่ที่ 80 องศาโรเมอร์ ดังนั้นช่วงอุณหภูมิ 1 องศาโรเมอร์จะเท่ากับ 1.25 องศาเซลเซียสหรือเคลวินเทอร์โมมิเตอร์ของเรโอมูร์นั้นจะบรรจุแอลกอฮอล์เจือจางและมีหลักการคือกำหนดให้อุณหภูมิจุดเยือกแข็งของน้ำอยู่ที่ 0 องศา และขยายตัวไปตามท่อเป็นทีละองศาซึ่งคือเศษหนึ่งส่วนพันของปริมาตรที่บรรจุไว้ในกระเปาะของหลอด ณ จุดศูนย์องศา เขาเสนอว่าคุณภาพของแอลกอฮอล์ที่ใช้นั้นจะต้องเริ่มเดือดที่ 80 องศาโรเมอร์ นั่นคือ เมื่อปริมาตรแอลกอฮอล์ได้ขยายตัวไป 8% เรโอมูร์เลือกแอลกอฮอล์แทนที่จะใช้ปรอทเพราะขณะที่ขยายตัวจะเห็นได้ชัดเจนกว่า แต่ปัญหาที่พบคือ เทอร์โมมิเตอร์รุ่นดั้งเดิมของเขานั้นดูเทอะทะ และจุดเดือดที่ต่ำของแอลกอฮอล์ก็ไม่ค่อยมีประโยชน์ในการใช้งานจริงเท่าใดนัก ผู้ผลิตอุปกรณ์มักจะหันไปเลือกใช้ของเหลวชนิดอื่น แล้วใช้อุณหภูมิ 80 องศาโรเมอร์เพื่อระบุจุดเดือดของน้ำแทน ซึ่งสร้างความสับสนให้กับผู้ใช้งานในปี ค.ศ. 1772 ฌ็อง-อ็องเดร เดอลุก (Jean-André Deluc) ได้ศึกษาสสารหลายชนิดที่มีการใช้ในเทอร์โมมิเตอร์หลังจากที่มีทฤษฎีใหม่ ๆ ที่เกี่ยวกับความร้อน และได้ข้อสรุปว่าเทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้ปรอทนั้นเหมาะสมกับการใช้งานที่สุด เช่นว่า หากนำน้ำในปริมาณที่เท่า ๆ กันสองส่วน ณ อุณหภูมิ ก และ ข มาเทรวมกันแล้ว อุณหภูมิสุดท้ายที่วัดได้จะเป็นค่ากึ่งกลางระหว่าง ก และ ข พอดี และความสัมพันธ์นี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อทำการวัดด้วยปรอทเท่านั้น นับแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ปรอทก็ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย[1]

ใกล้เคียง