บทวิเคราะห์ ของ อนุพยัญชนะ

ทั้งนี้ มีผู้การวิเคราะห์ศึกษาเกี่ยวกับ มหาปุริสลักขณะ และอนุพยัญชนะในแง่มุมต่างๆ ว่า เป็นบุคลาทิษฐานอันสะท้อนถึงพระจิรยาวัตร และพระบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อาทิ พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) หรือ พุทธทาสภิกขุ เขียนไว้ในหนังสือ “พุทธจริยา” เนื้อหากล่าวถึงพุทธลักษณะของพระพุทธเจ้าว่า ถ้าถือเอาตามตัวหนังสือนั้นแล้วจะผิดมากจนดูเป็นมนุษย์ที่มีรูปร่างประหลาดที่สุดก็ได้ แต่หากเมื่อมองให้ละเอียดจะพบว่า ลักษณะเหล่านี้เป็นการสะท้อนถึงพระมารยาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งทางวาจา การพูดจา การกระทำนี้ก็ล้วนแต้ละเอียดประณีต เป็นลักษณะทางกายทางวาจา ลักษณะทางกายในประเภทนี้เราก็จะเห็นได้ว่ามันรวมอยู่ในคำว่า ศีล มีศีล คือการประพฤติทางกาย ทางวาจาถูกต้องบริสุทธิ์สะอาด น่ารัก เลื่อมใส พระพุทธลักษณะทางกายเป็นอย่างนี้" [3]

ผู้เชี่ยวชาญดังเสนอการตีความอนุพยัญชนะไว่ในทำนองเดียวกันโดยยกตัวอย่าง การมีพระรัศมีรอบพระวรกาย ว่า อาจสะท้อนถึงนัยยะหลายแง่กล่าวคือ

  1. อาจหมายถึงรัศมีแห่งพระบริสุทธิคุณของพระองค์ที่ทรงเป็นผู้ปราศจากมลทินหรือกิเลสเครื่องเศร้าหมอง
  2. อาจหมายถึง รัศมีแห่งพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่แผ่กระจายสู่สรรพสัตว์ในทิศทั้งปวงอย่างไร้ขอบเขตจำกัดในเรื่องชนชั้น วรรณะ ผิวพรรณ หรือเพศ ซึ่งเป็นพระมหากรุณาจิตที่เป็นสากล
  3. อาจหมายถึงรัศมีแห่งปัญญาของพระองค์ที่แผ่กระจายสู่ทิศทั้งปวงเพื่อกำจัดความมืดแห่งอวิชชาที่ครอบงำสรรพสัตว์ให้เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏอันไร้เบื้องต้นและเบื้องปลายนี้
  4. อาจหมายถึงรัศมีแห่งธรรมที่แผ่กระจายไปสู่ทุกทิศและกว้างไกลไร้พรมแดน เพื่อให้แสงสว่างชี้ทางพ้นจากความทุกข์แก่สรรพสัตว์การที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปที่แห่งใด รัศมีแห่งพระบริสุทธิคุณ รัศมีแห่งพระมหากรุณาธิคุณ รัศมีแห่งพระปัญญาธิคุณและรัศมีแห่งพระธรรม ก็แผ่กระจายไปถึงที่นั้นและยังแสงสว่างแห่งปัญญาและประโยชน์สุขให้เกิดขึ้นแก่สรรพสัตว์สมกับเป็นภควา คือผู้เสด็จไปดีแล้วหรือผู้เสด็จไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ [4]