อนุพยัญชนะในคัมภีร์สันสกฤต ของ อนุพยัญชนะ

ทั้งนี้ ในคัมภีร์ลลิตวิสตระ ซึ่งเป็นพระพุทธประวัติภาษาสันสกฤตของนิกายสรวาสติวาส ได้บรรยายถึงอนุพยัญชนะในภาษาสันสกฤตไว้อย่างละเอียด ดังนี้

  1. ตุงฺคนขะ เล็บนูน
  2. ตามฺรนขะ เล็บแดง
  3. สนิคฺธนขะ เล็บอ่อนเป็นเงางาม
  4. วฺฤตฺตางฺคุลิ นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทกลม
  5. อนุปูรฺวจิตฺรางฺคุลิ นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทงามเรียว
  6. คูฒศิระ พระเศียรราบเรียบ
  7. คูฒคุลฺผะ พระโคปกะ (ตาตุ่ม) ราบเรียบ
  8. ฆนสนฺธิ ข้อต่อมั่นคงแข็งแรง
  9. อวิษมปาทะ ฝ่าพระบาทเสมอกัน
  10. อายตปารฺษฺณิศะ ส้นพระบาทยาว
  11. สนิคฺธปาณิเลขะ ลายพระหัตถ์ละเอียดงาม
  12. ตุลยปาณิเลขะ ลายพระหัตถ์เหมือนกัน (ทั้งสองข้าง)
  13. คัมภีรปาณิเลขะ ลายพระหัตถ์ลึก
  14. อชิหฺมปณิเลขะ ลายพระหัตถ์ไม่หักคด
  15. อนุปูรฺวปาณิเลขะ ลายพระหัตถ์เรียวตามลำดับ
  16. พิมฺโพษฺฐะ ริมพระโอษฐ์แดงดั่งผลตำลึงสุก
  17. โนจฺจาวจศพฺทะ พระสุรเสียงไม่ดัง
  18. มฺฤทุตรุณตามฺรชิหวะ พระชิวหาอ่อนและแดงสด
  19. คชครชิตาภิสฺตนิตเมฆสวฺรมธุรมญฺชุโฆษะ มีพระสุรเสียง ก้องเหมือนช้างร้อง และเมฆกระหึ่ม แต่หวานและอ่อนโยนไพเราะ
  20. ปริปูรฺณวฺยญชนะ ตรัสได้ชัดเจนถูกต้องเต็มตามพยัญชนะ
  21. ปฺรลมฺพพาหุ พระพาหา (แขน) ยาว
  22. ศุจิคาตฺรวสฺตุสํปนฺนะ สมบูรณ์ด้วยพระวรกายวัสดุอันสะอาดบริสุทธิ์
  23. มฺฤทุคาตฺระ พระวรกายนิ่ม
  24. วิศาลคาตฺระ พระวรกายกว้าง
  25. อทีนคาตฺร พระวรกายไม่ซูบซีดแลดูเป็นสง่าบ่งว่าเป็นผู้มีบุญ
  26. อนุปูรโวนฺนตคาตฺร พระวรกายสูงเรียวขึ้นเป็นลำดับ
  27. สุสมาหิตคาตฺระ พระวรกายตั้งขึ้นมั่นคงเป็นอย่างดี
  28. สุวิภกฺตคาตฺระ พระวรกายได้ส่วนสัดดี
  29. ปฺฤถุวิปุลสุปริปูรฺณชานุมณฺฑละ พระชานุมณฑล (ตัก) หนา กว้าง เต็ม เป็นอันดี
  30. วฺฤตฺตคาตฺระ พระวรกายกลม
  31. สุปริมฺฤษฺฏคาตฺระ พระวรกายเกลี้ยงเกลาดี
  32. อชิหฺมวฺฤษภคาตฺระ พระวรกายเหมือนโคเพศผู้
  33. อนุปูรฺวคาตฺระ พระวรกายเรียวไปเป็นลำดับ
  34. คมฺภีรนาภิ พระนาภีลึก
  35. อชิหฺมนาภิ พระนาภีไม่บิดเบี้ยว
  36. อนุปูรฺวนาภิ พระนาภีมีกลีบเป็นชั้น ๆ ลึกลงไปโดยลำดับ
  37. ศุจฺยาจาระ พระจริยาวัตรเป็นระเบียบและพระมารยาทงดงาม
  38. ฤษภวตฺสมนฺตปฺราสาทิกะ พระจริยาวัตรงามเหมือนโคเพศผู้
  39. ปรมสุวิศุทฺธวิติมิราโลกสมนฺตปฺรภะ พระวรกายบริสุทธิ์ผุดผ่อง เหมือนดวงอาทิตย์ฉายแสงในที่มืด
  40. นาควิลมฺพิตคติ ทรงพระดำเนินแช่มช้อยเหมือนช้างเดิน
  41. สึหวิกฺรานฺตคติ ทรงย่างกรายองอาจเหมือนสิงห์
  42. ฤษภวิกฺรานฺตคติ ทรงย่างกรายองอาจเหมือนโคเพศผู้
  43. หํสวิกฺรานฺตคติ ทรงย่างกรายละมุนละม่อมเหมือนหงส์ย่างก้าว
  44. อภิปฺรทกฺษิณาวรฺต คติทรงพระดำเนินมีมรรยาทแสดงท่าเคารพอย่างดียิ่ง
  45. วฺฤตฺตกุกฺษิ พระอุทร (ท้อง) กลม
  46. มฺฤษฺฏกุกฺษิ พระอุทรเกลี้ยงเกลา
  47. อชิหฺมกุกฺษิ พระอุทรไม่คดค้อม
  48. จาโปทระ พระอุทรนูนโค้งเหมือนคันธนู
  49. วฺยปคตฉนฺทโทษะนีลกาลกาทุษฺฏศรีระ พระวรกายปราศ จากเครื่อง ทำให้รัก และเครื่องทำให้ชัง(คือปราศจากเครื่องประทินโฉมเสริมสวยและสิ่งเปรอะเปื้อน)และปราศจากเครื่องประทุษร้ายผิว คือ ปานและไฝ
  50. วฺฤตฺตทํษฺฏระ พระทาฐะ (เขี้ยว) ซี่กลม
  51. ตีกฺษณทํษฺฏฺระ พระทาฐะคม
  52. อนุปูรฺวทํษฺฏระ พระทาฐะเรียวเป็นลำดับ
  53. ตุงคนาสะ พระนาสิก (จมูก) โด่ง
  54. ศุจินยนะ พระเนตรแจ่มใสสะอาด
  55. วิมลนยนะ พระเนตรไม่ขุ่นมัว
  56. ปฺรหสิตนยนะ พระเนตรยิ้มแย้มร่าเริง
  57. อายตนยนะ พระเนตรยาว
  58. วิศาลยนะ พระเนตรกว้าง
  59. นีลกุวลยทลสทฺฤศนยนะ พระเนตรเหมือนกลีบบัวเขียว
  60. สหิตภฺรู พระขนง (คิ้ว) ดก
  61. จิตฺรภฺรู พระขนงงาม
  62. อสิตภฺรู พระขนงดำ
  63. สํคตภฺรู พระขนงต่อกัน
  64. อนุปูรวภฺรู พระขนงเรียวเป็นลำดับ
  65. ปีนคณฺฑะ พระกโปล (แก้ม) เต็ม
  66. อวิษมคณฺฑะ พระกโปลเท่ากันทั้งสองข้าง
  67. วฺยปคตคณฺฑโทษะ พระกโปลปราศจากโทษ (คือไม่เป็นริ้ว รอยสิวฝ้า)
  68. อนุปหตกฺรุษฺฏะ ไม่แสดงพระพักตร์เหี้ยมเกรียม
  69. สุวิทิเตนฺทฺริยะ ประสาทอินทรีย์รับรู้ไว
  70. สุปริปูรฺเณนฺทฺริยะ อินทรีย์ครบบริบูรณ์ (คือมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือผิวหนัง ใจ บริบูรณ์ดี)
  71. สํคตมุขลลาฏะ พระนลาฏ (หน้าผาก) รับกับพระพักตร์
  72. ปริปูรฺโณตฺตมางฺค พระเศียรอูมเต็ม
  73. อสิตเกศะ พระเกศาดำ
  74. สหิตเกศะ พระเกศาดก (สุสํคตเกศะ มีพระเกศารวมกันเป็นเกลียว)
  75. สุรภิเกศะ พระเกศาหอม
  76. อปรุษเกศะ พระเกศาไม่หยาบ
  77. อนากุลเกศะ พระเกศาไม่ยุ่ง
  78. อนุปูรฺวเกศ พระเกศาเรียงเส้นเป็นลำดับ
  79. สุกุญฺจิตเกศะ พระเกศางอหงิกเป็นอันดี
  80. ศฺรีวตฺส สฺวสฺติก นนฺทฺยาวรฺต วรฺธมานสํสฺถานเกศะ พระเกศา เจริญงามขมวดเวียนขวาเหมือนรูปสวัสติกะซึ่งเป็นศรีวัตสะ (เครื่องหมายกากบาทปลายหักมุมเวียนขวา) [2]