การทำงาน ของ อนุสรณ์_ธรรมใจ

ก่อน “ดร. นุ” ผันตัวเองมาทำงานภาคเอกชนและแวดวงการเงินการธนาคารทั้งในประเทศและต่างประเทศมากกว่า 25 ปี เคยทำงานสื่อมวลชนช่วงจบการศึกษาใหม่ๆ และ ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวทางสังคม เป็นอดีตผู้นำนักศึกษา นายกสโมสรนิสิตจุฬาฯปี 31 และกรรมการ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย และผู้ประสานงานสหพันธ์นักศึกษาไทยในสหรัฐฯ ปี 34-36 มีบทบาทในการผลักดันให้นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้ง การถ่ายทอดการประชุมรัฐสภาฯ การเปิดเผยทรัพย์สินของนักการเมือง กฎหมายประกันสังคม และการเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนผู้ด้อยโอกาส และร่วมพลักดัน รัฐธรรมนูญปี ๔๐ (ฉบับประชาชน) เป็นต้น ช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจปี 40 “อนุสรณ์ ธรรมใจ” ได้ร่วมกับ ศ. นิคม จันทรวิทุร นักวิชาการด้านแรงงานท่านอื่นๆ และผู้นำแรงงาน ผลักดันให้มีการใช้ระบบประกันการว่างงานให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2547 เขาได้แสดงปาฐกถาปรีดี พนมยงค์และได้นำเสนอแนวทางการปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมืองในหลายเรื่องด้วยกัน ในปี พ.ศ. 2551 ได้ตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร ทั้งที่รู้ว่าโอกาสในการชนะเลือกตั้งไม่มาก เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ปี 50 ให้มีสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพฯ ได้เพียงท่านเดียว (รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ให้มีสมาชิกวุฒิสภาได้ถึง 18 ท่าน) เพื่อประกาศจุดยืนประชาธิปไตย เรียกร้องให้ สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้ง และต้องการไปผลักดันให้เกิดขบวนการปฏิรูปประเทศไทยครั้งใหญ่ และนำเสนอตัวเองในฐานะที่เป็นกลางทางการเมืองแต่ไม่สามารถฝ่ากระแสความขัดแย้งทางการเมืองแบบสุดขั้วได้ และขณะนั้นกระแสและอิทธิพลของคณะรัฐประหาร คมช ยังคงอยู่ เขาจึงไม่ได้รับเลือกตั้ง แต่ก็ได้คะแนนเสียงจากประชาชนไม่น้อย มากกว่าสองแสนคะแนน จุดยืนทางการเมืองของเขาจึงยึดหลักการประชาธิปไตยอย่างเข้มแข็งและต้องการให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมาจากการเลือกตั้ง ต้องการให้มีระบบเศรษฐกิจแบบเสรีที่มีความเป็นธรรม โดยบทบาทและแนวคิดจึงมีความชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยกับแนวทางอนุรักษนิยมและเผด็จการ จึงจัดอยู่ในกลุ่มบุคคลที่มีแนวคิดแบบเสรีนิยมที่ยอมรับข้อดีระบบสังคมนิยมด้วย เขายังเลื่อมใสในแนวทางรัฐสวัสดิการที่มีลักษณะเป็น Productive Welfare System อีกด้วย

ใกล้เคียง

อนุสรณ์สันติภาพฮิโรชิมะ อนุสรณ์ ธรรมใจ อนุสรณ์สถานแห่งชาติ อนุสรณ์ มณีเทศ อนุสรา วันทองทักษ์ อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด อนุสรณ์ ศรีชาหลวง อนุสรณ์ อมรฉัตร อนุสรณ์ วงศ์วรรณ อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เกียวโตโบราณ