การจัดแสดง ของ อนุสรณ์สถานแห่งชาติ

อนุสรณ์สถานแห่งชาติประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วน คือ

ลานประกอบพิธี

เป็นพื้นที่สำหรับตั้งแถวทหารกองเกียรติยศได้ 3 กองร้อย เพื่อต้อนรับประมุข หรือบุคคลสำคัญของประเทศและต่างประเทศที่มาเยือนอนุสรณ์สถานแห่งชาติอย่างเป็นทางการ นอกจากนี่ยังใช้สำหรับวางพวงมาลาในพิธีสำคัญต่าง ๆ บนลานประกอบพิธีประดับธงกองบัญชาการกองทัพไทย ธงกองทัพบก ธงกองทัพเรือ ธงกองทัพอากาศ ธงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และธงกองอาสารักษาดินแดน ส่วนด้านข้างประดับธงชาติไทยสลับกับธงชาติของประเทศที่มาเยือน

อาคารประกอบพิธี

อาคารประกอบพิธีแล้วเสร็จเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2533 เป็นอาคารชั้นเดียว หลังคาทรงไทย ขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 20 เมตร ใช้สำหรับประกอบพิธีทางศาสนาและพิธีสำคัญของชาติ มีสิ่งสำคัญดังนี้

  1. ดวงโคมนิรันดร์ประภา
  2. พระบรมรูปมหาราช 9 พระองค์
  3. บทโคลงพระราชนิพนธ์
  4. ภาพการก่อตั้งราชธานี
  5. ภาพมงคลแปด
  6. ภาพเครื่องราชอิสริยาภรณ์

โดยใต้ดวงโคมนิรันดร์ประภาบรรจุดินจากสมรภูมิสำคัญในอดีต รวม 10 แห่ง ได้แก่

  • ดินสมรภูมิไทยรบขอม สมัยสุโขทัย
  • ดินสมรภูมิไทยรบพม่า ในสงครามยุทธหัตถี พ.ศ. 2135
  • ดินสมรภูมิไทยรบพม่า ในศึกบางระจัน พ.ศ. 2308
  • ดินสมรภูมิไทยรบพม่า ที่ค่ายโพธิ์สามต้น พ.ศ. 2310
  • ดินสมรภูมิไทยรบพม่า ที่ตำบลบางแก้ว ราชบุรี ในศึกบางแก้ว พ.ศ. 2317
  • ดินสมรภูมิไทยรบพม่า ที่ทุ่งลาดหญ้า กาญจนบุรี ในสงคราม 9 ทัพ พ.ศ. 2328
  • ดินสมรภูมิไทยรบพม่า ในศึกถลาง พ.ศ. 2328
  • ดินสมรภูมิไทยรบพม่า ที่เมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2345
  • ดินสมรภูมิไทยรบพม่า ที่เมืองเชียงแสน พ.ศ. 2347
  • ดินสมรภูมิไทยรบลาว ที่ทุ่งสัมฤทธิ์ นครราชสีมา พ.ศ. 2369

ซึ่งดินที่นำมาบรรจุนี้เป็นดินจากสถานที่เกิดสมรภูมิจริง โดยกรมทรัพยากรธรณี ได้ทำการตรวจสอบชั้นดิน เพื่อให้ได้ดินที่อยู่ในช่วงเวลานั้นจริง ๆ

อาคารประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร

หุ่นจำลองเหตุการณ์ยุทธนาวีเกาะช้าง ภายในชั้น 1 อาคารประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหารพระรูปหุ่นขี้ผึ้งเต็มองค์ จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ในฉลองพระองค์เต็มยศนายทหารบกแห่งกองทัพบกไทย จัดแสดงที่ชั้น 4 อาคารประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร

อาคารประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร มีลักษณะคล้ายป้อมค่ายหอรบสมัยโบราณ ด้านหน้าของอาคารนี้ประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์พระราชทานกำเนิดกองทัพไทยสมัยใหม่ ประทับยืนอยู่ในชุดฉลองพระองค์เต็มยศจอมพลทหารบก ขนาดหนึ่งเท่าครึ่งของพระองค์จริง โดยสลักจากหินอ่อน

ภายในอาคารประวัติศาสตร์ และพิพิธภัณฑ์ทหาร มีการจัดแสดงกิจกรรมต่าง ๆ ทั้ง 4 ชั้น ดังนี้

  • ชั้นที่ 1 จัดเป็นห้องเกียรติยศตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เพื่อเชิดชูเกียรติและวีรกรรมของทหาร ตำรวจ และพลเรือน ที่ปฏิบัติการรบด้วยความกล้าหาญ จนได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี และเหรียญกล้าหาญ เพื่อปลุกใจให้อนุชนรุ่นหลังได้รำลึกถึง และ จัดแสดงหุ่นจำลองเหตุการณ์สงครามสมัยใหม่ที่กองทัพไทยได้ปฏิบัติการรบครั้งสำคัญ 5 สงคราม คือ
  • ชั้นที่ 2 กำแพงแก้วรอบระเบียงได้จารึกนามผู้กล้าหาญซึ่งเสียชีวิตจากการรบ เพื่อป้องกันประเทศในสงครามต่าง ๆ รวมทั้งผู้ปฏิบัติการป้องกันผู้ก่อการร้ายภายในประเทศ รวมจำนวนขณะนี้ 80000 ชื่อ ภายในอาคารชั้นที่ 2 จัดสร้างเป็นห้องพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติจอมทัพไทย แสดงพระราชกรณียกิจอันเกี่ยวเนื่องกับกองทัพ และ กรณียกิจของกองทัพเพื่อสนองโครงการในพระราชดำริ
  • ชั้นที่ 3 จัดแสดงหุ่นจำลองเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ 14 เหตุการณ์
  • ชั้นที่ 4 จัดแสดงเครื่องแบบ เครื่องหมายยศ และส่วนประกอบของเครื่องแบบทหาร โดยมีการจัดแสดงดังนี้
    1. จัดแสดงเครื่องแบบ เครื่องแต่งกายโดยใช้หุ่นจัดแสดง และภาพประกอบ แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 6 สมัยคือ สมัยก่อนสุโขทัย สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น และสมัยปัจจุบัน จำนวน 15 หุ่น
    2. จัดแสดงส่วนประกอบของเครื่องแบบ เช่น หน้าหมวก อินทรธนู เครื่องหมายยศ กระดุม เครื่องหมายเหล่า และเครื่องหมายสังกัด
    3. จัดแสดงหุ่นเท่าคนจริงแต่งเครื่องแบบเต็มยศ จำนวน 4 หุ่น คือ หุ่นทหารบก หุ่นทหารเรือ หุ่นทหารอากาศ และหุ่นตำรวจ
    4. การนำเสนอข้อมูลด้วยเครื่องจักรคำนวณ และวีดิทัศน์ เกี่ยวกับวิวัฒนาการของเครื่องแบบ เครื่องหมายยศ และเครื่องประกอบการแต่งกายของทหารตำรวจ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

อาคารภาพปริทัศน์

เป็นอาคารทรงแปดเหลี่ยม ผนังภายในอาคารโค้งเป็นวงกลม มีจิตรกรรมฝาผนังขนาดสูง 4.30 เมตร ยาว 90 เมตร ฝีมือนายปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ กับคณะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากรและมหาวิทยาลัยรังสิต แสดงเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ รวมทั้งความกล้าหาญเสียสละของบรรพบุรุษ ที่ได้อุทิศตนเพื่อปกป้องและรักษาเอกราชของชาติ

ภูมิสถาปัตยกรรมและพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง

เป็นการจัดและตกแต่งพื้นที่บริเวณภายนอกอาคารอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ให้สวยงามและเหมาะสม โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนภูมิสถาปัตยกรรมและส่วนพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง

  1. ส่วนภูมิสถาปัตยกรรม ประกอบด้วย
    1. รั้ว อยู่ทางถนนวิภาวดีรังสิต ด้านถนนพหลโยธิน และด้านที่ติดกับที่ดินของเอกชน
    2. ประตู มีทั้งหมด 4 ประตู ด้านถนนวิภาวดีรังสิต 2 ประตู และด้านถนนพหลโยธิน 2 ประตู ลักษณะบานประตูเป็นโลหะอัลลอยด์โปร่งรูปอาวุธโบราณ และธงสามชาย
    3. ป้ายชื่อ มี 2 ป้าย อยู่กึ่งกลางรั้วด้านถนนวิภาวดีรังสิต และถนนพหลโยธิน จารึกคำว่า "อนุสรณ์สถานแห่งชาติ" ด้านล่างเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษสูง 20 เซนติเมตร จารึกคำว่า "National Memorial"
    4. ป้อมยาม มีทั้งหมด 4 ป้อม อยู่ทางด้านซ้ายของทางเข้า - ออก ทั้ง 4 ด้าน
    5. สวนพักผ่อน
    6. สวนอนุสรณ์สถานแห่งชาติ
    7. พื้นที่อเนกประสงค์
  2. ส่วนพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง เป็นพื้นที่จัดแสดงวัตถุพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งขนาดใหญ่ ประกอบด้วย
    1. รถสะเทินน้ำสะเทินบก (LVT)
    2. รถถังแบบ 83 (Light tant Type 95 HA - GO)
    3. เครื่องบิน บ.จฝ.13 (T - 28 D)
    4. เรือยนต์เร็วตรวจการลำน้ำ (เรือ นปข.)
    5. เฮลิคอปเตอร์แบบ 13
    6. รถถังเบาแบบ 77
    7. ปืนใหญ่ภูเขาแบบ 63
    8. ปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง 105 มิลลิเมตร โบฟอร์ส อัตตาจร
    9. สะพานเครื่องหนุนมั่น

นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานแห่งชาติ ยังเคยเป็นสถานที่แข่งขันรายการเกมโชว์ทางโทรทัศน์ อัจฉริยะข้ามคืน ล้านที่ 29 อีกด้วย

ใกล้เคียง

อนุสรณ์สันติภาพฮิโรชิมะ อนุสรณ์ ธรรมใจ อนุสรณ์สถานแห่งชาติ อนุสรณ์ มณีเทศ อนุสรา วันทองทักษ์ อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด อนุสรณ์ ศรีชาหลวง อนุสรณ์ อมรฉัตร อนุสรณ์ วงศ์วรรณ อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เกียวโตโบราณ