ประวัติ ของ อนุสรณ์สถานแห่งชาติ

อนุสรณ์สถานแห่งชาติ เกิดขึ้นจากดำริของ พลเอก สายหยุด เกิดผล อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด ว่าที่ผ่านมารัฐบาลได้จัดสร้างอนุสาวรีย์เพื่อบรรจุอัฐิของผู้เสียชีวิตในสงครามต่าง ๆ เช่น อนุสาวรีย์ทหารอาสา เป็นที่ระลึกสำหรับผู้เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1, อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ สำหรับเหตุการณ์ปราบกบฏบวรเดช, อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สำหรับกรณีพิพาทไทย-ฝรั่งเศส และสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ยังมีการสู้รบเกิดขึ้นอีกหลายครั้ง เช่น สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม การปราบปรามผู้ก่อการร้าย มีผู้เสียชีวิตทั้งทหาร ตำรวจ และพลเรือน ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพเป็นประจำทุกปี แต่อัฐิของผู้พลีชีพเพื่อชาติเหล่านี้ยังคงเก็บรวบรวมไว้ และยังมิได้จัดสร้างถาวรวัตถุขึ้นเป็นอนุสรณ์อย่างสมเกียรติ

กระทรวงกลาโหมจึงได้จัดทำโครงการก่อสร้างอาคารอนุสรณ์วีรชนแห่งชาติเป็นส่วนรวม โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 เวลา 16.30 น เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 และพระราชทานนามสถานที่นี้ว่า "อนุสรณ์สถานแห่งชาติ"

ใกล้เคียง

อนุสรณ์สันติภาพฮิโรชิมะ อนุสรณ์ ธรรมใจ อนุสรณ์สถานแห่งชาติ อนุสรณ์ มณีเทศ อนุสรา วันทองทักษ์ อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด อนุสรณ์ ศรีชาหลวง อนุสรณ์ อมรฉัตร อนุสรณ์ วงศ์วรรณ อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เกียวโตโบราณ