ประวัติ ของ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา

คณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศ (International Law Commission) แห่งสหประชาชาติ เริ่มยกร่างอนุสัญญาฯ นี้ใน ค.ศ. 1949[2] ในช่วงนั้น ผู้เสนอรายงานการประชุมพิเศษ (special rapporteur) ของคณะกรรมาธิการ ประกอบด้วย เจมส์ เบรียร์ลี (James Brierly), เซอร์เฮิร์ช เลาเทอร์แพชต์ (Hersch Lauterpacht), เซอร์เจอรัลด์ ฟิตซ์เมารีซ (Gerald Fitzmaurice) และ ฮัมฟรีย์ วาลด็อก (Humphrey Waldock)[2] ได้นำเสนอร่างเป็นหลายฉบับและมีการอภิปรายถกเถียงกันหลายยก[2] ใช้เวลายกร่างกว่ายี่สิบปี ใน ค.ศ. 1966 คณะกรรมาธิการจึงตกลงรับร่างซึ่งประกอบด้วยข้อบทเจ็ดสิบห้าข้อเป็นร่างฉบับสุดท้าย[4] มีการประชุมตกลงรับข้อบทแห่งอนุสัญญาฯ นี้ใน ค.ศ. 1968 และ 1969 ที่กรุงเวียนนา ครั้นวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1969 ที่ประชุมสหประชาชาติที่กรุงเวียนนาก็ได้ตกลงรับข้อบทนั้น และเปิดให้ลงลายมือชื่อกันในวันถัดมาทีเดียว[2][4]

ใกล้เคียง

อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ อนุสัญญาแรมซาร์ อนุสัญญาอิสตันบูล อนุสัญญาชวานปี๋ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก อนุสัญญาเจนีวา อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่สาม อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล