เหตุการณ์สืบเนื่อง ของ อนุสัญญาชวานปี๋

หลังการทำอนุสัญญาข้อตกลงร่วมกันในวันที่ 20 มกราคม หนึ่งวันให้หลังจากนั้นอังกฤษถอนตัวออกจากพื้นที่ชวานปี๋ (Chuenpi) และอพยพตัวเองลงไปตั้งหลักอยู่ที่เกาะฮ่องกง อันเป็นเกาะใหม่ใต้อาณัติของอังกฤษเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ไม่กี่วันให้หลังพิธีส่งมอบเกาะฮ่องกงจัดฉลองอย่างยิ่งใหญ่ ในการเลี้ยงฉลองภายในวันส่งมอบนั้น ฉีช่านในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนประจำมณฑลกวางตุ้งได้เดินทางเข้าพบเอลเลียตด้วยตัวเอง และร่วมงานเลี้ยงฉลองด้วยกัน[7]

กองทหารอังกฤษกำลังยินดีกับการส่งมอบเกาะฮ่องกงให้เป็นของอังกฤษ

ความขัดแย้งขยายตัว

ค่ายทหารที่เป็นที่พบกันระหว่างเอลเลียตกับฉีช่าน

ทว่าข้อตกลงของฉีช่านที่ทำขึ้นมาในช่วงเดือนมกราคมนั้น ไม่ได้รับความเห็นชอบจากทางจักรพรรดิเต้ากวงและราชสำนัก ซึ่งยังต้องการให้ปราบปรามกบฏและพวกฝรั่งหัวแดงด้วยความรุนแรงต่อไป ไม่นานหลังจากนั้นจักรพรรดิได้มีพระราชโองการให้ฉีช่านใช้กำลังปราบปรามพวกอังกฤษ แต่ว่าฉีช่านเพิกเฉยต่อคำสั่งให้โจมตีในตอนนี้[8] ทำให้ตัวของฉีช่านต้องตกอยู่ในสภาวะกดดันจากทั้งสองด้าน คือทั้งคำสั่งจากเบื้องบน และสถานการณ์เบื้องหน้าในการเจรจากับอังกฤษ

เมื่อเข้าสู่เดือนกุมภาพันธ์ เอลเลียตได้เข้ามาเจรจาอีกครั้งกับฉีช่าน ด้วยว่าท่าเรือเมืองกวางโจวนั้นไม่ได้เปิดตามที่ได้ตกลงไว้[5] หลังจากการเจรจาอันเคร่งเครียดกว่าครึ่งวัน ฉีช่านก็ขอเวลาอีกสิบวันแล้วจะมาให้คำตอบ[5]

แต่ทว่าในช่วงเวลานั้นฉีช่านได้ถูกปลดออกจากตำแหน่งผู้ว่าราชการมณฑลแล้ว และทางราชสำนักได้ส่งคนชุดใหม่มาปกครองและจัดการสงครามกับทางอังกฤษ ฉีช่านเดินทางกลับปักกิ่งก่อนจะต้องรับพิจารณาโทษของตัวเองหลังจากขัดคำสั่งขององค์จักรพรรดิ และผู้แทนชุดใหม่ที่ทางราชสำนักส่งไปได้ทำให้สงครามกับอังกฤษปะทุขึ้นมาอีกระลอกหนึ่ง

ชะตากรรมของผู้ลงนามในสัญญา

ฉีช่านถูกพิจารณาโทษที่ปักกิ่งโดยมีการตั้งข้อหามากมาย[9] ทั้งการให้ฮ่องกงกับพวกคนเถื่อน กบฏ และทรยศต่อชาติ หลังจากการพิจารณาคดีราชสำนักได้ตัดสินโทษประหารชีวิตให้แก่ฉีช่าน แต่สุดท้ายเขาก็ถูกจำคุกอยู่เกือบปีก็ถูกปล่อยตัวออกมา

ส่วนทางของชาลส์ เอลเลียตนั้น ต่อมาเขาก็ถูกสั่งปลดออกจากการเป็นทูตโดยลอร์ดพาร์สเมอตัน โดยมองว่าผลประโยชน์ที่ทางเอลเลียตกดดันจีนผ่านการเจรจานั้นไม่เพียงพอต่อความต้องการของอังกฤษ และฮ่องกงนั้นก็ไม่ได้ต่างอะไรไปจากเกาะอันกันดารที่ร้างจากผู้คน[10] ก่อนจะแต่งตั้งให้พลตรีเฮนรี พอตติงเจอร์ (Henry Pottinger) แห่งกองทัพบอมเบย์ขึ้นรับตำแหน่งแทนที่เอลเลียตในเดือนพฤษภาคม

ใกล้เคียง

อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ อนุสัญญาแรมซาร์ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา อนุสัญญาอิสตันบูล อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ อนุสัญญาเจนีวา อนุสัญญาชวานปี๋ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่สาม

แหล่งที่มา

WikiPedia: อนุสัญญาชวานปี๋ https://books.google.com/books?id=GVQuAQAAIAAJ https://books.google.com/books?id=QGY_AAAAMAAJ&pg=... https://books.google.com/books?id=8TGwqgOCFR0C&pg=... https://books.google.com/books?id=Li07AQAAMAAJ https://books.google.com/books?id=tiAPAAAAYAAJ&pg=... https://books.google.com/books?id=9U4zAAAAMAAJ https://archive.org/stream/europeinchinahis00eiter... https://books.google.com/books?id=3QgHAAAAQAAJ&pg=... http://hkjo.lib.hku.hk/archive/files/fdb229d5d7fae... https://books.google.com/books?id=yxgMAAAAYAAJ