สาระสำคัญ ของ อนุสัญญาวอร์ซอ

ความรับผิดของผู้ขนส่ง

  • ผู้ขนส่งต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นในกรณีที่ผู้โดยสารถึงแก่ความตายหรือได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย หากอุบัติเหตุนั้นเกิดขึ้นในอากาศยานหรือในระหว่างดำเนินการขึ้นหรือลงอากาศยาน
  • ผู้ขนส่งต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น ต่อความบุบสลาย สูญหาย หรือเสียหาย ของสัมภาระลงทะเบียน (registered baggage) ที่อยู่ในความดูแลของผู้ขนส่ง
  • ถ้าผู้ขนส่งยอมรับว่าสัมภาระลงทะเบียนสูญหาย หรือถ้าสัมภาระลงทะเบียนยังมาไม่ถึงเมื่อพ้นกำหนด 21 วันหลังจากวันที่สัมภาระนั้นควรจะมาถึง ผู้โดยสารสามารถบังคับใช้สิทธิ์สัมภาระสูญหายได้
  • ผู้ขนส่งต้องรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการล่าช้าในการรับขนทางอากาศ

ค่าสินไหมทดแทน

ความรับผิดอนุสัญญาวอร์ซอ 1929พิธีสารเฮก 1955พิธีสารกัวเตมาลาซิตี 1971
ต่อการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของผู้โดยสาร≤125,000 ฟรังก์/คน
(ต่อมาแก้เป็น ≤8,300 SDR)
≤250,000 ฟรังก์/คน
(ต่อมาแก้เป็น ≤16,600 SDR)
≤1,500,000 ฟรังก์/คน
(ต่อมาแก้เป็น ≤100,000 SDR)
ต่อความเสียหาย/ล่าช้าของสัมภาระลงทะเบียน (สัมภาระโหลดท้องเครื่อง)250 ฟรังก์/กิโลกรัม
(ต่อมาแก้เป็น 17 SDR)
ต่อความเสียหายของสิ่งของที่ผู้โดยสารดูแลเอง (สัมภาระถือขึ้นเครื่อง)≤5,000 ฟรังก์/คน
(ต่อมาแก้เป็น ≤332 SDR)
≤15,000 ฟรังก์/คน
(ต่อมาแก้เป็น ≤1,000 SDR)

ค่าสินไหมเคยกำหนดโดยใช้เงินฟรังก์ฝรั่งเศสเป็นหลัก แต่เนื่องด้วยเงิน 1 ฟรังก์มีส่วนผสมของทองคำ 65.5 มิลลิกรัม ทำให้ค่าเงินฟรังก์ขึ้นลงตามภาวะราคาทองคำในตลาดโลก การประชุมมอนทรีออลปีค.ศ. 1975 ได้กำหนดให้ใช้หน่วย SDR (สิทธิพิเศษถอนเงิน) ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศแทน อัตราแลกเปลี่ยน ณ 1 กันยายน 2020 อยู่ที่ 1 SDR = 1.423 ดอลลาร์สหรัฐ = 44.11 บาท[3]

ใกล้เคียง

อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ อนุสัญญาแรมซาร์ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา อนุสัญญาอิสตันบูล อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ อนุสัญญาเจนีวา อนุสัญญาชวานปี๋ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่สาม