ประวัติ ของ อนุสัญญาอิสตันบูล

โจฮันน่า เนลเลส ตัวแทนแห่งสภายุโรป พูดคุยถึงวัตถุประสงค์ของอนุสัญญา (มิถุนายน 2554)

สภายุโรปได้ริเริ่มดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการคุ้มครองสตรีจากความรุนแรงตั้งแต่ทศวรรษ 1990 โดยจะเห็นผลอย่างชัดเจนในการใช้ข้อเสนอแนะแห่งสภายุโรปที่ 5 (2545) ของคณะกรรมการรัฐมนตรีประจำประเทศสมาชิกว่าด้วยการคุ้มครองสตรีจากความรุนแรง[6] และการรณรงค์เพื่อขจัดความรุนแรงต่อตรี รวมถึงความรุนแรงในครอบครัวทั่วทวีปยุโรปในระหว่างปี พ.ศ. 2549 ถึง พ.ศ. 2551[7] ทางฝั่งสมัชชารัฐสภาแห่งสภายุโรปได้แสดงจุดยืนทางการเมืองในการต่อต้านความรุนแรงต่อสตรีทุกรูปแบบ รวมถึงได้ใช้ข้อมติและข้อเสนอแนะจำนวนหนึ่งเพื่อเรียกร้องให้มีมาตรฐานที่มีผลผูกพันทางกฎหมายในการป้องกัน ปกป้อง และดำเนินคดีในรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงทางเพศ[8]

อ่างอิงรายงานการศึกษาและการสำรวจระดับชาติเผยให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหานี้ในยุโรป[8] การรณรงค์นี้แสดงให้เห็นถึงการโต้ตอบถึงปัญหาความรุนแรงต่อสรีและครอบครัวของรัฐต่าง ๆ ในทวีปยุโรป ดังนั้นการรณรงค์นี้จึงเป็นการแสดงออกถึงความต้องการในความปลอดภัย มาตรฐานทางกฎหมายที่สอดคล้องกัน เพื่อให้สามารถยืนยันได้ว่าเหยื่อจะได้รับประโยชน์จากการคุ้มครองในระดับเดียวกันในทุกที่ในยุโรป ทางรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมของสภาประเทศสมาชิกยุโรป จึงเริ่มหารือถึงความจำเป็นในการเพิ่มการคุ้มครองจากความรุนแรงในครอบครัว

เพื่อการนั้น สภายุโรปจึงได้ตัดสินใจว่าจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานที่ครอบคลุมเพื่อป้องกันและต่อสู้กับความรุนแรงต่อสตรีและความรุนแรงในครอบครัว ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 คณะกรรมการรัฐมนตรีได้จัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ โดยมอบหมายให้จัดทำร่างอนุสัญญาในด้านนี้ ผ่านไปเพียงสองปี กลุ่ม CAHVIO (Ad Hoc Committee on Preventing and Combating Violence against Women and Domestic Violence, คณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อป้องกันและต่อสู้กับความรุนแรงต่อสตรีและความรุนแรงในครอบครัว)[9] ได้ร่างข้อความขึ้นมา และได้เสนอในการประชุมระหว่าง สหราชอาณาจักร อิตาลี รัสเซีย และสันตะสำนัก ในการประชุมมีการแก้ไขหลายประการเพื่อจำกัดข้อกำหนดบางอย่างเอาไว้ จึงทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล[10] ท้ายที่สุด ร่างสุดท้ายของการประชุมถูกจัดทำขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553

ใกล้เคียง

อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ อนุสัญญาแรมซาร์ อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่สาม อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา อนุสัญญาเจนีวา อนุสัญญาอิสตันบูล อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล อนุสัญญาชวานปี๋ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ

แหล่งที่มา

WikiPedia: อนุสัญญาอิสตันบูล http://www.isotita.gr/%CE%B4%CE%B7%CE%BC%CE%BF%CF%... http://www.coe.int/en/web/conventions/full-list/-/... http://www.coe.int/t/dg2/equality/DOMESTICVIOLENCE... http://www.coe.int/t/dghl/standardsetting/violence... https://www.cnn.com/2021/07/01/europe/turkey-istan... https://eige.europa.eu/news-and-events/news/eu-sig... https://rm.coe.int/16800d383a https://rm.coe.int/CoERMPublicCommonSearchServices... https://wcd.coe.int/ViewDoc.jsp?Ref=Rec(2002)5&Lan... https://www.coe.int/en/web/conventions/full-list/-...