อนุสัญญา ของ อนุสัญญาแรมซาร์

ชื่อเต็มที่เป็นทางการของ อนุสัญญาแรมซาร์ คือ อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะในการเป็นถิ่นที่อยู่ของนกน้ำ (The Convention on Wetlands of International Importance, especially as Waterfowl Habitat.) อนุสัญญาแรมซาร์ได้รับการร่างและรับรองจากประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมการประชุมกันที่เมืองแรมซาร์ เมืองตากอากาศชายทะเลสาบแคสเปียน ประเทศอิหร่าน เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2518

รายชื่อพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญในระดับนานาชาติตามอนุสัญญาแรมซาร์ในปัจจุบันมีจำนวน 1,677 แห่ง เรียกว่า พื้นที่แรมซาร์ มีพื้นที่รวมกันประมาณ 1,510,000 ตารางกิโลเมตร เพิ่มจากจำนวน 1,021 แห่งเมื่อ พ.ศ. 2543 ประเทศที่มีพื้นที่แรมซาร์มากที่สุดในโลกคือประเทศสหราชอาณาจักร มีพื้นที่แรมซาร์รวม 164 แห่ง ประเทศที่มีเนื้อที่ของพื้นที่ชุ่มน้ำมากที่สุดในโลกได้แก่ประเทศแคนาดาที่รวมพื้นที่ชุ่มน้ำได้ 130,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงพื้นที่ชุ่มน้ำชื่อ "ควีนมาอุดกัลฟ์" (Queen Maud Gulf) ซึ่งมีเนื้อที่มากถึง 62,800 ตารางกิโลเมตร

ไฟล์:Cop9.jpgการประชุมผู้ร่วมลงนามสนธิสัญญาแรมซาร์ ครั้งที่ 9 ประจำปี พ.ศ. 2548 ณ กรุงแคมปาลา ประเทศยูกานดา ภาพถ่ายโดย: D. Peck, Ramsar

ปัจจุบันมีประเทศผู้ร่วมลงนาม 160 (ข้อมูล ณ วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๔) ประเทศ เพิ่มจาก 119 ประเทศเมื่อ พ.ศ. 2543 และจากเพียง 18 ประเทศที่ร่วมลงนามครั้งแรก 18 ประเทศเมื่อ พ.ศ. 2514 ประเทศผู้ร่วมลงนามจะประชุมที่เรียกชื่อว่า "การประชุมร่วมของประเทศผู้ลงนาม" (Conference of the Contracting Parties -COP) ซึ่งประชุมกันทุก 3 ปี การประชุมครั้งแรกสุดประชุมที่เมืองคากลิอาริ ประเทศอิตาลีเมื่อ พ.ศ. 2523 การตกลงร่วมเพื่อแก้ไขอนุสัญญาครั้งแรกทำที่ปารีสเมื่อ พ.ศ. 2525 และที่เมืองเรจินาเมื่อ พ.ศ. 2530

ใกล้เคียง

อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ อนุสัญญาแรมซาร์ อนุสัญญาอิสตันบูล อนุสัญญาชวานปี๋ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก อนุสัญญาเจนีวา อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่สาม อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล